1. หน้าแรก
  2. คณะวิทยาศาสตร์
  3. SC07 - ตำบลเสม็ด อำเภอเมืองบุรีรัมย์
  4. SC-07 โครงการการพัฒนาคุณภาพยกระดับผลิตภัณฑ์ปลาส้มพื้นบ้านสู่การรับรองมาตรฐานเสริมสร้างสุขภาวะและสิ่งแวดล้อมชุมชนเพื่อพัฒนาอย่างยั่งยืน ต.เสม็ด อ.เมือง จ.บุรีรัมย์

SC-07 โครงการการพัฒนาคุณภาพยกระดับผลิตภัณฑ์ปลาส้มพื้นบ้านสู่การรับรองมาตรฐานเสริมสร้างสุขภาวะและสิ่งแวดล้อมชุมชนเพื่อพัฒนาอย่างยั่งยืน ต.เสม็ด อ.เมือง จ.บุรีรัมย์

          โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ หรือ “1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย” เป็นการฟื้นฟูเศรษฐกิจในระดับชุมชน แก้ปัญหาความยากจน โดยมีมหาวิทยาลัยกว่า 80 แห่ง ดำเนินการร่วมกับภาครัฐ ภาคเอกชนและประชาชนในแต่ละพื้นที่ ในการนำองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมช่วยยกระดับเศรษฐกิจและสังคมในตำบล ผ่านการจ้างงาน นิสิต นักศึกษา บัณฑิตจบใหม่ รวมถึงประชาชนในพื้นที่ที่จะเข้าไปช่วยในการพัฒนาตำบลนำไปสู่การลดปัญหาความยากจนอย่างมีเป้าหมายชัดเจน ตำบลเสม็ด อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์เป็นอีกตำบลหนึ่งในปี พ.ศ. 2564 มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ได้ดำเนินโครงการดังกล่าว โดยตำบลเสม็ดมีจำนวนครัวเรือนในปี พ.ศ. 2563 จำนวน 6,226 ครัวเรือน 19 หมู่บ้าน

          จากกการลงพื้นที่สำรวจข้อมูลของข้าพเจ้า นายภัทรวิทย์ ปรุงเรณู สังกัดคณะวิทยาศาสตร์ ภาคประชาชน (SC-07) ตามแบบสอบถามข้อมูลระดับบุคคล ครัวเรือนและชุมชน (01) แบบสอบถามเกี่ยวกับผลกระทบจากโรคโควิด-19 (02) และแบบสำรวจเพื่อเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคติดต่ออุบัติใหม่ สำหรับที่พักอาศัย (06) ในหมู่ที่ 9 บ้านโคกใหญ่ ผลการปฏิบัติงานในวันที่ 1 – 16 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 มีดังนี้  1) เก็บข้อมูลแบบฟอร์ม 01 และ 02  จำนวน 80 ครัวเรือน  2) เก็บข้อมูลแบบฟอร์ม 03 และ 04 (Before) จำนวนอย่างละ 9 ชุด 3) เก็บข้อมูลแบบฟอร์ม 06 จำนวน 30 ครัวเรือน 4) ปฏิบัติงานประสานกับผู้นำชุมชน (นายสุวโรจน์ เศรษฐชัยธีรกุล) เพื่อชี้แจง ร่วมกันวางแผนและรับทราบกฎ ระเบียบ กติกา ข้อตกลงของหมู่บ้านก่อนเก็บข้อมูล ดังภาพ 5) การพัฒนาทักษะตามโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ได้เข้าร่วมอบรมทักษะด้านภาษาอังกฤษ (ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารพื้นฐาน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)

        ร่วมกันวางแผนกับผู้นำชุมชน

                   เก็บข้อมูลคนในชุมชน

        ผลจากการเก็บข้อมูลผลในภาพรวม พบว่า ประชาชนในหมู่ 9 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป เลี้ยงสัตว์ผลผลิตหลักทางด้านการเกษตรของชุมชน พบว่ามีการทำนา เลี้ยงสัตว์ ปลูกพืชผักสวนครัวกินเองในครอบครัว และร้อยพวงมาลัยขายส่งตามสี่แยกไฟแดง แต่ก็ยังถือว่าไม่ใช่อาชีพที่สามารถสร้างรายได้ให้ชุมชนอย่างยั่งยืน เพราะมีการทำเพียงบางครัวเรือนเท่านั้น ดังภาพ

                          เลี้ยงวัว

                ปลูกพืชผักสวนครัว

                             ร้อยพวงมาลัย

          ด้านรายจ่ายหลักของครัวเรือน พบว่าใช้ในการซื้ออาหารเพื่อบริโภคในครัวเรือนและค่าน้ำค่าไฟในบ้าน ด้านสิ่งแวดล้อมล้อมพบว่าไม่มีปัญหา แต่ในทุกสัปดาห์ผู้นำชุมชน ทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์เสียงตามสาย รณรงค์ให้ทุกบ้านทำความสะอาด ปรับปรุงภูมิทัศน์ชุมชนให้สะอาดและน่าอยู่ร่วมกับสมาชิก อบต. อสม. และคณะกรรมการหมู่บ้าน

          ด้านผลกระทบจากโควิด – 19 พบว่าคนในชุมชนหมู่ 9 มีมาตรการป้องกันอย่างเข้มงวด โดยบุคคลที่มาจากจังหวัดต่างจังหวัดเข้าพื้นที่ให้แจ้ง อสม. และผู้นำชุมชนทราบ หากผู้ที่เดินทางมาจากต่างจังหวัดไม่ให้ความร่วมมือ ผู้นำชุมชนจะแจ้งให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องดำเนินการ ตามขั้นตอนอย่างเด็ดขาดต่อไป นอกจากนี้ทาง อบต.เสม็ด ได้มีการประชาสัมพันธ์ในพื้นที่ซึ่งนับเป็นกลยุทธ์สำคัญในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของหน่วยงานไปยังหมู่บ้าน เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในการป้องกันได้อย่างถูกต้องและที่สำคัญหมู่ 9 ยังส่งเสริมสุขภาพร่างกายและจิตใจ ด้วยการออกกำลังกาย เต้นแอโรบิค ในโครงการ “เต้นแอโรบิคเพื่อสุขภาพ (ขยับกายสบายชีวี)” ประจำปี 2564 โดยงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต. เสม็ด ซึ่งคณะกรรมการกองทุนฯ เล็งเห็นถึงความสำคัญจึงสนับสนุนและรณรงค์ให้ประชาชนในหมู่บ้านสร้างเสริมสุขภาพโดยวิธีการออกกำลังกายเป็นประจำ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน ในส่วนของความต้องการในการพัฒนาชุมชน พบว่า อยากให้หน่วยงานเข้ามาพัฒนา ช่วยให้คำแนะนำด้านเศรษฐกิจให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องยาวนาน รวมถึงการจ้างงานในหมู่บ้านมากขึ้น เพราะได้รับผลกระทบจากโควิด – 19

          อุปสรรคปัญหาในการเก็บข้อมูลหมู่ที่ 9 คือ ประชาชนส่วนใหญ่มีอาชีพรับจ้างทั่วไปทำให้เมื่อเข้าไปเก็บข้อมูลพบว่าไม่มีใครอยู่บ้าน แผนงานที่จะดำเนินงานใน 18 กุมภาพันธ์และเดือนมีนาคม พ.ศ. 2564 มีดังนี้ เก็บข้อมูลแบบสอบถาม 01, 02 และ 06 ในหมู่ที่ 11, 13, 16 และหมู่ 17 ให้แล้วเสร็จตามกรอบระยะเวลาของโครงการ รวมถึงอบรมทักษะด้านสังคมต่อไป

ผู้เขียนบทความ  นายภัทรวิทย์ ปรุงเรณู ประเภท ประชาชน คณะวิทยาศาสตร์ (SC-07)

อื่นๆ

เมนู