น้อมรำลึก ๕ ธันวา
“โคก หนอง นา โมเดล” ตามแนวทางพระราชดำริ
ศรีแพร สวัสดิ์รัมย์
” โคก หนอง นา โมเดล ” คือ การจัดการพื้นที่ซึ่งเหมาะกับพื้นที่การเกษตร ซึ่งเป็นผสมผสานเกษตรทฤษฎีใหม่ เข้ากับภูมิปัญญาชาวบ้านที่อยู่อย่างสอดคล้องกับธรรมชาติในพื้นที่นั้น ๆ โคก หนอง นา โมเดล เป็นการที่ให้ธรรมชาติจัดการตัวมันเอง โดยมีมนุษย์เป็นตัวส่งเสริมให้มันสำเร็จเร็วขึ้น อย่างเป็นระบบ นายทองยศ ทะยานรัมย์ อายุ ๔๑ ปี บ้านเลขที่ ๑๐๑ หมู่ที่ ๕ ตำบลเมืองโพธิ์ อำเภอห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์ เกษตรกรในพื้นที่ตำบลเมืองโพธิ์ ที่ได้เข้าร่วมโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” ครัวเรือนต้นแบบ: นายทองยศ ทะยานรัมย์ บ้านไผ่น้อย หมู่ที่๘ ตำบลเมืองโพธิ์ อำเภอห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์ แผนงานฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อโควิด -๑๙ ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๖๔ โดยกรมพัฒนาชุมชนและกระทรวงมหาดไทย เพื่อตอบสนองวิสัยทัศน์ของกรมพัฒนาชุมชนที่มุ่งหวังว่า จะช่วยทำให้พี่น้องประชาชน มีเศรษฐกิจฐานรากที่มั่นคง ชุมชนเพิ่งพาตนเองได้ โดยนายทองยศ ทะยานรัมย์ได้ใช้พื้นที่นาประมาณ ๓ ไร่ ๓ งาน ๒๓ ตารางวา ในการเข้าร่วมโครงการและได้ลงมือริเริ่มโครงการ เมื่อวันที่ ๑๗ เมษายน ๒๕๖๔ “โคก หนอง นา โมเดล” น้อมนำพระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่๙ ด้านการทำทฤษฎีใหม่ ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงมาบริหารจัดการน้ำและพื้นที่เกษตร โดมมีการผสมผสานปัญญาพื้นบ้านให้สอดคล้องกับธรรมชาติในพื้นที่นั้น ๆ โคก หนอง นา จึงเป็นแนวทางทำเกษตรอินทรีย์และการสร้างชีวิตที่ยั่งยืน จัดสรรธรรมชาติอย่างสมดุล โดยแบ่งพื้นที่เป็นสัดส่วน ๓๐ : ๓๐ : ๓๐ : ๑๐ ดังนี้ ๓๐% สำหรับแหล่งน้ำ โดยการขุดบ่อทำหนองและคลองไส้ไก่ ๓๐% สำหรับทำนา ปลูกข้าว ๓๐% สำหรับทำโคกหรือป่า ปลูกป่า ๓ อย่าง ประโยชน์ ๔ อย่าง ก็คือปลูกไม้ใช้สอย ไม้กินได้และไม้เศรษฐกิจ คือ มีกิน มีอยุ่ มีใช้ มีความสมบูรณ์และความร่มเย็น และ ๑๐% สำหรับที่อยู่อาศัยและเลี้ยงสัตว์ เช่น ไก่ ปลา กบ เป็ด หมู วัวและควายฯลฯ โดยอัตราส่วนดังกล่าวเป็นสูตรหรือหลักการโดยประมาณสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสมขึ้นอยู่กับสภาพของพื้นที่ ปริมาณน้ำฝนและสภาพแวดล้อม โคก หนอง นา โมเดลเป็นอีกหนึ่งปรัชญาในการออกแบบพื้นที่ทำการเกษตรตามศาสตร์พระราชา ซึ่งสามารถสร้างประโยชน์จากแนวคิดได้อย่างเห็นผล
วีดีโอประจำเดือนธันวาคม