เข้าสู่เดือนพฤศจิกายนถึงปลายธันวาคม เป็นช่วงเก็บเกี่ยวข้าว และมักจะมีสัตว์ชนิดนึงที่คนในท้องนิยมรับประทานกันคือหนูหนาหรือหนูพุก ในฤดูหนาวหนูจะกักเก็บไขมันไว้ในร่างกายทำให้มีรสชาติที่คนในพื้นที่ชอบรับประทาน ซึ่งพอเก็บเกี่ยวเสร็จแล้วก็จะทำการออกล่าหนูตามทุ่งนาที่เก็บเกี่ยวเสร็จแล้ว ซึ่งหนูนาถ้าปล่อยไว้ก็จะเริ่มขยายพันธุ์ และหนูเป็นสัตว์ฟันแทะศัตรูสำคัญชนิดหนึ่งที่กัดกินเมล็ดที่เพิ่งปลูกใหม่หรือเริ่มงอกใหม่ๆทำให้พืชผลเสียหายถ้าเกิดไม่ควบคุมจำนวนจะเกิดความเสียหาย

   คุณแม่ชะลอม ทะนวลรัมย์ บ้านเลขที่69 ตำบลเมืองโพธิ์ อำเภอห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์ ทำเกษตรแบบผสม โดยในสวนของคุณแม่ เลี้ยงหนูนาไว้ในสวนหลังบ้าน หลังจากสอบถามวิธีการเลี้ยงดูได้ข้อมูลว่า หนูนาเป็นสัตว์ที่ทนต่อทุกสภาพอากาศ ร้อนก็ได้ หนาวก็ได้ ส่วนเรื่องสถานที่ในการเลี้ยงนั้นถ้าไม่มีร่มไม้ก็หาวัสดุกันแดดมามุงเล็กน้อย แต่ถ้าที่บ้านมีร่มไม้ ก็ทำการเลี้ยงได้เลย และหากนึกถึงหนูแล้วต้องคำนึงถึงความเร็วหนูเป็นสัตว์ที่ว่องไว ทางคุณแม่แนะนำว่าให้ใช้วงปูนเลี้ยงง่ายกว่า และยังทำความสะอาดได้ง่าย ซึ่งขนาดของบ่อถ้าพอมีพื้นที่อาจใช้กว้างประมาณ 2×2.5 หรือใช้วงปูนซ้อนเทินกัน 2 ชั้น และทำการปล่อยตัวผู้และตัวเมียลงผสมพันธุ์ คุณแม่บอกว่าช่วงนี้คนยังไม่ค่อยเข้ามาขอซื้อเนื่องจากเป็นช่วงฤดูเก็บเกี่ยวเป็นช่วงที่ชาวบ้านออกล่าหนูตามธรรมชาต ส่วนราคาแล้วแต่ขนาดตัวยิ่งตัวใหญ่ก็ยิ่งมาราคา ราคาอาจจะเริ่มตั้งแต่120 บ.จนถึง300 บ. /กก

   ในปัจจุบันในธรรมชาตินับวันเริ่มมีน้อยเต็มที อันเกิดมาจากการขยายของเมืองใหญ่ และการทำเกษตรที่พึ่งสารเคมี ส่งผลให้สิ่งแวดล้อมถูกทำลาย จึงทำให้จำนวนหนูพุกในธรรมชาติ เริ่มมีปริมาณที่น้อยลงและไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้นิยมกิน ส่งผลให้มีเกษตรกรหลายรายเริ่มเห็นช่องทางการทำตลาดเพาะพันธุ์หนูนาสร้างรายได้

อื่นๆ

เมนู