ฤดูฝนกับต้นข้าว

ศักย์ศรณ์ รักกิจศิริ

ฤดูฝนในประเทศไทยนั้นจะเริ่มตั้งแต่ช่วงกลางเดือนพฤษภาคมของทุกปีไปจนถึงสิ้นเดือนตุลาคม รวมระยะเวลาประมาณ 5 เดือนครึ่ง ในช่วงปลายของฤดูฝนซึ่งเป็นช่วงมรสุมนั้น ประเทศไทยจะได้รับอิทธิพลจากพายุหลายสิบลูกที่ก่อตัวในทะเลจีนใต้ พายุบางลูกเข้าประเทศไทยเมื่ออ่อนตัวลงมากแล้ว ในขณะที่บางลูกเคลื่อนที่เข้ามาในขณะที่ยังเป็นพายุไต้ฝุ่นหรือ ทำให้เกิดฝนตกหนัก ลมแรง และมีมวลน้ำมาก ทำให้ข้าวที่เกษตรกรปลูกนั้น ล้มทับกันเป็นจำนวกมาก

ภายในเดือนตุลาคมนี้มีพายุ ฝน ฟ้าคะนองในพื้นที่ภาคอิสานตอนล่าง ทำให้มีฝนตกหนักในพื้นที่ตำบลโคกเหล็กทุกวัน มีมวลน้ำมากและกระแสน้ำที่ไหลแรงในนาข้าวของเกษตรกรตำบลโคกเหล็ก จึงทำให้ข้าวของเกษตรกรภายในตำบลโคกเหล็กและพื้นที่ใกล้เคียงล้มระเนระนาด เพราะหนักรวงข้าว และเมื่อล้มแล้วการที่ต้นข้าวจะมีโอกาสลุกตั้งใหม่เป็นไปได้ยาก เกษตรกรภายในตำบลโคกเหล็กส่วนใหญ่ที่เจอสถานการณ์แบบนี้ได้แต่ภาวนาขอให้พายุผ่านพ้นไปในเร็ววัน  อย่างแรกที่ต้องรีบหลังจากพายุผ่านพ้นไปได้แล้วนั้นคือเร่งระบายน้ำในนาข้าวออกก่อน ยอมรับว่าเป็นเรื่องยากอยู่ แต่ต้องเร่งระบายน้ำออกจากนาข้าวให้ได้มากที่สุด ซึ่งเมื่อต้นฤดูเกษตรกรตำบลโคกเหล็กก็ได้เผชิญ แล้งสุด ฝนทิ้งช่วง พอจะเก็บเกี่ยวก็มาโดนพายุ เป็นปัญหาทุกปี แต่ถ้าใครปรับตัวได้ก็รอด หมายถึงต้องทำ อาชีพหลายอย่าง ยกตัวอย่างใน พื้นที่ต้องปลูกพืชหลากหลายเพื่อลดความเสี่ยง อย่าที่จะมาทำข้าวชนิดเดียว เป็นเรื่องยากมาก เพราะธรรมชาติเป็นแบบนี้หรือในเกษตรกรภายในตำบลบางท่าน อาจปรับเปลี่ยนวิธีการปลูกข้าว จาก นาหว่านมาเป็นนาดำ ช่วยให้ต้นข้าวล้มน้อยลง เพราะข้าวที่ปลูกด้วยวิธีนาดำ มีรากที่ลึกลงไปในดิน ล้มยาก กว่าข้าวนาหว่าน ที่รากเจริญเติบโตอยู่ที่ผิวดิน

ภัยธรรมชาติเป็นสิ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้สิ่งที่สามารถทำได้ให้ดีที่สุดคือการมีสติ รู้จักคิด ปรับเปลี่ยนวิธีการเพื่อให้สามารถอยู่ควบคู่ไปกับธรรมชาติที่โหดร้ายนี้ต่อไปได้ อาจจะใช้วิธีปลูกพืชที่ หลากหลายเพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น หรือใช้วิธีเปลี่ยนการปลูกข้าวในแบบใหม่ ในแต่ละวิธีล้วนเป็นวิธีที่ สามารถนำมาใช้ได้จริง ซึ่งจะทำออกมาได้ดีแค่ไหนนั้นก็ขึ้นอยู่กับศักยภาพของเกษตรกรที่จะทำออกมาได้

อื่นๆ

เมนู