โครงการยกระดับเศรษฐกิจ และสังคมรายตำบลแบบ

บูรณาการ (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย)

 ตำบลเสม็ด อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

ข้าพเจ้า นางสาวจินตพร สุนประโคน ผู้ปฏิบัติงานประเภท : นักศึกษา หลักสูตร : SC-07

กิจกรรมในเดือนตุลาคม ทางอาจารย์ประจำโครงการ และผู้จ้างงานร่วมด้วยนักศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์การกีฬามีการลงพื้นที่ตำบลเสม็ด เพื่ออบรมให้ความรู้แก่ชาวบ้านเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพอย่างไรให้มีสุขภาพที่ดีด้วยตนเอง การมีสุขภาพดีเป็นปรารถนาของคนทุกคน เพราะสุขภาพดีเป็นบ่อเกิดของคุณภาพชีวิตที่ดีของคนเรา การออกกำลังกายเป็นปัจจัยสำคัญปัจจัยหนึ่ง ที่จะทำให้มีสุขภาพร่างกายที่ดี นำไปสู่ชุมชนเข้มแข็ง

ซึ่งก่อนออกกำลังจะมีการตรวจสมรรถภาพทางร่างกายก่อน และมีการวอมร่างกายเบื้องต้น

การออกกำลังกาย หมายถึง การกระทำที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของระบบต่างๆ ภายในร่างกายที่ต้องทำงานหนักเพิ่มมากขึ้น แต่เป็นผลดีต่อสุขภาพร่างกาย นักวิทยาศาสตร์การกีฬาได้จำแนกประเภทของการออกกำลังกายโดยทั่วไปออกเป็น 5 ประเภท คือ

  1. การออกกำลังกายแบบเกร็งกล้ามเนื้ออยู่กับที่ไม่มีการเคลื่อนไหว(Isometric Exercise) จะไม่มีการเคลื่อนที่หรือเคลื่อนไหวร่างกาย เช่น การบีบกำวัตถุ การยืนดันเสาหรือกำแพง เหมาะกับผู้ทำงานนั่งโต๊ะเป็นเวลานาน จนไม่มีเวลาออกกำลังกาย แต่ไม่เหมาะในรายที่เป็นโรคหัวใจหรือโรคความดันโลหิตสูง เพราะจะมีการกลั้นลมหายใจในขณะปฏิบัติ และเป็นการออกกำลังกายที่ไม่ได้ช่วยส่งเสริมสมรรถภาพได้อย่างครบถ้วน โดยทางด้านระบบการหายใจ (Respiratory System) และระบบการไหลเวียนโลหิต (Circulatory System)
  2. การออกกำลังกายแบบมีการยืด– หดของกล้ามเนื้อ (Isotonic Exercise) จะมีการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกายขณะที่ออกกำลัง เช่น การวิดพื้น การยกน้ำหนัก การดึงข้อ จึงเหมาะกับผู้ที่มีความต้องการสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ เช่น นักเพาะกายหรือนักยกน้ำหนัก ส่วนผลของการออกกำลังกายเช่นนี้จะเป็นไปในทางเดียวกันกับชนิดแรก
  3. การออกกำลังกายแบบให้กล้ามเนื้อทำงานเป็นไปอย่างสม่ำเสมอ ตลอดการเคลื่อนไหว(Isokinetic Exercise) เช่น การถีบจักรยานอยู่กับที่ กานขึ้นลงแบบขั้นบันได (Harvard Step Test) หรือการใช้เครื่องมือทางชีวกลศาสตร์ เช่น Cybex, Biodex หรือ Tardmill เหมาะกับการทดสอบสมรรถภาพทางกายของนักกีฬา หรือผู้ที่มีความสมบูรณ์ทางร่างกายเป็นส่วนใหญ่ แต่จะต้องมีความรู้ความชำนาญในการเครื่องมือเป็นอย่างดี เพราะมีโอกาสเกิดอันตรายต่อผู้ออกกำลังกายได้ง่าย ปัจจุบันประเทศไทยยังขาดบุคลากรทางด้านนี้เป็นจำนวนมาก
  4. การออกกำลังกายแบบไม่ต้องใช้ออกซิเจน(Anaerobic Exercise) เช่น วิ่ง 100 เมตร กระโดดสูง พุ่งแหลน ทุ่มน้ำหนัก และขว้างจักร เป็นต้น ส่วนใหญ่แล้วจะปฏิบัติกันในหมู่นักกีฬาทีทำการฝึกซ้อมหรืแข่งขัน จึงไม่เหมาะกับบุคคลธรรมดาทั่วไป

5. การออกกำลังกายแบบใช้ออกซิเจน (Areobic Exercise) คือ ลักษณะของการออกกำลังกายที่มีการหายใจเข้า – ออก ในระหว่างที่มีการเคลื่อนไหว เช่น วิ่งจ๊อกกิ้ง การเดินเร็วหรือการว่ายน้ำ ซึ่งการออกกำลังกายแบบนี้ เป็นที่นิยมอย่างมากในหมู่บ้านของนักออกกำลังกาย และเป็นที่ยอมรับของนักวิทยาศาสตร์การกีฬา ตลอดจนวงการแพทย์ เพราะการออกกำลังกายแบบนี้จะสามารถบ่งบอกถึงสมรรถภาพของบุคคลนั้นๆ ได้เป็นอย่างดี โดยการทำแบบทดสอบได้จากอัตราการเต้นหัวใจหรือความดันโลหิต

ผู้เขียนบทความ นางสาวจินตพร สุนประโคน ประเภท นักศึกษา
หลักสูตร SC-07  ตำบลเสม็ด อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์

ลิงค์วิดีโอ

 

อื่นๆ

เมนู