ร่วมใจประชาคมพัฒนาคนตำบลโคกเหล็ก

                                                                                                                                                  ณิชาภัทร  เจริญรัมย์

             เมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ.2564  ณ  ศาลาแปลงผักบ้านหนองหว้า  หมู่ 2 ได้มีการเชิญผู้นำชุมชน  หน่วยงานภาครัฐ  ประชาชน  และกลุ่มอาชีพในตำบลโคกเหล็กทั้ง11 หมู่บ้านมาเข้าร่วมกิจกรรมประชาคมในโครงการสร้างเสริมศักยภาพชุมชนเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตแบบบูรณาการ อำเภอห้วยราช

โดยกิจกรรมครั้งนี้มีการนำเสนอข้อมูลเบื้องต้นที่ได้เก็บรวบรวมในตำบลโคกเหล็ก  จากการลงพื้นที่ปฏิบัติงานที่ผ่านมานั้นมีหัวข้อดังนี้แบบสอบถามข้อมูลระดับบุคคลครัวเรือนและชุมชน  แบบสำรวจเพื่อเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคติดต่ออุบัติใหม่ 16เป้าหมายในตำบลโคกเหล็ก  Focus Grop กลุ่มผลิตภัณฑ์ /อาชีพในตำบลโคกเหล็ก มี 10 กลุ่ม คือการทำพวงกุญแจจากผ้าไหม ผ้าไหมลายยกชิด การทำน้ำสมุนไพรเลี้ยงแพะขุนเลี้ยงหม่อนและทอผ้าไหม ผลิตภัณฑ์ยาสูบ  ขนมไทย    เห็ดทอดไก่ทอดสมุนไพร  ไส้กรอกอีสานหมู หัตถกรรมท้องถิ่นตะกร้ารีไซเคิลจากกระป๋อง

หลังจากจบการนำเสนอจากทีมปฏิบัติงาน  และได้มีการแบ่งกลุ่มทำกิจกรรมออกเป็น3 กลุ่ม  เพื่อทำกิจกรรม วิเคราะห์วางแผนข้อมูลเชิงคุณภาพในประเด็น  จุดเด่น   ปัญหา  สาเหตุ  แนวทางแก้ไขปัญหา  ความต้องการของชุมชน  และอื่นๆ ในตำบลโคกเหล็ก

กลุ่ม1 ปัญหา  ขาดพื้นที่ในการขายของ  แหล่งเงินทุน  แหล่งน้ำ(ทำการเกษตร)  โรคระบาดทางการเกษตร  ขาดความรู้เรื่องการจัดการกลุ่ม  การตลาด ตลาดออนไลน์  การออกแบบผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์    สิ่งแวดล้อมภายในชุมชนน้ำเสีย  การระบายน้ำ มลพิษทางเสียง

          แนวทางการแก้ไข  จัดพื้นที่หรือตลาดชุมชนอย่างถาวร  ขอรับการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  จัดหาแหล่งเงินทุนในการขุดเจาะ อบรมให้ความรู้ในการป้องกันโรคระบาด  ส่งเสริมให้เข้าถึงเทคโนโลยี ให้ความรู้ในการออกแบบผลิตภัณฑ์  สร้างจิตสำนึกให้คนในชุมชนรักสิ่งแวดล้อม ปรับโครงสร้างพื้นฐานการระบายน้ำให้เหมาะสมต่อชุมชน

กลุ่ม2 ปัญหา   นักเรียนขาดเรียนบ่อย  เด็กพิเศษ  ปัญหาสุขภาพ รพ.สต.  ปัญหาการว่างงานปัญหาสินค้าล้นตลาด  ปัญหาสัตว์เลี้ยง

          แนวทางการแก้ไข    มีการออกเยี่ยมบ้านเพื่อให้ทราบสาเหตุ    มีครูอาสาเพื่อดูแลเด็กพิเศษโดยเฉพาะ มีการออกคัดกรองกลุ่มเสี่ยง แนะนำการรับประทานอาหาร แนะนำการออกกำลังกาย เลือกกินอาหารที่เหมาะสม ลดการกินอาหารถุง ทำอาหารทานเอง มีโครงการออกกำลังกายจากรพ.สต.แต่หยุดเพราะโควิด  ผู้นำชุมชนพยายามหาหน่วยงานที่เกี่ยวกับการส่งเสริมอาชีพ มีโครงการส่งเสริมอาชีพ ส่งเสริมการใช้พลังงานธรรมชาติ  แบ่งกลุ่มการผลิต แลกเปลี่ยนสินค้าหรือผลิตภัณฑ์กัน ต้องมีตลาดการรองรับสินค้าจากชุมชน  หาแนวทางแก้ไขปัญหาการส่งกลิ่นของมูลสัตว์ การจัดกลุ่มเลี้ยงสัตว์

กลุ่ม3 ปัญหา   มาตรฐานอย.ไส้กรอก  ยาสูบไม่มีเครื่องจักร  บรรจุภัณฑ์ไส้กรอก  การจัดการน้ำความชื้นของยาสูบ  เพิ่มรสชาติให้หลากหลาย  การถนอมอาหาร

  แนวทางการแก้ไข    ให้หน่วยงานมาแนะนำเรื่อง อย.  จัดหาแหล่งเงินทัน  ให้หน่วยงานมาอบรมเพิ่มความรู้หาอุปกรณ์ตากที่เหมาะสม

ท้ายที่สุดนี้กิจกรรมจะสำเร็จลุล่วงได้นั้นเพราะได้รับความร่วมมือจากผู้นำชุมชน หน่วยงานภาครัฐ และกลุ่มอาชีพที่ได้เสียสละเวลามาร่วมกิจกรรมครั้งนี้ ข้อมูลที่ได้เป็นประโยชน์อย่างมากกับคณะผู้ปฏิบัติงานเพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาและทำกิจกรรมต่อไป

 

อื่นๆ

เมนู