โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ

บทความประจำเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2564

                การผลิตปลาส้มเป็นการถนอมอาหารจากภูมิปัญญาพื้นบ้านที่สืบทอดกันมายาวนานโดยมีถิ่นผลิตดั้งเดิมในภาคอีสานของไทย ซึ่งปัจจุบันแพร่กระจายในทุกภาคและต่างมีสูตรที่แตกต่างกัน โดยปลาที่นิยมใช้ทำปลาส้ม ได้แก่ ปลาตะเพียน ปลานวลจันทร์  ปลายี่สก  ปลาเทโพ  ปลาสร้อย  ปลากรายและปลาจีน สำหรับปลาส้มของชาวบ้านในตำบลเสม็ด อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ สามารถผลิตออกจำหน่ายเป็นล่ำเป็นสัน อีกทั้งยังเป็นการสร้างเอกลักษณ์และสินค้าของฝาก สมควรที่จะได้ช่วยกันส่งเสริมให้การผลิตสินค้าดังกล่าวได้แพร่หลายออกไป ให้เป็นที่ยอมรับอย่างแพร่หลายและสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ชุมชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ จึงทำให้เกิดการอบรมส่งเสริมสร้างมูลค่าของผลิตภัณฑ์ให้สูงขึ้นจากโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ โดยมีอาจารย์ ดร.กุลธิดา ธรรมรัตน์ ประธานหลักสูตร และได้รับเกียรติจากท่านวิทยากรคุณภัทรานิษฐ์ กุลพิเชษฐ์วณิช เจ้าของแบรนด์เธอแองมาให้แนวคิดและวิธีการขอมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) ให้ได้รับการรับรองและแสดงเครื่องหมาย โดยสรุปขั้นตอนง่ายๆ ดังนี้

               ขั้นตอนแรกเตรียมเอกสาร โดยขอรับแบบคําขอและข้อแนะนําในการกรอกคําขอจากเจ้าหน้าที่พร้อมแนบหลักฐานเอกสารที่เกี่ยวข้อง ยื่นคําขอที่ สมอ./สอจ. 2) นัดหมายจากเจ้าหน้าที่เพื่อตรวจสถานที่ และต้องจัดเตรียมตัวอย่างเพื่อรับการตรวจประเมินสถานที่ผลิต 3) ประเมินผลทดสอบรอรับแจ้งผลทดสอบ (กรณีผลไม่ผ่านให้ปรับปรุงคุณภาพ ผลิตภัณฑ์และยื่นคําขอใหม่ กรณีผลผ่าน รอรับแจ้งการรับใบรับรอง ส่วนประโยชน์ที่ได้รับจากการขอมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน 1) ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ชุมชน มีความเข้าใจและมีความรู้ในการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ 2) สินค้าที่มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น 3) สินค้าเป็นที่น่าเชื่อถือและเป็นที่ต้องการของตลาด 4) สามารถนําผลิตภัณฑ์เข้าคัดสรร OTOP Product Champion (ระดับดาว)  และ 5) ได้รับการสนับสนุนเพื่อการพัฒนาที่เหมาะสมจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

 

ภาพประกอบกิจกรรม

 

               เมื่อเรามีสินค้าที่ดี เราจะทำอย่างไรให้คนที่ไม่เคยรู้จักอยากซื้อสินค้าของเรา ซึ่งเราสามารถสร้างความน่าเชื่อถือได้ไม่ยาก โดยการขอมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน พร้อมทั้งบอกเล่าเรื่องราวผ่านโลกโซเชียลที่จะเป็นการสร้างแรงจูงใจและชักชวนให้คนอื่นเข้ามาซื้อสินค้า 

ผู้เขียนบทความ

นายภัทรวิทย์ ปรุงเรณู

ประเภท ประชาชน

SC-07 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์

ตำบลเสม็ด อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์

ลิ้งค์วีดีโอประจำเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2564

อื่นๆ

เมนู