การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากผลพลอยได้หมู่บ้านตาลอง

นางสาววิภา จูมเกตุ

              เดือนพฤศจิกายน 2564 เป็นเดือนที่สองของการปฏิบัติงาน ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมประชุมออนไลน์ผ่านระบบ Google Meet เพื่อรับฟังการชี้แจงรายละเอียดการปฏิบัติงานประจำเดือนพฤศจิกายนนี้และได้รับมอบหมายให้เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ โครงการยกระดับและแปรรูปผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางบำรุงผิวจากผลพลอยได้ในกระบวนการผลิตไหมพื้นถิ่นด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลในการสร้างธุรกิจชุมชนออนไลน์ยุค 4.0 (Startup Community)         “ อบรมเชิงปฏิบัติการนักสื่อความหมายผลิตภัณฑ์ (การเขียนโฆษณา เขียนเนื้อหาสินค้า การพัฒนาสื่อออนไลน์เพื่อยกระดับการท่องเที่ยว) ” ณ บ้านตาลอง ตำบลทุ่งวัง อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์

ก่อนอื่นเรามารู้จักชุมชนแห่งนี้กันเลย “บ้านตาลอง” เป็นหมู่บ้านหนึ่งที่อยู่ในตำบลทุ่งวังเป็นหมู่บ้านที่ขึ้นชื่อในเรื่องของการท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ซึ่งเป็นโครงการที่สร้างให้ชุมชนเข้มแข็งเพื่อพัฒนาอาชีพและสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนและพื้นที่ใกล้เคียง บ้านตาลองเป็นชุมชนที่เน้นเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ชาวบ้านในพื้นที่ทำการเกษตรจากการนำเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในการปลูกพืชผักสวนครัวเพื่อไว้บริโภคเเละจำหน่ายกันภายในท้องที่ มีการสนับสนุนให้ชาวบ้านมีอาชีพจากการทำสินค้า OTOP เช่น การทำผ้าไหมที่ย้อมสีโดยใช้วัตถุดิบธรรมชาติที่มีอยู่ในชุมชนหรือที่เรียกกันว่าผ้าไหมกระรอกคู่ตีนแดงนั่นเอง และยังมีที่พักแบบโฮมสเตย์ไว้ในการรองรับนักท่องเที่ยวที่มาเยี่ยมชมอีกด้วย

เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2564 ได้มีการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ ณ ศาลาเอนกประสงค์ บ้านตาลอง โดยมีคณะอาจารย์ ผู้ปฏิบัติงาน และประชาชนในพื้นที่เข้าร่วมอบรมในครั้งนี้ด้วย อย่างที่ทราบกันอยู่แล้วว่าหมู่บ้านตาลองเป็นหมู่บ้านเป้าหมายเชิงท่องเที่ยวและสินค้า OTOP นวัตวิถีซึ่งเป็นหมู่บ้านนวัตวิถีต้นแบบของตำบลทุ่งวังเลยก็ว่าได้  ผู้ปฏิบัติงานจึงได้จัดกิจกรรมอบรมเพื่อเป็นประโยชน์และแนวทางในการประกอบอาชีพให้แก่ชาวบ้าน ในการอบรมครั้งนี้ได้มีวิทยากรมาให้ความรู้ในด้านการสร้างผลิตภัณฑ์ การเขียนโฆษณา เขียนเนื้อหาสินค้า การพัฒนาสื่อออนไลน์เพื่อยกระดับการท่องเที่ยว วิธีการและขั้นตอนการทำผลิตภัณฑ์สบู่ต่อจากการทำผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางบำรุงผิวจากครั้งที่แล้วโดยการใช้ผลผลิตที่มีอยู่นำมาแปรรูปทำให้เกิดประโยชน์และสร้างอาชีพใหม่ๆนับว่าเป็นผลพลอยได้อีกอย่างหนึ่งของชุมชน

ข้าพเจ้าได้เห็นถึงความตั้งใจของชาวบ้านที่เข้าร่วมอบรมและให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ข้าพเจ้ารู้สึกประทับใจและมีความสุขที่ได้เห็นรอยยิ้มของชาวบ้านที่เต็มไปด้วยความสุขและหวังว่าการอบรมครั้งนี้จะช่วยต่อยอดในการสร้างอาชีพให้แก่ชาวบ้านในชุมชนได้มีรายได้เพิ่มขึ้น

🌾 SC02 – การอบรมการทำผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางบำรุงผิวหรือสบู่ Ep.10 – ต.ทุ่งวัง ต.สตึก จ.บุรีรัมย์

 

อื่นๆ

เมนู