โครงการยกระดับเศรษฐกิจ และสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย)

 ตำบลเสม็ด อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

ข้าพเจ้า นางสาวเสาวลักษณ์ สารคำ ผู้ปฏิบัติงานประเภท : นักศึกษา หลักสูตร : SC-07

ไม่มีคำอธิบาย

เดือนมิถุนายน 2564 เป็นเดือนที่สี่ของการทำกิจกรรมในโครงการ     ยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบล แบบบูรณาการ     (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ) ของ ต.เสม็ด อ.เมือง จ.บุรีรัมย์

บุรีรัมย์ แปดกลุ่มเสี่ยงแห่ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด เชื่อดีกว่าไม่ฉีด  พ่อค้าแม่ค้า พนักงานขาย พนักงานห้าง ร้านสะดวกซื้อ พนักงานส่งอาหาร พนักงานโรงแรม รวม 8 กลุ่ม แห่ไปฉีดวัคซีนป้องกันโรค covid -19 หลังผู้ว่าฯแนะนำ ผู้รับวัคซีนมั่นใจ “ฉีดดีกว่าไม่ฉีด”

เนื่องจากในอดีตประเทศไทยมีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อต่าง ๆ ที่ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมากแต่ปัจจุบันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 มีความแตกต่างจากโรคระบาดในอดีต เนื่องจากในอดีตประเทศไทยยังไม่มีการฉีดวัคซีนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน ในขณะนี้ การระบาดของโรคโควิด-19 มีวัคซีนที่ช่วยลดความรุนแรงจากการติดเชื้อ ดังนั้น หากประชาชนส่วนใหญ่เข้ารับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19จะลดความเสียหายและผลกระทบที่รุนแรง เช่น

  1. ลดการแพร่กระจายของเชื้อโรคโควิด-19
  2. ลดความรุนแรงของโรค ลดการครองเตียงในโรงพยาบาล
  3. ลดอัตราการเสียชีวิต

เปิดรูปภาพ

การฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19เป็นวิธีแก้ปัญหาที่ดีที่สุด

  1. สร้างภูมิต้านทานแก่ร่างกาย ทำให้มีภูมิคุ้มกันเหมือนผู้ป่วยที่เคยเป็นโรคโควิด-19
  2. มีภูมิคุ้มกันหมู่จะทำให้การแพร่ระบาดของโรคสงบลง
  3. เมื่อควบคุมการแพร่ระบาดได้การใช้ชีวิตประจำวันจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ เช่น การไปโรงเรียนการท่องเที่ยว

การฉีดวัคซีนโรคโควิด-19 สามารถควบคุมการแพร่ระบาดของโรคและยุติวิกฤตการณ์ครั้งนี้ให้กลับสู่สภาวะปกติได้

ไม่มีคำอธิบาย

ผู้เขียนบทความ นางสาวเสาวลักษณ์ สารคำ

ประเภท นักศึกษา

SC-07 คณะวิทยาศาสตร์

ตำบลเสม็ด อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์

 

 

อื่นๆ

เมนู