นายชิตพล  ยอดเพ็ชร

เดือนมีนาคม 2564 เป็นเดือนที่สองของการทำกิจกรรมในโครงการ ยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ) ของ ต.เมืองฝาง อ.เมือง จ.บุรีรัมย์

ได้มีการจัดประชุมยกระดับผลิตภัณฑ์ของชุมชนจากคณะทำงานจากมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ในวันที่ วันที่ 12 มีนาคม 2564 นำทีมโดย อาจารย์ ดร.ทิพวัลย์ แสนคำ และคณะ  จัดที่ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองฝาง มีผู้บริหารขององค์การบริหารส่วนตำบลเมืองฝางเข้าร่วมรับฟังและรับทราบแนวทางการจัดกิจกรรมตลอดหลักสูตรร่วมกัน และก่อนจะเริ่มงาน ท่านนายกองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองฝาง ได้กล่าวให้โอวาทกับท่านที่เข้าร่วมการประชุม

สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ เป็นโครงการที่มุ่งเน้นการพัฒนาและส่งเสริมสนับสนุน “ธุรกิจ ชุมชน” หมายถึง การรวมกลุ่มของคนในชุมชนเพื่อช่วยเหลือเกื้อกูลกันในการทํามาหากิน เพื่อให้เกิด ประโยชน์สุขและความเข้มแข็งต่อชุมชนนั้นๆ ซึ่งธุรกิจชุมชนจะเป็นฐานสําคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจ ชุมชนท่ีพึ่งตนเองได้ ไม่ได้หมายถึงการพึ่งตนเองด้วยเศรษฐกิจเพียงด้านเดียว แต่หมายถึงการพัฒนาให้ประชาชนได้ขายสินค้าในชุมชนของตนเอง โดยนำเสน่ห์ ภูมิปัญญา วิถีชีวิต วัฒนธรรม มาแปลงเป็นรายได้ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดรายได้กระจายภายในชุมชน เพื่อให้สินค้าและผลิตภัณฑ์ชุมชนมีคุณภาพมาตรฐาน สามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชน อันเป็นหลักการที่จะนําไปสู่การเป็นฐานรากทางเศรษฐกิจที่มั่นคง และยั่งยืนของระบบเศรษฐกิจ

เริ่มต้นด้วยการแนะนำผลิตภัณฑ์จากตัวแทนของชุมชน จะประกอบไปด้วย

กลุ่มสินค้า OTOP

  • ผ้าฝ้ายทอมือ
  • ไข่เค็มสมุนไพร

กลุ่มสัมมาชีพชุมชน

  • น้ำพริกหมู
  • พริกแกงสูตรเมืองฝาง
  • ขนนมดอกจอก
  • กล้วยฉาบ
  • ข้าวหมาก
  • ชาสมุนไพรไข่มุข
  • พวงหรีด

จากการเข้าร่วมการประชุม ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้ผลิตภัณฑ์ชุมชนในระดับฐานรากได้มีโอกาสในการพัฒนาคุณภาพสู่มาตรฐาน เพื่อสามารถส่งได้ ในจำนวนกลุ่ม/ผลิตภัณฑ์ที่เข้าร่วมโครงการฯ แต่ละกลุ่มผลิตภัณฑ์ มีปัญหาแตกต่างกันออกไป อาทิ ปัญหาด้านวัตถุดิบ การใช้ปัจจัยการผลิต การตลาด และการบริหารจัดการ โดยปัญหาสำคัญ ที่ส่งผลต่อความเข้มแข็งและความยั่งยืนของกลุ่มและ ชุมชนในระดับฐานรากเป็นอย่างมากก็คือ ปัญหาเรื่องการบริหารจัดการ ซึ่งกลุ่มผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ ชุมชนส่วนใหญ่ยังขาดองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการกลุ่มอย่างเป็นระบบ อาทิ การจัดการด้านการตลาด การจัดการการผลิต และการบริหารจัดการกลุ่ม ซึ่งปัญหาทั้ง 3 ด้าน มีความสัมพันธ์กัน เช่น ถ้ากลุ่มผู้ผลิตขายสินค้าไม่ได้กลุ่มจะขาดแรงจูงใจในการพัฒนาสินค้า รวม ทั้งขาดแรงจูงใจในการพัฒนาระบบการบริหารจัดการกลุ่มให้ดีมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญใน การพัฒนากลุ่มให้เข้มแข็งและสามารถพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน

นอกจากนี้ โครงการยกระดับผลิตภัณฑ์ของชุมชน ในการต่อสู้กับปัญหาความยากจน เพื่อยกระดับความเป็นอยู่ของคนในชุมชนให้ดีขึ้นโดยการสนับสนุนให้ชุมชนใช้ภูมิปัญญาและ ทรัพยากรในท้องถิ่น พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ มีเอกลักษณ์ มาสร้างเป็นจุดขายของตนเอง มี ความเชื่อพื้นฐานว่าการให้ชุมชนได้คิดพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตนเอง จะทำให้ชุมชนได้เห็นแนวทางใน การสร้างเศรษฐกิจชุมชนฐานราก ซึ่งจะสามารถยกระดับความเป็นอยู่ของคนในชุมชนให้ดีขึ้น

อื่นๆ

เมนู