ภูมิปัญญาท้องถิ่น”อาหารพื้นบ้าน”
ข้าพเจ้า นายวิสันต์ นุยืนรัมย์ ประเภทบัณฑิตจบใหม่ (หลักสูตร:SC03)ตามโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
อาหารในแต่ละท้องถิ่นเกิดจากภูมิปัญญา วัฒนธรรม ประเพณี และวิถีชีวิตของคนในท้องถิ่นนั้น ๆ ซึ่งอาหารประจำถิ่นแต่ละถิ่น เรียกว่า อาหารพื้นบ้านอาหารพื้นบ้านเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีที่สะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมของคนในแต่ละภูมิภาคต่าง ๆ โดยอาหารพื้นบ้านแสดงให้เห็นว่า บรรพบุรุษมีความสามารถทางโภชนาการ
ซึ่งจะเห็นได้จากการเก็บรักษาอาหารโดยไม่เสียโดยการถนอมอาหาร รวมทั้งอาหารพื้นบ้านยังทำให้ผู้บริโภคมีความแข็งแรงปราศจากโรคภัยไข้เจ็บและมีชีวิตที่ยืนยาว ดังนั้น อาหารพื้นบ้านจึงเป็นวัฒนธรรมพื้นบ้านที่เกี่ยวข้องและผูกพันกับชีวิตมนุษย์โดยตรงตลอดจนเป็นวัฒนธรรมพื้นบ้านที่มีคุณลักษณะพิเศษ ซึ่งหากพิจารณาถึงการประกอบอาหารพื้นบ้านนั้น ส่วนใหญ่จะไม่มีการถ่ายทอดเป็นลายลักษณ์อักษรหรือจดบันทึกอย่างเป็นทางการ ซึ่งนับวันจะสูญสิ้นไปเนื่องจากคนรุ่นเก่ากำลังจะหมดไปและคนรุ่นใหม่ก็มิได้สนใจหรือสืบทอดวัฒนธรรมเหล่านี้ เนื่องจากความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีตลอดจนอิทธิพลของอาหารต่างประเทศที่เข้ามา
วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาเกี่ยวกับอาหารท้องถิ่นบ้านสนวน ต.สนวน อ.ห้วยราช จ.บุรีรัมย์
2. เพื่อฟื้นฟูอาหารท้องถิ่นบ้านสนวน ต.สนวน อ.ห้วยราช จ.บุรีรัมย์ ได้อย่างเหมาะสม
อาหารท้องถิ่นเพื่อสร้างความเข้มแข็งของชุมชนบ้านสนวนนอก ตำบลสนวน
อำเภอห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์ ใช้กระบวนการมีส่วนร่วมในชุมชน จากการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้
ข้อมูลที่สำคัญ ได้แก่ ปราชญ์ชาวบ้านหรือผู้สูงอายุ กลุ่มแม่บ้านที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ชุมชนโบราณบ้าน
สนวน
อบรมยกระดับการท่องเที่ยว
การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมคือการเน้นให้ผู้ท่องเที่ยวไปชมกับ วัฒนธรรมพื้นบ้าน เช่น ฐานบ้านปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ฐานบ้านกระดิ่ง ฐานบ้านจักสาน ฐานบ้านนก ฐานสวนเกษตรวิถีพอเพียง เครื่องกรอไหม เครื่องเดินเส้นยืน เครื่องม้วนไหม และกี่ทอผ้าแบบเป็นกี่กระตุก ตามความคาดหวังที่เหมาะตรงกลุ่มนักท่องเที่ยวซึ่งจะสะท้อน ออกเป็น การให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยว การจัดกิจกรรมที่เหมาะสม และระยะเวลาที่เหมาะสมต่อการท่องเที่ยว