โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ
บทความประจำเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2564
ตามที่เกิดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) ทำให้เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจของประเทศ ประชาชนว่างงานและบัณฑิตจบใหม่ไม่สามารถหางานทำได้ ส่งผลให้เกิดปัญหาทางสังคมตามมา นโยบายการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมของประเทศจึงมุ่งเน้นที่การฟื้นฟูเศรษฐกิจในระดับชุมชน ทั้งการสร้างงาน การพัฒนาอาชีพในชุมชน เพื่อให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ภายใต้ “พ.ร.ก. ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019” ลงไปพื้นที่หรือชุมชน ซึ่งมหาวิทยาลัยของรัฐกว่า 80 แห่งที่กระจายอยู่ตามภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศ โดยที่มหาวิทยาลัยในพื้นที่สามารถใช้องค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่มีอยู่ทำงานประสานและร่วมงานกับจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานอื่น ๆ เพื่อให้การทำงานบูรณาการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลที่สามารถนำไปสู่การลดความยากจนอย่างมีเป้าหมายชัดเจน
โดยตั้งแต่เริ่มโครงการในตำบลเสม็ด อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ได้ลงพื้นที่จัดกิจกรรม 1) กิจกรรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์และเครื่องมือในการป้องกันการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่าในชุมชน
2) กิจกรรมร่วมบริจาคสิ่งของให้กับโรงพยาบาลสนาม
3) กิจกรรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ปลาส้มเพื่อเพิ่มมูลค่าสู่การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน การยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ การรับรองมาตรฐาน (อย./มผช.) และการพัฒนาบรรจุภัณฑ์
4) กิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพโดยใช้กิจกรรมทางกายแบบองค์รวมเพื่อหนุนเสริมคุณภาพชีวิตคนในตำบล
5) กิจกรรมจิตอาสาที่ส่งเสริมความรักชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์ร่วมกับชุมชนในการทำความดีเพื่อพัฒนาสิ่งแวดล้อมชุมชน
6) กิจกรรมการยกระดับการท่องเที่ยวและนักสื่อความหมายของผลิตภัณฑ์
7) การเสริมสร้างอาชีพในชุมชนและทักษะการทำตลาดออนไลน์
8) การหนุนเสริมการนำทรัพยากรในชุมชนให้เกิดประโยชน์สูงสุด (การทำปุ๋ยชีวภาพ/การทำปุ๋ยอินทรีย์จากขยะครัวเรือน)
จากการดำเนินงานถือว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก ได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน มีการพัฒนาอาชีพและสร้างอาชีพใหม่ในระดับตำบล ไม่ว่าจะเป็นด้านสินค้าประจำตำบล (ปลาส้ม) หรือในด้านการท่องเที่ยวก็ได้รับการพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้นจนเป็นที่น่าพอใจ ซึ่งถือว่าเป็นการสร้างรากแก้วที่สำคัญในการพัฒนา แม้ว่าโครงการนี้จะเป็นโครงการเกิดใหม่ที่ดำเนินการมาในระยะเวลาไม่นาน แต่จากความสำเร็จที่เกิดขึ้นก็เป็นสัญญาณที่ดีในการที่จะเดินหน้าเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างความแข็งแกร่งให้เศรษฐกิจและประเทศไทยต่อไป
ผู้เขียนบทความ
นายภัทรวิทย์ ปรุงเรณู
ประเภท ประชาชน
SC-07 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์
ตำบลเสม็ด อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์
ลิ้งค์วีดีโอประจำเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2564