เบ็ญญา เอี่ยมนางรอง

          ส่วนใหญ่แล้วเรามักพบเห็นการตั้งชื่อเมือง ตำบล หมู่บ้าน อ้างอิงกับสิ่งที่เกิดขึ้นหรือพบเห็นในชุมชนพื้นที่นั้น ๆ เสมอ ตำบลเมืองฝางเองก็น่าจะมีที่มาไม่แตกต่างกัน  เป็นไปได้ว่าสมัยก่อนอาจมีต้นฝางในพื้นที่เยอะมากก็เป็นได้ บทความนี้จะนำเสนอข้อมมูลเกี่ยวกับต้นฝางว่า เป็นแบบไหนและมีความสำคัญอย่างไร

ฝาง เป็นไม้พุ่มแตกกิ่งที่โคน ไม่มีปมราก รากสีดำ เปลือกเป็นสัน สีน้ำตาลแกมเทา ลำต้นมีความสูงประมาณ 5-8 เมตร และมีหนามโค้งโดยรอบ ใบเป็นรูปแบบใบประกอบแบบขนนก 2 ชั้น (เรียงสลับ) โดยมีใบย่อยรูปไข่หรือรูปขอบขนาน ดอกออกตามซอกใบในลักษณะของดอกช่อตอนปลายของกิ่งและที่ปลายกิ่ง กลีบดอกมีสีเหลือง และมีเส้นสีแดงอยู่ภายในปลาย ผลเป็นฝักแบนฝักเป็นจงอยโค้งงอ ฝักแก่เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแดงสีน้ำตาลเป็นฝักแบน มีเมล็ดอยู่ภายใน 2-4 เมล็ด

เนื้อไม้ฝางเป็นแหล่งผลิตสารสีแดงที่สำคัญ ใช้ย้อมผ้าและสิ่งทอ ในอินโดนีเซียใช้ปรุงแต่งสีเครื่องดื่มให้เป็นสีชมพู ผลมีแทนนิน เปลือกลำต้นและเนื้อไม้ต้มใช้เป็นยารักษาวัณโรค ท้องเสีย เป็นยาฝาดสมาน เมล็ดเป็นยาระบาย ในฟิลิปปินส์ใช้เป็นเชื้อเพลิง และใช้ทำเครื่องใช้ต่างๆ แก่นไม้ฝางให้สารสีแดงจำพวกแซบพานีน และบราซิลีน ผลมีแทนนิน 40% เหมาะกับการใช้ฟอกหนัง การสกัดสีจะนำเนื้อไม้มาบดแล้วต้มนาน ๆ สีจะเข้มขึ้น  กิ่งและแก่น ใช้ดื่มบำรุงโลหิต แก้ร้อนใน ท้องร่วง

ในประเทศฮังการีมีการนำสาร Brazilin ไปใช้ในการรักษาโรคหัวใจกบซึ่งถูกสารพิษ ปรากฏว่าได้ผลที่น่าพึงพอใจ และยังพบว่าสารนี้ไม่เป็นอันตรายกับผู้ป่วย แม้จะดื่มเข้าไปในปริมาณมาก แต่ไม่ทิ้งสารตกค้างในร่างกายแต่อย่างใด  แก่นฝางเมื่อนำมาทำเป็นยาสมุนไพรแล้ว จะมีฤทธิ์บำรุงโลหิต ช่วยขับประจำเดือน บรรเทาอาการท้องร่วง ขับเสมหะ แก้ร้อนใน บรรเทาอาการโลหิตออกทางทวารหนักและทางปัสสาวะ นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์บรรเทาอาการเลือดออกตามอวัยวะต่าง ๆ ได้ดี เช่น ในลำไส้และกระเพาะอาหาร เลือดกำเดาในจมูก เป็นต้น

ที่มา : Wikipedia.org

 

อื่นๆ

เมนู