เพื่อนซี้ควายไทย

“เพื่อนซี้ควายไทย” เป็นคำกล่าวที่ไม่เกินความเป็นจริงที่มีต่อวิถีชีวิตคนไทย และระบบเกษตรกรรมไทย ถึงแม้ปัจจุบันจำนวนควายจะลดลงอย่างต่อเนื่อง พร้อมๆ กับจิตสำนึกและความตระหนักถึงบุญคุณควาย อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางกระแสแห่งการเปลี่ยนแปลงที่ไม่อาจหยุดยั้งได้นี้ก็ยังมีความหวังที่ควายไทยจะคงอยู่คู่กับคนไทย เข้านา เอาไว้ให้ได้ชั่วลูกหลาน

การพัฒนารูปแบบการเลี้ยงเพื่อการอนุรักษ์ควายไทย สามารถกระทำได้ในหลายแนวทางเช่น พัฒนา พื้นที่ที่ใช้เลี้ยงควาย ในฤดูทำนาต้องเตรียมอาหารแห้งโดยเฉพาะหญ้า และฟาง พันธุ์ของควาย จะต้องมีการคัดเลือกพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ด้วยวิธีการผสมเทียม เพื่อให้ได้ควายคุณภาพดีรูปร่างล่ำสัน การสร้างคอก หลังคามุงด้วยใบตองตึง หรือหญ้าคา หรือกระเบื้องเพื่อกันฝนกันแดดพัฒนาโรงเรียนให้มาตรฐานติดมุ้งลวดเพื่อป้องกันเหลือบ ลิ้น ยุง สัตว์มีพิษต่าง ๆ การดูแลสุขภาพมีเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์มาตรวจสุขภาพทุก ๆ 3 เดือน และต้องพัฒนาวิธีการคัดพันธุ์ควาย

ภูมิปัญญา และพัฒนาของการอนุรักษ์ควายในประเทศไทย สะท้อนผ่านการใช้พื้นที่ที่ใช้เลี้ยงควายส่วนใหญ่จะใช้บริเวณทุ่งนาของชาวบ้าน เลี้ยงแบบล่าม และปล่อยให้ออกไปแทะเล็มหญ้าตามธรรมชาติ พันธุ์ของควาย ความสำคัญของการเลี้ยงควาย ส่วนใหญ่เพื่อการอนุรักษ์วิถีควายให้อยู่คู่กับสังคมไทย และเพื่อใช้ในกิจกรรมการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม การสร้างคอกส่วนใหญ่จะมีลักษณะเป็นโรงเรือนโล่งไม่มีฝากั้น ไม่มีหลังคาอาหาร ได้แก่ หญ้าสด และฟางข้าว บ่งบอกวิถีชีวิตที่อยู่คู่คนไทยมานานเหมือนเพื่อนต่างเผ่าพันธุ์

อื่นๆ

เมนู