นายกิตติพล คำพิมูล

เดือนกุมภาพันธ์ เป็นเดือนแรกที่ได้ทำงานในพื้นที่ตำบลเมืองฝาง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ทำไมถึงได้ทำงานในพื้นที่ ก็เพราะคนตำบลเมืองนั่นไง ต่อไปเราจะมาทำความรู้จักตำบลเมืองฝางไปทีละเรื่องราว เริ่มจาก เมืองฝางเขาทำอะไรกัน

ชาวบ้านเมืองฝางก็เหมือนกับประชาชนพื้นที่อื่น ๆ นั่นแหละ คือ ลักษณะการประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่   มีการเพาะปลูกพืชที่สำคัญ   คือ  การเพาะปลูกข้าว  ซึ่งมีการเพาะปลูกมากกว่าพืชชนิดอื่นๆ  พื้นที่ส่วนใหญ่จะเป็นพื้นที่ราบจึงเหมาะแก่การปลูกข้าว นอกจากการปลูกข้าวแล้วยังมีการปลูกผลไม้และพืชผักอื่นๆ   อีกด้วย· และนอกจากนั้นยังมีการเลี้ยงสัตว์เพื่อการจำหน่วยและการบริโภค   เช่น  สุกร , ไก่ ,  เป็ด , โค , กระบือ , ปลา , เป็นต้น

แต่ปีนี้จะพิเศษหน่อยตรงที่เริ่มมีการทดลองปลูกพืชเศรษฐกิจใหม่ ที่ไม่เคยมีพื้นที่ไหนในจังหวัดบุรีรัมย์ทำมาก่อน (เท่าที่ทราบนะครับ) นั่นก็คือ การปลูกเห็ดตับเต่า  การทดลองปลูกเห็ดตับเต่า เป็นกิจกรรมที่ ดร.ทิพวัลย์ แสนคำ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาศาสตร์ราชภัฏบุรีรัมย์ ได้มาให้ข้อมูลและชวนคนในพื้นที่ รวมถึงองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองฝางร่วมทำงานด้วย  อาจารย์บอกว่า ทำนาได้ข้าวเยอะก็ดีอยู่ แต่ราคาข้าวต่ำและอยู่นอกเหนือการควบคุม ก็จริงอย่างที่อาจารย์ว่า ค่าปุ๋ย ค่ารถไถ รถเกี่ยวข้าวจิปาถะ ใช้หนี้แล้วเหลือเก็บไม่มาก บางบ้านไม่เหลือเลย  การปลูกเห็ดตับเต่าเพื่อเป็นรายได้เสริมจึงน่าจะเป็นทางเลือกที่น่าสนใจในพื้นที่คนรู้จักเห็บตับเต่าน้อยมาก เพราะส่วนใหญ่เราเข้าป่าเก็บแต่เห็ดไค เห็ดโคน เห็ดน้ำหมาก ที่เราไปเก็บกันปีละครั้ง  แต่ก็มีบางคนที่รู้จักและได้เคยกินเห็ดตับเต่ามาบ้าง (คนเดียวครับ) และได้มาแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน ตรงกับที่อาจารย์บอกว่า ราคาดีและเดี๋ยวนี้มันมีวิธีการปลูก การควบคุมให้สามารถให้ผลผลิตต่อเนื่องทั้งปีได้ แต่ขั้นตอนแรกจะต้องมีความอดทนรอผลผลิตพอสมควร ชาวบ้านหลายคนสนใจกันมากครั้งต่อไป ผมจะเล่าให้ฟังถึงการทำแปลงทดลองปลูกเห็ดตับเต่านะครับ

 

อื่นๆ

เมนู