รัตนเมธี ประทุมนอก
ตำบลเสม็ด อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นพื้นที่ในโครงการ ยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบล แบบบูรณาการ รับผิดชอบโดยคณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
เดือนมิถุนายน และ เดือน กรกฎาคม เป็นเดือนที่ข้าพเจ้าการทำกิจกรรมในโครงการ ยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบล แบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ) ของ ต.เสม็ด อ.เมือง จ.บุรีรัมย์
วันที่ 24 มิถุนายน2564 ข้าพเจ้า พร้อมทีมคณะอาจารย์ ประจำตำบลเสม็ด อ.เมืองบุรีรัมย์ ได้ประชุมเตรียมความพร้อม ใน การรณรงค์ ให้ความรู้เบื้องต้นในการ ฉีดวัคซีน ให้กับชุมชน ต.เสม็ด อ.เมืองบุรีรัมย์ โดยข้าพเจ้าได้จัดทำสื่อประชาสัมพันธิ์ เพื่อให้ความรู้เบื่อต้น กับ ทางทีมงาน อสม. เพื่อให้กระจ่ายความรู้เกี่ยวกับวัคซีน covid-19 ให้ไปในทิศทางเดียวกัน พร้อมทั้งได้ให้ความรู้สอนวิธีการทำ เจลแอลกอฮอล์ล้างมือ และ หน้ากากผ้าอนามัยไว้ใช้เอง โดยให้คนในชุมชนมีส่วนร่วมในการทำอุปกรณ์ด้วย
ขั้นตอนการทำเจลแอลกอฮอล์ไว้ใช้เอง
1. เตรียมเอทิลแอลกอฮอล์ 95% 60 มล.
2. ตวงกลีเซอรีนครึ่งช้อนชา หรือ 2.5 มล. สำหรับหลอดฉีดยา
3. จากนั้นใส่กลีเซอรีนที่เตรียมไว้ ผสมลงในแอลกอฮอล์
4. เขย่าส่วนผสมให้เข้ากัน
5. แบ่งใส่ขวดที่เราเตรียมไว้
6. ฉีดหรือพ่นลงบนฝ่ามือแล้วถูจนแห้ง หรือใช้ได้ตามอัธยาศัย สูตรเจลล้างมือแอลกอฮอล์จากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดยสูตรนี้จะได้เจลล้างมือปริมาณ 500 กรัม ส่วนผสมและวิธีทำ ดังนี้
อุปกรณ์
1. เอทิลแอลกอฮอล์ 95% ประมาณ 2 ใน 3 ส่วน หรือ 370 มิลลิลิตร
2. น้ำต้มสุก 1 ใน 3 ส่วน หรือประมาณ 125.5 มิลลิลิตร
3. กลีเซอรีน 2.5 มิลลิลิตร
4. คาร์โบพอล 940 ประมาณ 1 กรัม
5. ไตรเอทาโนลามีน 1 กรัม
วิธีทำ
1. ละลายผงคาร์โบพอลในน้ำต้มสุก คนจนเข้ากันดี จากนั้นตั้งพักไว้ ให้สารพองตัวเต็มที่
2. ค่อย ๆ เติมส่วนประกอบที่เหลือ โดยเริ่มจากแอลกอฮอล์ก่อน แล้วคนทุกอย่างให้เข้ากันดี
3. นำเจลล้างมือบรรจุลงในภาชนะที่สะอาด แห้ง จากนั้นปิดฝาให้สนิท
ทั้งนี้ คนที่หาซื้อเคมีภัณฑ์ไม่ได้ สามารถใช้เอทิลแอลกอฮอล์ 95% ประมาณ 2 ใน 3 ส่วน ผสมกับน้ำต้มสุก 1 ใน 3 ส่วน ให้เข้ากัน แล้วใช้เป็นน้ำยาฆ่าเชื้อสำหรับทำความสะอาดมือก็ได้เช่นกัน
การทำหน้ากากอนามัยแบบผ้าใช้เอง
การแพร่ระบาดรุนแรงของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หรือโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ประชาชนตื่นตระหนกและหันมาป้องกันตัวเองตามการรณรงค์ของกระทรวงสาธารณสุข ด้วยการล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่และน้ำสะอาด หรือใช้แอลกอฮอล์เจล ก่อนกินอาหาร หลังขับถ่ายและหลังสัมผัสสิ่งสัมผัสร่วมหรือของใช้สาธารณะที่ใช้ร่วมกับผู้อื่น กินอาหารที่ปรุงสุกร้อนใหม่ๆ มีคุณค่าทางโภชนาการ กินอาหารจานเดียว หลีกเลี่ยงอาหารร่วมสำรับแต่หากจำเป็นก็ใช้ช้อนกลางส่วนตัวในการกินอาหารร่วมกับผู้อื่น ดูแลร่างกายให้แข็งแรง นอนหลับให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงการเข้าไปในสถานที่แออัด คนรวมตัวกันหนาแน่น งดกิจกรรมการร่วมตัวกัน งดออกนอกบ้านโดยไม่จำเป็น และการปฏิบัติที่สำคัญมากไม่น้อยไปกว่าการล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอก็คือการสวมหน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันตนเอง ทั้งนี้ ในประชาชนทั่วไป ที่ไม่ได้มีอาการป่วยไข้หวัด ไอ จาม ไม่ได้เข้าไปอยู่ในพื้นที่เสี่ยง ไม่ได้ดูแลผู้ป่วยหรือผู้เสี่ยงสัมผัสโรคโควิด-19 สามารถป้องกันตนเองโดยการสวมใส่หน้ากากอนามัยแบบผ้าได้
กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข ขอแนะนำวิธีการทำหน้ากากอนามัยแบบผ้าใช้เองแบบง่ายๆ เพื่อเป็นทางเลือกสำหรับประชาชนในการแก้ปัญหาการขาดแคลนหน้ากากอนามัย วิธีการทำก็ไม่ยุ่งยาก อุปกรณ์ที่ใช้ก็หาได้ในกล่องเย็บผ้าคุณแม่บ้านเป็นส่วนใหญ่ อาจจะมีต้องซื้อหาเพิ่มเล็กน้อยคือผ้าฝ้ายมัสลิน แต่หากหาไม่ได้จริงๆ ก็สามารถใช้ผ้าฝ้าย 100 % แทนได้ คิดแล้วสุดคุ้ม ทำเองได้ ได้หน้ากากอนามัยที่สวยงามตามต้องการ ทำได้หลายชิ้น ทำให้ทุกคนในครอบครัวของเราได้ใช้เพื่อป้องกันตนเอง แถมซักให้สะอาด ตากแดด แล้วนำกลับมาใช้ซ้ำได้เรื่อยๆ ช่วยประหยัดเงินลดปัญหาการขาดแคลนหน้ากากอนามัยที่หาซื้อยากและมีราคาแพง และยังช่วยลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ลดขยะ ในประเด็นของการใช้หน้ากากอนามัยแบบกระดาษที่ต้องใช้แล้วทิ้ง เป็นการช่วยโลกร้อนไปพร้อมๆ กันได้อีกด้วย
วัสดุอุปกรณ์
1.ผ้าที่ใช้ทำหน้ากากอนามัย เช่น ผ้าฝ้ายมัสลิน 100 % ตัดเป็นชิ้น กว้าง 16 ซม. ยาว 19 ซม.
จำนวน 2 ชิ้น ตามภาพ 1
2. ยางยืดสำหรับทำสายคล้องหู ยาว 18-20 ซม. 2 เส้น
3. กรรไกร ไม้บรรทัด สีเขียนผ้าหรือดินสอ เข็มหมุด ด้าย จักรเย็บผ้า(ถ้ามี)
วิธีทำ
1. ตัดผ้ามัสลิน ขนาดกว้าง 16 ซม. ยาว 19 ซม. จำนวน 2 ชิ้น และตัดยางยืดสำหรับทำสายคล้องหู ยาว 18-20 ซม. (ให้เหมาะสมกับความกว้างของใบหน้าแต่ละคน) จำนวน 2 เส้น
2. นำยางยืดมาเย็บติดที่มุมผ้าด้านนอกของผ้าชิ้นแรก
3. นำผ้าทั้ง 2 ชิ้นมาวางซ้อนกัน หันผ้าด้านนอกหรือด้านถูกเข้าหากัน จะสังเกตได้ว่ายางยืดจะอยู่ด้านในระหว่างผ้า 2 ชิ้น
4. เย็บมือหรือเดินจักรโดยรอบห่างจากริมผ้าประมาณครึ่งเซนติเมตร โดยเว้นช่องว่างประมาณ 10 ซม. สำหรับไว้กลับผ้าและเมื่อกลับตะเข็บผ้าแล้วให้สอยปิดริมผ้าที่เว้นไว้ให้เรียบร้อย
5. จับทวิสตรงกลางผ้า โดยพับครึ่งตามแนวยาว วัดจากกึ่งกลางลงมา 3 ซม. ใช้เข็มหมุดกลัด 2 ด้าน
6. จับทวิสกลางผ้าให้กางออก แล้วเย็บตรึงด้านข้างทั้ง 2 ด้านให้เรียบร้อย จะได้หน้ากากอนามัยชนิดผ้าที่พร้อมใช้งาน
7. จะได้หน้ากากอนามัยแบบผ้าตามต้องการ ถ้าไม่มีจักรเย็บผ้าก็สามารถใช้การเย็บมือได้โดยการเย็บด้นถอยหลังเพื่อให้หน้ากากอนามัยมีความทนทานในการใช้งาน
หรืออาจจะประยุกต์ให้สวยงามด้วยการเย็บตกแต่งลวดลายต่างๆ ต่อไป
หน้ากากอนามัยแบบผ้าเมื่อใช้แล้ว ให้เปลี่ยนทุกวัน โดยซักทำความสะอาด ตากแดดให้แห้ง ก่อนนำกลับมาใช้ใหม่ ช่วยประหยัดเงินในกระเป๋า และยังช่วยลดขยะอีกด้วย ทั้งนี้แนะนำให้ทำไว้ใช้คนละ 3 อัน เพื่อสลับกันใช้
ในการนี้ ข้าพเจ้าจะนำข้อมูลดังกล่าวส่งต่อส่วนกลาง เพื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงสถิติ และเขียนบทความในเชิงวิชาการ
ผู้เขียนบทความ นายรัตนเมธี ประทุมนอก
ประเภท ประชาชน
SC-07 คณะวิทยาศาสตร์
ตำบลเสม็ด อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์