กระผม นายจักรกฤษ กองรัมย์ เจ้าหน้าที่ประจำพื้นที่ตำบลสนวน อำเภออห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์ (บัณฑิตจบใหม่) ในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ในการทำงานประจำเดือนพฤษจิกายน เป็น “การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรโคกหนองนาโมเดล ตำบลสนวน อำเภอห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์” โดยได้รับความร่วมมือในการเข้าการจัดงานการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรโคกหนองนาโมเดล จากชาวบ้านภายในตำบลสนวน เข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก และได้รับการถ่ายทอดความรู้เรื่องโคกหนองนาโมเดลจาก ผู้เชี่ยวชาญทางด้านโคกหนองนาโมเดลจาก พัฒนาชุมชนอำเภอห้วยราช เป็นวิทยากรในการให้ความรู้ให้แก่ชาวบ้านและพนักงานU2T ให้เข้าใจและรับรู้วิธีการทำโคกหนองนาโมเดลอย่างละเอียด
โดยช่วงแรกจะมีวิทยากร จาก พัฒนาชุมชน อำเภอห้วยราช มาให้ความรู้เรื่องโคกหนองนาโมเดล ว่ามีความเป็นมาอย่างไร และมีความสำคัญอย่างไร เพื่อให้เกิดประโชน์สูงสุด ในการทำการเกษตรแบบทฤษฎีใหม่ ตามพระราชดำหริของในหลวง ร.9 เดินตามรอยเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้เกษตรกรมีอยู่มีกิน และช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายต่างๆได้
โคก หนอง นา โมเดล คือ ซึ่งเป็นแนวทางทำเกษตรอินทรีย์และการสร้างชีวิตที่ยั่งยืน เป็นการจัดการพื้นที่ซึ่งเหมาะกับพื้นที่การเกษตร ซึ่งเป็นผสมผสานเกษตรทฤษฎีใหม่ เข้ากับภูมิปัญญาพื้นบ้านที่อยู่อย่างสอดคล้องกับธรรมชาติในพื้นที่นั้นๆ โคก หนอง นา โมเดล เป็นการที่ให้ธรรมชาติจัดการตัวมันเองโดยมี มนุษย์เป็นส่วนส่งเสริมให้มันสำเร็จเร็วขึ้น อย่างเป็นระบบ
การจัดงานโคกหนองนาโมเดลยังให้ความรู้ด้านการเกษตร ในด้านต่างๆ และวิธีปฎิบัติ อีกด้วย และเเบ่งเป็นฐานต่างๆ
ฐานการทำจุลินทรีย์หน่อกล้วย
-เป็นการนำหน่องกล้วยมาทำการหมักเพื่อให้ได้จุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ เพื่อนำมาใช้ในการเกษตรด้านดิน เพื่อให้มีสภาพอุดมสมบูรณ์ เหมาะแก่การปลูกพืชและช่วงส่งเสริมการเจริญเติบโตได้ดียิ่งขึ้น
ฐานการทำจุลทรีย์สังเคราะห์แสง
-เป็นจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ต่อพืช เป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่พบได้ทั่วไปตามธรรมชาติทั้งในดินและน้ำ ทำหน้าที่กำจัดของเสีย ก๊าซและสารพิษต่าง ๆ ช่วยเร่งการเจริญเติบโตของพืช บำรุงสภาพดินและย่อยสลายอินทรียวัตถุ
ฐานการเผาถ่าน จากเศษไม้ตามธรรมชาติ
-การเผาถ่านจากเศษไม้ตามธรรมชาติ เป็นการนำเศษไม้ที่เหลือใช้ประโยชน์ ต่างๆ ตามธรรมชาติ มาแปรรูปเพื่อให้เกิดประโยชน์และสร้างรายได้แก่เกษตรกร และการประโยชน์ ในการเป็นเชื้อเพลิงในการหุ้งต้ม
และสุดท้ายจะเป็นการแบ่งกลุ่ม และจัดการจำลองสร้างโคกหนองนาโมเดลตามที่ได้รับความรู้มา ปรับเปลี่ยนและนำมาประยุกต์ในแบบของที่ตัวเองเข้าใจ และได้รับการแนะนำในการสร้างโคกหนองนาโมเดลจากวิทยากรเป็นคนให้คำปรึกษา และแนะนำ ขั้นตอนต่างๆ นำมาปรับใช้ ในการสร้างโคกหนองนา จะอิงมาจากการทำเกษตรทฤษฏีใหม่ โดยจะเเบ่งเป็น 30:30:30:10