รัตนเมธี ประทุมนอก
ตำบลเสม็ด อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นพื้นที่ในโครงการ ยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบล แบบบูรณาการ รับผิดชอบโดยคณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
วันศุกร์ ที่ 26 พฤศจิกายน 2564 ข้าพเจ้า อาจารย์ประจำโคงการตำบลเสม็ด พร้อมผู้จ้างงาน ได้จัดอบรม มัคคุเทศก์น้อย วัตถุประสงค์เพื่อให้เด็กและเยาวชนของจังหวัด บุรีรัมย์ มีความรู้เพิ่มเติม มีทักษะและประสบการณ์ตรงในการฝึกปฏิบัติ เกิดทักษะการพูดและเขียน สามารถแนะนำ เป็นผู้นำในการนำเที่ยวและถ่ายทอดประวัติความเป็นมา ความสำคัญของแหล่งท่องเที่ยวทางศิลปวัฒนธรรม วิถีชีวิตในท้องถิ่นมุ่งเน้นอัตลักษณ์ในชุมชนของตนเองให้กับนักท่องเที่ยวหรือแขกผู้มาเยือนได้อย่างถูกต้องและเกิดประโยชน์แก่ท้องถิ่นตน เพื่อปลุกจิตสำนึกให้เด็กและเยาวชนได้เห็นคุณค่า ภาคภูมิใจในท้องถิ่นตน เกิดความรักและหวงแหนใน
ทรัพยากรธรรมชาติและอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมของท้องถิ่น รวมทั้งร่วมกันบูรณะแหล่งชุมชน เล็งเห็นและให้ความสำคัญต่ออัตลักษณ์ของชุมชนของตนเอง และของจังหวัดลำปาง อีกทั้งเพื่อเสริมสร้างทักษะและพัฒนาด้านภาษาให้กับเด็กและเยาวชนสามารถประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวให้เป็นที่รู้จักกับชาวต่างชาติมากขึ้น และเพื่อให้เด็กและเยาวชนได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ปลอดภัยจากยาเสพติด อบายมุขและประพฤติตนให้เป็นแบบอย่างที่ดีแก่เด็กและเยาวชนต่อไป
โดยให้ความรู้ในด้าน วนอุทยานเขากระโดง
ชื่อเดิมชาวบ้านเรียกเขากระโดงว่า “พนมกระดอง” เป็นภาษาเขมร แปลว่า “ภูเขากระดอง (เต่า)” เพราะมีรูปลักษณ์คล้ายกระดองเต่า ต่อมา จึงเรียกเพี้ยนเป็น “กระโดง”ภูเขาไฟกระโดงนับเป็นภูเขาไฟที่ดับสนิทมาแล้วหลายพันปี และเป็น 1 ใน 6 ลูกของภูเขาไฟใน บุรีรัมย์ ทั้งยังเป็นภูเขาไฟที่มีสภาพปากปล่องสมบูรณ์ ปัจจุบันได้มีการบูรณะเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัด โดยในแต่ละปีจะมีประชาชนและนักท่องเที่ยวเดินทางขึ้นไปกราบไหว้ขอพรพระสุภัทรบพิตร และชมปากปล่องภูเขาไฟเป็นจำนวนมากโดยเฉพาะฤดูหนาวจะมีนักท่องเที่ยวมากเป็นพิเศษ ทางจังหวัดต้องขอความร่วมมือนักท่องเที่ยวให้ช่วยกันอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติโดย รอบวนอุทยานภูเขาไฟกระโดงเพื่อให้ลูกหลานได้ชมความงดงามสืบไป การกำเนิดและการแจกกระจายของภูเขาไฟในจังหวัดบุรีรัมย์ ภูเขาไฟในบุรีรัมย์ เกิดจากการไหลทะลักของลาวา (อาจมีการประทุระเบิดบ้าง ถ้ามีก๊าซและไอน้ำร้อนเดือดมาก) ตามแนวรอยเลื่อนแบบรอยเลื่อนย้อน โดยภูเขาไฟกระจาย อยู่ห่างจากแนวรอยเลื่อนขึ้นไปทางเหนือเป็นระยะ ๆ ภูเขาไฟ แนวแรกอยู่ห่างจากแนวรอยเลื่อนประมาณ 40 กิโลเมตร ได้แก่ภูเขาไฟคอก แนวที่สองห่างจากแนวรอยเลื่อน ประมาณ 45 กิโลเมตร ได้แก่ภูเขาไฟหลุบ และภูเขาไฟไปรบัด แนวที่สามห่างจากแนวรอยเลื่อนประมาณ 50 กิโลเมตร ได้แก่ ภูเขาไฟพนมรุ้ง ภูเขาไฟอังคาร และภูเขาไฟกระโดงซึ่งอยู่ห่างจากแนวรอยเลื่อนมากที่สุด ประมาณ 75 กิโลเมตร ภูเขาไฟแต่ละแนวเป็นภูเขาไฟที่ดับแล้วมีอายุแตกต่างกันไป แนวที่อยู่ใกล้รอยเลื่อนมากที่สุด (แนวแรก) มีอายุเก่าแก่ที่สุดคือ ประมาณไม่เกิน 2 ล้านปี ซึ่งมีสัณฐานและร่องรอยการไหลของธารลาวา ถูกทำลายเกือบหมด หินที่ผุกล่อนง่ายสลายกลายเป็นดินหมดแล้ว คงเหลือแต่หินที่แข็งแกร่งเท่านั้น และภูเขาไฟแนวทางเหนือสุดได้แก่ ภูเขาไฟกระโดง มีอายุน้อยที่สุดลูกหนึ่งของประเทศไทย ร่องรอยการประทุระเบิด การไหลหลากของธารลาวา เศษหินที่ผุสลายตัวง่าย ยังคงพบอยู่ทั่วไป ตามบริเวณช่องประทุระเบิด หรือเขตไหล่เนินภูเขาไฟ
ที่ตั้งและข้อมูลทั่วไป สถานที่ติดต่อ : วนอุทยานเขากระโดงอยู่ในท้องที่ตำบลเสม็ด ตำบลอิสานและตำบลสวายจีก อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ มีเนื้อที่ประมาณ 1,450 ไร่ เนื้อที่ส่วนใหญ่ของป่าเป็นที่สาธารณะสมบัติของแผ่นดิน กรมป่าไม้ได้ประกาศจัดตั้งเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2526 มีอาณาเขตติดต่อดังนี้ ทิศเหนือ จดทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 226 (นครราชสีมา-สุรินทร์)ทิศใต้ จดที่สาธารณะประโยชน์ตามนสล.4130/2515 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2515 และนสล.ฉบับที่ 46001/2543 ลงวันที่ 14 พฤศจิกายน 2543
ทิศตะวันออก จดบ้านโคกเขา ทิศตะวันตก จดทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 219 (บุรีรัมย์-ประโคนชัย)ระวางแผนที่ 5638 IV พิกัดที่ทำการ (UTM) 95495E 52390 N
พิกัดภูมิศาสตร์ ละติจูด 14 องศา 56 ลิปดาเหนือ และลองติจูด 103 องศา 5 ลิปดาตะวันออก
สถานะการเปิด-ปิดการท่องเที่ยวในเขตวนอุทยาน ในช่วงการแพร่ระบาด COVID-19 ปิดให้บริการการท่องเที่ยว
ขนาดพื้นที่
1450.00 ไร่ หน่วยงานในพื้นที่ ลักษณะภูมิประเทศ วนอุทยานเขากระโดงมีสภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูง และเนินเขา สภาพป่าเป็นป่าแดง หรือป่าเต็งรัง มีเนินเขาขนาดเล็ก 2 ลูกติดกัน สูงจากพื้นที่โดยรอบประมาณ 60 เมตร เนินทาง ทิศใต้เรียกว่า เขาใหญ่ ส่วนเนินทางทิศเหนือเรียกว่า เขากระโดง ซึ่งเนินเขาทั้งสองนี้เกิดจากการทับถมของเศษหินภูเขาไฟที่พ่นปะทุออกมาทางทิศตะวันออก และตะวันตก มีลักษณะเกือบเป็นที่ราบไม่เห็นร่องรอยชัดเจน รอบ ๆ เนินเขาเป็นเนินธารลาวา ซึ่งเป็นพืดหิน จากการสำรวจความหนาของชั้นลาวาจากการระเบิดของเหมืองหิน พบว่า มีความหนามากกว่า 20 เมตร และแผ่กระจายไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของยอดเขามากกว่าทางทิศทางอื่นลักษณะภูมิอากาศสภาพภูมิอากาศของป่าบริเวณเขากระโดงแบ่งออกเป็น 3 ฤดู คือ
ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงพฤศจิกายน
ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนธันวาคมถึงกุมภาพันธ์
ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม
การเดินทางรถยนต์
สามารถเดินทางไปวนอุทยานเขากระโดงได้ 3 เส้นทางดังนี้
1. เส้นทางจากจังหวัดบุรีรัมย์ ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 219 (บุรีรัมย์-ประโคนชัย) ระยะทางประมาณ 6 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าวนอุทยานฯ
2. เส้นทางจากจังหวัดนครราชสีมา ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 226 (นครราชสีมา-สุรินทร์) ระยะทางประมาณ 130 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าวนอุทยานฯ
3. เส้นทางจากจังหวัดสุรินทร์ ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 226 ระยะทาง 50 กิโลเมตร พบสี่แยกแล้วเลี้ยวซ้ายไปอำเภอประโคนชัยประมาณ 1 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าวนอุทยานฯ โดยเด็กๆเยาวชนได้อบรมและได้ความรู้ไปในทิศทางเดียวกัน
ในนการนี้ ข้าพเจ้าจะนำข้อมูลดังกล่าวส่งต่อส่วนกลาง เพื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงสถิติ และเขียนบทความในเชิงวิชาการ
ผู้เขียนบทความ นายรัตนเมธี ประทุมนอก
ประเภท ประชาชน
SC-07 คณะวิทยาศาสตร์
ตำบลเสม็ด อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์