ในโครงการ ยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ) ของ ต.เมืองฝาง อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ คณะผู้ปฏิบัติงานได้จัดทำได้ร่วมทำความสะอาด และฉีดพ้นฆ่าเชื้อในตำบลเมืองฝาง และให้ความรู้การป้องการการติดเชื้อ

โควิด-19ที่ระบาดในไทยและทั่วโลกนั้นมีหลายสายพันธุ์โดยค้นพบสายพันธุ์ต้นกำเนิดที่เมือง อู่ฮั่น ประเทศจีน ในเดือน ธ.ค.2562 และแยกออกมากเป็นสายพันธุ์ ต่าง ๆ

  1. สายพันธุ์เอส S (Serine) : เริ่มต้นจากประเทศจีน ระบาดระลอกแรกในไทย เดือน มี.ค.2563
  2. สายพันธุ์ L (Leucine) : แพร่กระจายมีลูกหลานได้มากกว่าสายพันธุ์ S โดยเฉพาะเมื่อออกนอกจีนไปถึงยุโรป
  3. สายพันธุ์ G (Glycine) : ลูกหลานที่มาจากสายพันธุ์ L แพร่กระจายได้ง่ายตามหลักวิวัฒนาการ กระจายทั่วโลกอย่างกว้างขวาง
  4. สายพันธุ์ V (Valine) : เป็นลูกหลานที่มาจากสายพันธุ์ L
  5. สายพันธุ์ GH (Histiddine) :เป็นลูกหลานจากสายพันธุ์ G
  6. สายพันธุ์ GR (Arginine) : เป็นลูกหลานจากสายพันธุ์ G
  7. สายพันธุ์ O : พวกที่กลายพันธุ์ไม่บ่อยรวมกัน
  8. สายพันธุ์ B หรือ SARS-CoV-2 VUI 202012/01 ต้นกำเนิดกลายพันธุ์จากประเทศอังกฤษ

นอกจากนี้เชื้อไวรัสนั้นยังมีการกลายพันธุ์ซึ่งทำให้มีความรุ่นแรงขึ้น

สายพันธุ์อังกฤษ หรือ สายพันธุ์ B.1.1.7 (GR,G) พบครั้งแรกที่ประเทศ อังกฤษ เดือนกันยายน 2563 แพร่กระจายเป็นวงกว้างในอังกฤษ และอีกกว่า 50 ประเทศ ในส่วนของความรุนแรงนั้น อัตราการป่วยและเสียชีวิตมากขึ้นกว่าสายพันธุ์อื่นราว 1.65 เท่า ผู้ป่วยมีอายุเฉลี่ยน้อยลง ผู้ป่วยมีภาวะปอดอักเสบ ต้องใส่ท่อช่วยหายใจมากขึ้น และส่วนใหญ่ผู้ที่มีอาการหนักจะใช้เวลาเพียง 7-10 วันก่อนจะเสียชีวิต และมีการกลายพันธุ์คล้ายสายพันธุ์ B.1.351 ลดประสิทธิภาพวัคซีน

สายพันธุ์แอฟริกาใต้ หรือ สายพันธุ์ B.1.351 พบครั้งแรกแอฟริกาใต้ เดือนธันวาคม 2563 ตราการแพร่เชื้อ แพร่เชื้อไวขึ้นกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิมราว 50%  ความรุนแรงนั้นประสิทธิภาพแอนติบอดี ทำให้คนติดเชื้อได้ง่าย หนีจากภูมิคุ้มกันได้ดี อาจลดประสิทธิภาพของวัคซีนได้

สายพันธุ์ P.1 (GR) พบครั้งแรก: บราซิล เดือนธันวาคม 2563 อัตราการแพร่เชื้อ: แพร่เชื้อไวขึ้นกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิม 2.5 เท่า หรือราวๆ 25-60% ความรุนแรงยึดเกาะกับเซลล์ร่างกายมนุษย์ได้ดี ลดประสิทธิภาพของแอนติบอดี พลาสมาหรือระบบภูมิคุ้มกันของมนุษย์จับกับไวรัสได้

สายพันธุ์ B.1.617 หรือสายพันธุ์อินเดีย พบครั้งแรก: เมืองนาคปุระ รัฐมหาราษฎระ ประเทศอินเดีย เดือนธันวาคม 2563 อัตราการแพร่เชื้อ: แพร่เชื้อไวขึ้นกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิมราว 20% ความรุนแรง: ไวรัสแพร่กระจายตัวได้เร็ว ผู้ติดเชื้อมีอาการแย่ลง รวมถึงไวรัสสามารถหลบภูมิคุ้มกันที่มีการติดเชื้อก่อนได้ จึงทำให้หลบวัคซีนได้

สายพันธุ์ B.1.618 หรือสายพันธุ์เบงกอล พบครั้งแรก: รัฐมหาราษฎระ เดลี เบงกอลตะวันตก และฉัตติสครห์ ประเทศอินเดีย เดือนตุลาคม 2563 และพบการระบาดอีกครั้งในเดือนมีนาคม 2564 อัตราการแพร่เชื้อ: มีหลักฐานการแพร่เชื้อที่เร็วขึ้นมากในรัฐเบงกอลตะวันตก ความรุนแรง: ไวรัสสามารถหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันได้ และส่งผลต่อประสิทธิภาพวัคซีนที่มีอยู่เดิม  รุนแรงกว่าเชื้อสายพันธุ์ดั้งเดิม แต่ขณะนี้ยังไม่มีผลที่แน่นอนเกี่ยวกับความรุนแรงของสายพันธ์ุนี้ออกมา

สายพันธุ์ B.1.36.16พบครั้งแรก: เมียนมา และเป็นเชื้อไวรัสที่กำลังระบาดในไทย พบช่วงต้นปี2564ความรุนแรง: หากยังระบาดไปอีก 3-4 เดือน อาจกลายพันธุ์เป็นสายพันธุ์ท้องถิ่นของไทย

อ้างอิง https://www.bbc.com/thai/international-56239313

อื่นๆ

เมนู