ข้าพเจ้า นางสาวนาฎลัดา ธุระเสร็จ ผู้รับจ้างงานตามโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) ประเภท บัณฑิตจบใหม่ หลักสูตรsc07 ต.เสม็ด อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ ในเดือนธันวาคม 2564
ก่อนที่จะเป็นวนอุทยานเขากระโดง เดิมทีชาวบ้านเรียกที่แห่งนี้เป็นภาษาเขมรว่า ”พนมกระดอ” แปลว่า ภูเขากระดองเพราะมีรูปร่างคล้ายกระดองเต่านานเข้าจึงเพี้ยนเป็น กระโดง ต่อมาจังหวัดบุรีรัมย์ได้เสนอกรมป่าไม้ให้จัดตั้งเป็นเขากระโดงเป็นวันนะอุทยานประกาศเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2521 หลังจากนั้นกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กำหนดให้เขากระโดงเป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่าเพื่อปกป้องการล่าสัตว์ป่า มีเนื้อที่ทั้งหมด 1450 ไร่สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูงและเนินเขาสองลูกแฝดคือเขาน้อยหรือเขากระโดงและเขาใหญ่สภาพป่าเป็นป่าเต็งรังมีพันธุ์พืชผักเห็ดหลากหลายนกน้ำและนกปากกว่า 125 ชนิดสัตว์ที่พบเห็นได้บ่อย กระรอกบินจิ๋วท้องขาว กระรอกหลากสี กระต่ายป่า
จุดเช็คอิน 1.ไหว้พระประจำเมือง พระสุภัทรบพิตร เป็นพระพุทธรูปคู่เมืองบุรีรัมย์ ภายในเศียรบรรจุพระธาตุ มีฉัตรกลางแจ้งที่ใหญ่ที่สุดในโลก ประดิษฐานอยู่บนเขากระโดงหันหน้าไปทางทิศเหนือ จากที่ตั้งของพระองค์สามารถมองเห็นทัศนียภาพของตัวเมืองบุรีรัมย์ได้นักท่องเที่ยวสามารถขึ้นมากราบไหว้บูชาขอพรได้
2.เดินข้ามสะพานแขวนปากปล่อง ลงมีเนื้อที่ราว 80 ไร่ อายุราว600,000 ถึง 900,000 ปีสูงจากระดับน้ำทะเล 265 เมตรซากปากปล่องพังทลายเป็นรูปพระจันทร์ครึ่งเสี้ยวไหลลอดสะพานแขวน คล้องรักกุญแจใจสะพานแขวนลาวา มักจะมีการจัดงานบริเวณนี้ เช่น “เทศกาลภูเขาไฟ สัมผัสลมหนาวคืนเดือนหงาย” BURIRAM VOLCANO FESTIVAL “ความลับของภูเขาไฟทั้ง 6” ซึ่งจะนำเรื่องราว เรื่องเล่า ทางภูมิศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ รวมไปถึงตำนานความเชื่อ ของจังหวัดบุรีรัมย์ ในฐานะเป็นเมืองที่มีภูเขาไฟที่ดับแล้วมากที่สุด ในประเทศไทย มาบอกเล่าให้กับผู้เข้ามาเยี่ยมชมงานได้ชม ผ่านรูปแบบของนิทรรศการ และการแสดงแสงสีเสียง
ขอบคุณรูปภาพจากเพจFacebook บุรีรัมย์ ไปไหนดี?
ผู้เขียนบทความ นางสาวนาฎลัดดา ธุระเสร็จ
ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ตำบล เสม็ด อำเภอ เมือง จังหวัด บุรีรัมย์