เห็ดนางฟ้า “บ้านไผ่น้อย”

รฐา ศักดิ์ศิริ

          “บ้านไผ่น้อย” หมู่ 8 ต.เมืองโพธิ์ อ.ห้วยราช จ.บุรีรัมย์ ชาวบ้านส่วนใหญ่เกาะกลุ่มกันอยู่ในพื้นที่ละแวกเดียวกัน ซึ่งใช้ภาษาเขมรเป็นภาษาท้องถิ่นลักษณะพื้นที่ในชุมชนส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูง แห้งแล้ง เหมาะสำหรับการเลี้ยงสัตว์ ลักษณะการใช้ประโยชน์จากที่ดิน เป็นการใช้เพื่อการเกษตรเป็นส่วนใหญ่ มีพื้นที่ทำปศุสัตว์ และพื้นที่ประมงเป็นส่วนน้อย

          จากการลงพื้นที่สำรวจ “บ้านไผ่น้อย” พบผลิตผลเด่นของชุมชน ได้แก่ การเพาะเห็ด โดยจะมีชาวบ้านกลุ่มหนึ่งรับผิดชอบ และแต่งตั้งประธานรับผิดชอบผลิตผลการเพาะเห็ดนางฟ้า คือ นายเฉลิม ศรีประโคน และได้มีการเข้าสัมภาษณ์ นายเฉลิม ศรีประโคน ในเรื่องการเพาะเห็ดนางฟ้า ถามถึงกระบวนการเพาะเห็ดนางฟ้า วัสดุอุปกรณ์ที่ต้องนำมาใช้และการส่งจำหน่ายเห็ดนางฟ้า

วิธีการทำก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้า มีวัสดุอุปกรณ์ ดังนี้

      1. ขี้เลื่อยยางพาราแห้งสนิท
      2. หินปูนหรือผงชอล์ก
      3. ข้าวโพดป่น
      4. รำละเอียด
      5. น้ำเปล่า
      6. ปูนยิบซัม
      7. ดีเกลือ
      8. EM

วัสดุอุปกรณ์ที่เตรียมนั้นได้นำมาทำเป็นขั้นตอนแล้วนำมาอัดก้อน หลังจากทำก้อนเชื้อเห็ดเสร็จแล้ว ก็นำก้อนเชื้อที่ได้มาทำการหยอดเชื้อ และบ่มเชื้อเห็ดนางฟ้า ก้อนเชื้อที่ได้มานั้นจะนำมาทำการนึ่ง ( เพื่อฆ่าเชื้อ ) เมื่อผ่านขั้นตอนการนึ่งฆ่าเชื้อเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็จะเริ่มทำการหยอดเชื้อเห็ดลงสู่ก้อนเชื้อที่ได้เตรียมไว้ เมื่อหยอดเชื้อลงสู่ก้อนเชื้อเห็ดเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้ทำการปิดปากถุงก้อนเชื้อ หลังจากนั้นบ่มเชื้อเห็ดในขั้นตอนถัดไป การบ่มเชื้อนั้นต้องนำก้อนไปบ่มไว้ โดยใช้ระยะเวลานานพอสมควร ซึ่งกรรมวิธีการบ่มเชื้อเห็ดก็ไม่ได้ยุ่งยากอะไรมากมาย เพียงแต่ต้องเก็บให้เป็นระเบียบ ไม่ให้ไม่ถูกฝนถูกแดด ลมไม่โกรก ไม่มีหนู ไม่มีแมลง ให้อากาศถ่ายเทได้สะดวกนั่นเอง

          หลังขั้นตอนการเก็บเกี่ยวเห็ดนางฟ้า ได้มีการส่งเห็ดออกจำหน่ายนอกพื้นที่ชุมชน โดยจะมีออเดอร์เห็ดเข้ามา และส่งออกไปตามออเดอร์ บางช่วงผลิตเห็ดนางฟ้าได้มากจะส่งจำหน่ายเข้าเมืองบุรีรัมย์เลย ถ้าบางช่วงผลิตเห็ดนางฟ้าได้น้อยจะส่งจำหน่ายในเขตพื้นที่ชุมชน

**วิดีโอการลงพื้นที่ตำบลเมืองโพธิ์**

 

Tags: , ,

อื่นๆ

เมนู