โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1ตำบล 1 มหาวิทยาลัย)
ออกสำรวจชุมชนเพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ของชุมชนจากคณะทำงานมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
ข้าพเจ้า นางสาวนีรนุช อินทรนิท ประเภท ประชาชน หลักสูตร SC-07
ได้ลงพื้นที่ หมู่ที่ 1 หมู่ที่ 2 หมู่ที่ 7 หมู่ที่ 8 หมู่ที่ 10 หมู่ที่19 ตำบลเสม็ด อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบรีรัมย์
ผลิตภัณฑ์ ของชุมชนที่พบเจอ มีหลากหลายอาชีพ เช่น
– ปลูกผักสวนครัว ขายในตลาดชุมชนหรือตลาดในตัวเมือง
– การทำปลาสัมส่งขายตลาด หรือส่งออกนอกจังหวัด
– การทำพรมเช็ดเท้า มีพ่อค้าคนกลางมารับไปขาย
จากที่ข้าพเจ้าได้ทำการสอบถาม 4-5 กลุ่ม คนที่ทำปลาสัม จะทำปลาตามที่ลูกค้าสั่ง จะทำในจำนวนที่ไม่มากจนเกินไป เพราะ ถ้าทำมากเกินไป อาจจะขายไม่หมด หรือทานไม่ทัน อาจจะทำให้เสียได้ เพราะปลาสัม จะมีเวลาในการเก็บ
เพราะวิธีการทำต้องใช้เวลาในการหมัก 2-3 วัน หรือตามสภาพอากาศ ดังนั้นจะเก็บไว้นานไม่ได้
แต่ละกลุ่ม จะมีวิธีการทำไม่แตกต่างกันมากหนัก แต่จะมีสูตรเป็นของตัวเอง และต้องหาตลาดเอง เพื่อที่จะได้นำปลาสัมไปขายหรือส่งออกต่างจังหวัดที่ไม่ซ้ำกัน และได้ราคาหรือกลุ่มลูกค้าเพิ่มขึ้น
ข้อมูลที่ได้รับมา ได้นำมาวิเคราะห์ในส่วนที่พบเจอมา เช่น ปัญหา อุปสรรค และแนวทางในการแก้ไขปัญหาต่างๆ
ได้นำมาวิเคราะห์ ในวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ.2564 ในการลงประชาคม ร่วมกับผู้นำชุมชน หาแนวทางแก้ปัญหาร่วมกัน คือ SWOT
จุดแข็ง = มีอ่างเก็บน้ำห้วยตลาด, ห้วยจระเข้,สวนสุขภาพ,ปลาสัม ,พรมเช็ดเท้า,ทอผ้า เป็นต้น
จุดอ่อน= หาตลาดของปลาสัมเอง ไม่สามารถใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำได้
โอกาส =ได้รับโอกาสสนับสนุนจาก (อบต) มีแหล่งน้ำไว้ใช้ตลอดปี
อุปสรรค= มีน้ำประปาใช้ไม่ครบซอย ขาดความร่วมมือจากประชาชนส่วนใหญ่
พร้อมสรุปความต้องการของประชาชนในชุมชนนั้นๆ ให้ได้ข้อมูลในเชิงลึก และเป็นจริงให้มากที่สุด