สระน้ำสามัคคี     

                                                                                                      นายพสิษฐ์  กุสิรัมย์

           ตำบลโคกเหล็ก อำเภอห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์ มีประชากรประมาณ 6,000 กว่าคน ประกอบด้วยหมู่บ้าน 11 หมู่บ้าน ประชาชนในชุมชนตำบลโคกเหล็กส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำนา เลี้ยงสัตว์และรับจ้างทั่วไป รายได้ส่วนใหญ่มาจากทำนา

สิ่งที่ข้าพเจ้ามีความประทับใจในชุมชนตำบลโคกเหล็กมีสระน้ำขนาดใหญ่ที่เป็นจุดที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่เดินทางสัญจรไปมา สระน้ำแห่งนี้เป็นสระน้ำที่ชาวตำบลโคกเหล็ก ไว้ใช้อุปโภคบริโภคทั้งปี และยังมีชาวบ้านออกหาปลา ผู้คนที่เดินทางผ่านสระน้ำแห่งนี้ก็จะแวะพากันถ่ายรูป นั่งพัก เป็นอีกสถานที่ที่ประชาชนในตำบลโคกเหล็กให้ความสนใจในทรัพยากรธรรมชาติ ที่ปู่ย่าตายายได้สร้างไว้ ชาวบ้านได้เล่าให้ฟังว่าเมื่อครั้งสมัยยี่สิบกว่าปีที่แล้ว สระน้ำแห่งนี้ไว้สำหรับเลี้ยงวัวควายอุดมสมบูรณ์มากมีปลากินตลอดปีเป็นแหล่งหาปลาของชาวบ้าน และชาวบ้านในเขตติดต่อตำบลแถวนั้นสระน้ำแห่งนี้ชาวบ้านรวมตัวกันขุดขึ้น เพราะสมัยนั้นยังไม่มีเครื่องจักร ในการขุด บางคนพาลูกพาหลานไปช่วยกันขุดทั้งที่ไม่มีค่าตอบแทนแต่ชาวบ้านต่างพากันร่วมแรงร่วมใจสละเวลาเพื่อประโยชน์ของชุมชน สภาพแวดล้อมของชุมชนยังคงเป็นชุมชนชนบท  วัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณี ยังคงสืบทอดมาจากบรรพบุรุษเหมือนเดิม คือประเพณีทำบุญบูชาบรรพบุรุษ (แซนโฎนตา) ที่ทำประจำทุกปี ชาวบ้านต่างให้ความร่วมมือร่วมแรงในการจัดงานประเพณีสำคัญๆของชุมชน งานบุญ งานบวช และงานวัด ของหมู่บ้าน เป็นการแสดงถึงความสามัคคี ของชุมชนผู้สูงอายุต่างพากันเข้าร่วมประเพณีที่แสดงถึงการให้ความเคารพในวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมที่ปฏิบัติสืบทอดกันมา เป็นความประทับใจอีกอย่างที่ได้เห็นความสามัคคี ความรักของชุมชน ต่างสร้างรอยยิ้มให้กับผู้ที่ได้สัมผัสในวัฒนธรรมของชุมชนที่ควรรักษาไว้ถึงแม้จะเป็นชุมชนอยู่ห่างไกลจากตัวจังหวัดไม่มากการเดินทางถือว่าสะดวกสบายเพราะใช้เวลาสั้นๆ ในการเดินทางเข้าจังหวัดชาวบ้านยังเล่าให้ฟังว่าเมื่อสมัยก่อน การที่จะเดินทางเข้าจังหวัดไปทำธุระต้องใช้เวลาในการเดินทางพอสมควรเพราะมีแต่รถประจำทางถึงจะเข้าตัวเมืองได้น้อยนักที่ชาวบ้านในตำบลโคกเหล็กมีรถส่วนตัว แต่ในทุกวันนี้ต่างจากสมัยก่อนที่การคมนาคมสะดวกสบาย การเป็นอยู่ของชาวตำบลโคกเหล็กดีขึ้น และยังคงมีวิถีชีวิตที่เรียบง่าย สืบทอดมาตั้งแต่บรรพบุรุษ จนมาถึงลูกหลานปัจจุบัน

สิ่งหนึ่งที่ผู้สูงอายุในตำบลโคกเหล็ก ปฏิบัติและดูมีความสุขทุกครั้งที่ได้ทำกิจกรรมนี้ คือ การเลี้ยงหม่อนไหม จนเป็นอาชีพรองที่สร้างรายได้สู่ชุมชนและในครัวเรือน หากได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนในเรื่องของการเลี้ยงหม่อนไหม จากหน่วยงานต่างๆ จะทำให้วิถีชีวิตของผู้สูงอายุในตำบลโคกเหล็กเต็มไปด้วยรอยยิ้มแห่งความภาคภูมิใจ

 

อื่นๆ

เมนู