ข้าพเจ้า นางสาวนาฎลัดา ธุระเสร็จ ผู้รับจ้างงานตามโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) ประเภท บัณฑิตจบใหม่ หลักสูตรsc07 ต.เสม็ด อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ ในเดือนพฤศจิกายน 2564 ได้มีโอกาสเข้าร่วมประเพณีกวนข้าวทิพย์ ณ วัดเขากระโดง ต.เสม็ด อ.เมือง จ.บุรีรัมย์

พิธีกวนข้าวทิพย์ ได้ยึดถือปฏิบัติเป็นประเพณีสืบต่อกันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ในหมู่ของชาวพุทธทั่วไป เพื่อระลึกถึงสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและเหตุการณ์ที่นางสุชาดาได้กวนข้าวทิพย์ในวันขึ้น ๑๔ ค่ำ แล้วนำไปถวายพระพุทธเจ้าก่อนที่จะตรัสรู้ ๑ วัน โดยถือว่ามีผลานิสงฆ์มาก ด้วยเหตุนี้ชาวพุทธจึงพร้อมใจกันกวนข้าวทิพย์ เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา เทิดทูนพระเกียรติคุณด้วยความกตัญญูกตเวทิตาธรรม ข้าวทิพย์มธุปายาสนี้เชื่อกันว่า เมื่อทำครบถ้วนตามพิธีแล้ว จะเป็นสิริมงคลแด่ผู้ทำและผู้บริโภค สมควรจะเซ่นสรวงเทพารักษ์ ผู้ที่ได้บริโภคข้าวทิพย์แล้ว จะประสบโชคลาภต่างๆ นานา ปราศจากโรคาพยาธิ ภัยพิบัติ ประสบสิ่งที่เป็นมงคล


ขั้นตอนการดำเนินการกวนข้าวทิพย์

ช่วงเช้าชาวบ้านมาร่วมทําบุญตักบาตรที่ศาลาวัด หลังจากนั้นจึงมาเริ่มพิธีกวนข้าวทิพย์ โดยมีรายละเอียดขั้นตอนดังนี้
๑.นําเครื่องปรุงเตรียมไว้ทุกอย่างเทใส่กระทะใบบัวคนให้เข้ากัน ไม่มีสูตรในการกําหนดอัตราส่วนของเครื่องที่แน่นอน จํานวนข้าวทิพย์จะมากน้อยขึ้นอยู่กับวัตถุดิบที่มี  แต่ละที่รสชาติจะไม่เหมือนกัน
๒. ก่อนเริ่มกวนข้าวทิพย์พระสงฆ์จะประกอบพิธีกรรมทางศาสนา โดยพระสงฆ์จะเป็นผู้ทําพิธีบูชาพระรัตนตรัยจากนั้นสวดเจริญพระพุทธมนต์ธัมมจักรกัปปวัตนสูตร
๓. สาวพรหมจรรย์ จำนวน ๔ – ๕ คนนุ่งขาวห่มขาว เริ่มกวนข้าวทิพย์ เมื่อพระสงฆ์ เจริญพระพุทธมนตร์จบให้ประชาชนที่มาร่วมกิจกรรมเป็นผู้กวนต่อไปจนกว่าจะเสร็จ ใช้เวลากวนประมาณ ๓ ชั่วโมงเมื่อเสร็จแล้ว ก็จะแบ่งปันข้าวทิพย์หรือข้าวมธุปายาส ไปรับประทาน ถือว่าเป็นของดี ก่อให้เกิดความเป็นสิริมงคลแก่ตน และนําไปฝากบุคคลในครอบครัว หรือผู้ที่ตนเคารพนับถือ ก่อนกลับบ้านทุกคนช่วยกันเก็บอุปกรณ์ ล้างทําความสะอาด จัดเก็บสถานที่ให้เรียบร้อย ซึ่งสะท้อนให้เห็นความรัก ความสามัคคีในหมู่คณะชาวบ้าน ซึ่งน่าจะต้องร่วมกันอนุรักษ์ สืบทอดประเพณีอันทรงคุณค่าให้แก่คนรุ่นหลังต่อไป

ประเพณีกวนข้าวทิพย์จะสำเร็จได้ต้องอาศัยความศรัทธาความเชื่อที่ยังมีอยู่ของประชาชนทั่วไป และผู้นำในชุมชนที่จะร่วมมือกันอนุรักษ์ประเพณีนี้ไว้ เพราะต้องใช้ความร่วมมือร่วมใจของประชาชนจำนวนมาก ในการเตรียมการ การจัดหาอุปกรณ์ในการกวน แรงงานในการกวน และการเตรียมการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเงินที่ใช้ในการจัดซื้อจัดหาสิ่งของต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก

ผู้เขียนบทความ นางสาวนาฎลัดดา ธุระเสร็จ

ประเภทบัณฑิตจบใหม่

ตำบล เสม็ด อำเภอ เมือง จังหวัด บุรีรัมย์

อื่นๆ

เมนู