บทความประจำเดือนพฤศจิกายน

 ตำบลเมืองโพธิ์  อำเภอห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์

ภูมิปัญญาการทอผ้าไหม

ปัจจุบัน ถึงแม้ว่ายังไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดบ่งบอกถึงต้นกำเนิดของการ ทอผ้า แต่ก็สามารถเทียบเคียงกับหลักฐานอื่น ๆ ซึ่งมีความคล้ายคลึงกันโดย มีเหตุผลหลายอย่างสนับสนุนแนวคิดที่ว่า การทอผ้ามีวิวัฒนาการมาจากการ ทำเชือก ทอเสื่อ และการจักสาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งลายเชือกทาบที่ปรากฏ ร่องรอยให้เห็นบนภาชนะดินเผา ซึ่งพบเป็นจำนวนมากตามแหล่งโบราณคดี ก่อนประวัติศาสตร์สมัยหินใหม่ เรื่อยมาจนถึงแหล่งโบราณคดีสมัยประวัติ ศาสตร์ ด้วยเหตุนี้เอง จึงกล่าวได้ว่าการทอผ้าเป็นงานหัตถกรรมที่เก่าแก่ที่สุด ในโลกงานหนึ่ง

ผ้าไหม ถือเป็นมรดกอันล้ำค่าของเมืองไทย มีความงดงามของเส้นไหมที่เป็นเอกลักษณ์ ลวดลายที่บ่งบอกถึงความเป็นไทย ทำให้เป็นผ้าไทย ที่ได้รับความนิยม และโด่งดังไปทั่วโลก สำหรับเดือนนี้ทางบาริโอ บริษัทออกแบบตกแต่งภายใน จึงขอถ่ายทอดเรื่องราวความเป็นไทยในเรื่องของ ผ้าไหมไทย และงานออกแบบมาให้คนรักการตกแต่งภายใน นำไปประยุกต์ใช้หรือเป็นความรู้เพิ่มเติมสำหรับการตกแต่งภายในบ้านการทอผ้าไหมของประเทศไทย ในอดีตเป็นการทำกันในครัวเรือนเพื่อใช้เอง หรือทำขึ้นเพื่อใช้ในงานพิธี เช่น งานบุญ งานแต่งงาน หรืองานสังคมต่างๆ คนไทยมีการนำเอาศิลปะมาประยุกต์ใช้กับวัสดุที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาสร้างสรรค์ให้เกิดประโยชน์ และมากยิ่งกว่าการใช้งาน คือความสวยงามและความมีเสน่ห์แบบไทย เป็นการแสดงถึงความประณีตของคนไทยที่มีมาแต่ในอดีตและความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบซึ่งยังสืบต่อมาถึงปัจจุบัน และยังคงสร้างสรรค์ผลงานจากผ้าไหมในรูปแบบต่างๆมากยิ่งขึ้น

ดังนั้นผ้าทอจึงเป็นสื่อสัญลักษณ์ของคนในแต่ละชุมชน  แสดงถึงเชื้อชาติ  เผ่าพันธุ์  และความแตกต่างทางวัฒนธรรม  ผ้าทอยังคงเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์ตั้งแต่แก่จนถึงตาย  และมีบทบาทสำคัญทั้งในแง่เศรษฐกิจ  สังคม  และวัฒนธรรม   การทอผ้าเริ่มจากการสาน  มนุษย์เริ่มสานต้นหญ้าอ่อนเพื่อใช้ใส่วัสดุสิ่งของ และต่อมากลายเป็นเสื่อและตะกร้า  และพัฒนามาเป็นวิธีการต่อต้นพืชเพื่อเป็นเส้นที่ยาวและทำให้เหนียวขึ้น  สามารถรับน้ำหนักได้มากขึ้น  จนกระทั่งมีการคิดค้นวัสดุการทอจากพืชมาเป็นเส้นใย  เช่น  ฝ้าย  รู้จักวิธีการทออย่างง่าย  คือการนำฝ้ายมาผูกกับหินเป็นเส้นยืน  และใช้เส้นพุ่งเข้าไปเวลาทอ  ในอดีตเด็กผู้หญิงทุกคนจะถูกฝึกหัดให้รู้จักการทอผ้า  และเย็บปัก   ถักร้อย  ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นในการดำรงชีวิต  ในชุมชนภาคเหนือ  ผ้าทอยังคงบทบาททางสังคมและวัฒนธรรม  นอกจากบทบาททางการค้า  ยังมีการใช้ผ้าในประเพณีและพิธีกรรมต่าง ๆ ดังนั้นการสืบทอดความคิด  ความเชื่อ  แบบแผนทางสังคม  จากคนรุ่นเก่าสู่คนรุ่นใหม่  และพัฒนาศักยภาพ ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีอยู่  ในการเสริมสร้างคุณภาพชีวิต  เพื่อการดำรงอยู่ของวัฒนธรรมควบคู่กับการพัฒนาเป็นอาชีพและรายได้ของคนชุมชน

นายเปรว พานาเรียง

ภาคนักศึกษา

อื่นๆ

เมนู