การเดินทางไปรับวัคซีนโควิด-19 ที่สนามช้างอินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต ต.อิสาณ อ.เมือง จ.บุรีรัมย์

ดิฉัน นางสาวนาฎลัดดา ธุระเสร็จ ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ต.เสม็ด อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ จะมาขอรีวิวการรับบริการฉีดวัคซีน COVID-19 ณ สนามช้างอินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต ต.อิสาณ อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ ที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์ ร่วมโรงพยาบาลบุรีรัมย์ ได้จัดให้มีการฉีดวัคซีนให้กับพี่น้องประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อเป็นการลดความแออัดในโรงพยาบาลบุรีรัมย์

 

การเดินทางไปรับบริการการฉีดวัคซีน COVID-19 ให้ผู้รับบริการมารอคิวก่อนเวลา06.30น. เริ่มแจกบัตรคิวเวลา7.00น. ทำการกรอกข้อมูลในแบบคัดกรอง และใบยินยอมรับบริการการฉีดวัคซีน COVID-19 ก่อนจะมีการลงข้อมูลในระบบและนัดฉีดในวันถัดไป

ก่อนการฉีดวัคซีนต้องมีการเตรียมตัวให้พร้อมเข้ารับการโดย งดออกกำลังกายหนัก งดเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน ชา กาแฟ น้ำอัดลม เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำเปล่าเยอะๆ

*ผู้ที่มีโรคประจำตัวควรปรึกษาแพทย์ก่อนการฉีดวัคซีน

วันที่นัดฉีดวัคซีนให้บริการตั้งแต่08.00-16.00น. โดยนำบัตรคิวและบัตรประชาชนนั่งรอตรวจสอบข้อมูล สิทธิการรักษา เมื่อตรวจสอบสิทธิแล้วเจ้าหน้าที่จะทำการซักประวัติ วัดอุณหภูมิ ค่าออกซิเจนในเลือดและความดันก่อนฉีดวัคซีน เมื่อเสร็จขั้นตอนนี้แล้วเจ้าหน้าที่จะเรียกชื่อเพื่อเดินไปรับวัคซีนมาให้เจ้าหน้าที่ฉีด เมื่อฉีดเสร็จแล้วให้นั่งพักสังเกตอาการ 30นาที พร้อมวัดความดัน ค่าออกซิเจนในเลือด และอุณหภูมิร่างกายทุกๆ 15นาที

อาการข้างเคียงหลังฉีดวัคซีน COVID-19 ที่อาจเกิดขึ้น เช่น  1. อาการไม่รุนแรง สามารถหายได้เองภายใน 3 วัน เป็นอาการทั่วๆ เช่น มีไข้ต่ำๆ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อและข้อ หรือปวด บวม แดง คันหรือซ้ำบริเวณที่ฉีดยา อ่อนเพลีย รู้สึกไม่สบายตัว ปวดศีรษะ คลื่นไส้ หรือมีอาการชาเฉพาะที่ 2. อาการรุนแรง พบได้ไม่บ่อยหรือพบได้น้อย เช่น มีก้อนบริเวณที่ฉีดยา เวียนศีรษะ มึนงง ใจสั่น  ปวดท้อง อาเจียน ความอยากอาหารลดลง เหงื่อออกมากผิดปกติ ต่อมน้ำเหลืองโต ปากเบี้ยว กล้ามเนื้ออ่อนแรง ชักหมดสติ อาการเหมือนเป็นไข้หวัดใหญ่ เช่น มีไข้ ไอ เจ็บคอ น้ำมูกไหล  3. อาการแพ้วัคซีน เช่น มีไข้สูง ปวดศีรษะรุนแรง ความดันตก หลอดลมตีบ หายใจลำบาก มีผื่นขึ้นตามตัว หากพบว่ามีอาการรุนแรง หลังการฉีดวัคซีนควรรีบพบแพทย์ทันที่ พยายามอย่าเกร็งแขนข้างที่ฉีดวัคซีน หรือใช้แขนยกของหนัก อย่างน้อย 2 วัน หากพบอาการผิดปกติที่รุนแรง เช่น ชาครึ่งซีก แขนขาอ่อนแรง ปากเบี้ยว ให้รีบไปพบแพทย์ทันที

หลังจากได้รับวัคซีนเข็มแรกแล้วก็ยังคงต้องเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับฉีดวัคซีนเข็มที่สองกระตุ้น ซึ่งจะช่วยป้องกันการติดเชื้อหรืออาการป่วยรุนแรงได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ส่วนอาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น เป็นเพียงปฏิกิริยาของร่างกายที่มีต่อวัคซีนเท่านั้น และแม้ว่าจะฉีดวัคซีนแล้วก็ยังต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันต่อไปอย่างเคร่งครัด ไม่ว่าจะเป็นการสวมหน้ากากอนามัย เว้นระยะห่าง และล้างมือบ่อยๆ เพื่อไม่ให้เรากลายเป็นผู้แพร่เชื้อแบบไม่มีอาการ ที่อาจจะเป็นต้นเหตุให้ผู้ที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีนหรือผู้ที่มีความเสี่ยงติดเชื้อจากเราได้

อ้างอิง  : https://www.ram-hosp.co.th/news_detail/848

: https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/943303

ผู้เขียนบทความ นาฎลัดดา ธุระเสร็จ

ประเภทบัณฑิตจบใหม่ SC-07 ตำบลเสม็ด อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

 

อื่นๆ

เมนู