ข้าพเจ้านางสาวเจษฎากร ใยทา

ประเภท บัณฑิตจบใหม่ ต.เสม็ด อ.เมืองบุรีรัมย์ จ.บุรีรัมย์

หลักสูตร : SC07

โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

จากที่ได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูล CBD เพิ่มเติมของตำบลเสม็ด อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ได้พบกับคุณยายแกะ ซึ่งคุณยายแกะอาศัยอยู่ที่หมู่ 8 บ้านหนองข่า ตำบลเสม็ด อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ คุณยายมีอาชีพค้าขาย ได้ทำข้าวหลามขาย และยังทำพรมเช็ดเท้า ไม้กวาดอีกด้วย คุณยายเล่าว่าช่วงฤดูหนาวนั้นข้าวหลามขายดีมาก

ก็เลยจะมาแนะนำเมนูเด็ดที่นิยมทำรับประทานกันช่วงหน้าหนาว นั่นก็คือ “ข้าวหลาม” นั่นเองค่ะ กับจุดเด่นที่เป็นเอกลักษณ์ของเจ้าเมนูนี้อยู่ที่การนำเอาข้าวเหนียวไปผสมกับเครื่องปรุง ไม่ว่าจะเป็น กะทิ น้ำตาล เกลือ แล้วนำมาบรรจุในกระบอกไม้ไผ่ จากนั้นก็นำมาหลามกับไฟจนข้าวเหนียวในกระบอกสุกส่งกลิ่นหอมเย้ายวนน้ำลาย ทานร้อนๆ ตอนอากาศเย็นๆ ก็ฟินไปอีกแบบกันเลยทีเดียวค่ะ ส่วนผสมและขั้นตอนเป็นอย่างไร ไปดูกันเลยค่ะ

ส่วนผสม

1.ข้าวสารเหนียว 1/2 ลิตร

2.น้ำตาลทราย 400 กรัม

3.กะทิ 3 ถ้วย

4.ถั่วดำถั่วดำต้มสุก 2 ถ้วย

5.เกลือป่น 2 ช้อนโต๊ะ

6.ไผ่ข้าวหลาม 12 กระบอก

7.กาบมะพร้าว 12 ชิ้น

วัสดุอุปกณ์

1.ไม้ไผ่อ่อน

2.มีดปลอกข้าวหลาม

3.ราวเหล็ก

4.ถ่าน 5 กิโลกรัม

5.ช้อน

6.หม้อ

7.ไม้คีบถ่าน

ขั้นตอนและวิธีการทำ

1.ตัดไผ่ข้าวหลามให้ยาวประมาณ 12 นิ้ว ล้างเฉพาะด้านนอกกระบอก ให้สะอาด คว่ำกระบอกลง พักไว้ให้แห้ง

2.ผสมกะทิ น้ำตาล และเกลือ รวมกันแล้วคนให้เข้ากันจนน้ำตาลละลาย

3.ล้างข้าวสารให้สะอาดจนกระทั่งน้ำใส นำข้าวใส่ตะกร้าเพื่อให้สะเด็ดน้ำ ใส่ถั่วดำต้มสุกลงในข้าว คลุกเคล้าให้เข้ากัน

4.นำข้าวที่ผสมถั่วดำแล้วใส่ลงในกระบอก 1 กำมือ กระแทกเบาๆ ทำสลับกันต่อไปเรื่อยๆ จนเต็มกระบอก เลือกด้านบนกระบอกไว้ประมาณ 2 นิ้ว สำหรับปิดจุก

5.นำกาบมะพร้าวม้วนมาปิดกระบอกข้าวหลาม

6.เผาข้าวหลามพอประมาณ 30-45 นาที สังเกตกระบอกมีสีเหลืองทั่ว แสดงว่าข้าวหลามสุก

7.ทิ้งไว้ให้อุ่น ปอกเปลือก และเหลาให้เปลือกข้าวหลามบางลง เพื่อให้แกะรับประทานได้ง่าย

วิธีการย่างไฟ

1.ติดไฟเตา เมื่อไฟติดได้ที่แล้ว จึงนำกระบอกข้าวหลามที่เตรียมไว้มาวางเรียงในลักษณะตั้งเอนขึ้นให้พิงกับแนวหลักที่ทำจากท่อนเหล็ก

2.ควรพลิกข้าวหลามอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ข้าวหลามสุกอย่างทั่วถึง และไม่ให้ข้าวหลามไหม้บริเวณใดบริเวณหนึ่ง

3.หากกะทิเดือดมาก ต้องคอยดึงจุกข้าวหลามออก แล้วเทกะทิใส่เข้าไปใหม่

4.การย่างข้าวหลามจะต้องอาศัยระยะเวลาในการย่างถึง 1 ชั่วโมง ข้าวหลามจึงจะออกมาดูน่ารับประทาน

วิธีการทำอาจจะดูเยอะและยุ่งยากหน่อย สำหรับใครไม่สะดวกทำทานเองสามารถมาอุดหนุนคุณยายได้ที่ บ้านหนองข่า ตำบลเสม็ด อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ รับประกันความอร่อยกันไปเลยค่ะ

ผู้เขียนบทความ นางสาวเจษฎากร ใยทา
ประเภทบัณฑิตจบใหม่
หลักสูตร SC07

อื่นๆ

เมนู