โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1ตำบล 1 มหาวิทยาลัย)
ข้าพเจ้า นางสาวนีรนุช อินทรนิท ประเภท ประชาชน หลักสูตร SC-07
ได้ลงพื้นที่ หมู่ที่ 1 หมู่ที่ 2 หมู่ที่ 7 หมู่ที่ 8 หมู่ที่ 10 หมู่ที่19 ตำบลเสม็ด อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบรีรัมย์
ข้าพเจ้าได้มีโอกาสได้ลงพื่นที่หลายครั้ง ได้พบเห็นสิ่งใหม่ๆหลายอย่าง เช่น วิธีการทำปลาสัม การทำพรมเช็ด การทำไข่เค็ม และมีสถานที่สำคัญหลายแห่ง เช่น อ่างเก็บน้ำ วัด โรงเรียน เป็นต้น โรงเรียนก็ถือเป็นสถานที่สำคัญแห่งหนึ่ง เพราะเป็นสถานที่เล่าเรียนของเด็กๆในชุมชนบ้านเสม็ด ให้มีความรู้ ความคิด ความสามารถ ในการแยกแยะผิดถูกได้ ในอนาคตเด็กๆๆ อาจจะนำความรู้มาพัฒนาหมู่บ้าน อาชีพ ผลิตภัณฑ์ ที่มีอยู่แล้วให้ดียิ่งขึ้น
โรงเรียนบ้านเสม็ดโคกตาล เป็นโรงเรียนชุมชนแห่งเดียว ของ ชุมชนบ้านเสม็ด หมู่ที่ 1,2,7,8,19 ที่จะส่งบุตรหลานมาเล่าเรียน เพราะเป็นโรงเรียนใกล้บ้าน ประหยัดค่าใช้จ่าย สะดวกต่อกันมารับมาส่ง
ปัจจุบันมี นายสุพรมแดน ประทุมเมศ เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน
ข้อมูลพื้นฐาน โรงเรียนบ้านเสม็ดโคกตาล
รหัสโรงเรียน 10 หลัก : 1031260059
รหัส Smis 8 หลัก : 31010076
รหัส Obec 6 หลัก : 260059
ชื่อสถานศึกษา(ไทย) : บ้านเสม็ดโคกตาล
ชื่อสถานศึกษา(อังกฤษ) : samedkokthan
ที่อยู่ : หมู่ที่ 1 บ้านบ้านโคกกลาง
ตำบล : เสม็ด
อำเภอ : เมืองบุรีรัมย์
จังหวัด : บุรีรัมย์
รหัสไปรษณีย์ : 31000
โทรศัพท์ : 044630346
ระดับที่เปิดสอน อนุบาล-มัธยมศึกษาตอนต้น
วัน-เดือน-ปี ก่อตั้ง : 19 กันยายน 2477
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น : เสม็ด
เปิดสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาลปีที่ 1 ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีนักเรียนในเขตบริการมาเรียนหลายหมู่บ้าน เป็นบุตรหลานในชุมชน คือ บ้านเสม็ด บ้านโคกเพชร บ้านหนองข่า บ้านโนนพลอย และ บ้านโคกตาล ในระแวกใกล้เคียง
ปัจจุบัน โรงเรียนมีอาคารเรียน 5 หลัง โรงฝึกงาน 1 หลัง อาคารอเนกประสงค์ 1 หลัง ห้องส้วม 5 หลัง
เป็นโรงเรียนดีประจำตำบล
มุ่งเน้นการพัฒนาโรงเรียนและนักเรียนให้มีคุณภาพ และได้ตามมาตรฐาน เพื่อสร้างโอกาสให้กับนักเรียนในพื้นที่ ให้ได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่ เกิดความเท่าเทียมกัน
ช่วงนี้อยู่ในช่วงปิดเทอม โรงเรียนจึงมีการปรับปรุงอาคารเรียนใหม่ แทนอาคารหลังเก่า ที่ผุพังไปตามระยะเวลาและสภาพการใช้งาน
ข้อมูลที่ได้รับมา ได้นำมาวิเคราะห์ในส่วนที่พบเจอมา เช่น ปัญหา อุปสรรค และแนวทางในการแก้ไขปัญหาต่างๆ พร้อมกับความต้องการของประชาชนในครัวเรือนนั้นๆ ให้ได้ข้อมูลในเชิงลึก และเป็นจริงให้มากที่สุด