นันทวัฒน์ ยารัมย์
พัดใบตาลเมื่อประมาณ 40 กว่าปีผ่านมา วิถีชีวิตของคนในชุมชนชนบทในสมัยก่อนที่นิยมนำวัสดุจากธรรมชาติที่หาได้มาได้ง่ายตามหัวไร่ ปลายนาไม่ต้องซื้อหา นำมาทำเป็นของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันเป็นการประหยัดค่าใช้จ่าย อย่างเช่นใบตาล เป็นวัสดุที่นำมาใช้ประโยชน์ได้หลากหลายชนิด เช่นใช้มุงหลังคากระท่อม ใช้ทำฝากระท่อม หมวก เป็นต้น เนื่องจากใบตาลมีคุณลักษณะของใบยาว หนา เรียบ ลื่น สามารถป้องกันแดดฝนได้เป็นอย่างดีชาวบ้านโนนมะงา เป็นอีกหนึ่งชุมชน ที่มีแนวคิดในการนำใบตาลมาทำเป็นเครื่องใช้ในชีวิติประจำวันเพื่อประหยัดรายจ่าย โดยนำใบตาลทำเป็นพัด เพื่อเป็นอาชีพเสริม เนื่องจากเป็นวัสดุที่หาได้ไม่ยากมีอยู่ในท้องถิ่น จึงได้รวบรวมสมาชิกที่สนใจ มารวมกลุ่มกันทำเป็นอาชีพเสริมอย่างจริงจัง และจัดตั้งเป็นกลุ่มจักสานพัดใบตาล เมื่อวันที่14 สิงหาคม 2548 โดยมีนายสงัด สายกระสุน เป็นประธาน มีสมาชิก 10 คน และได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานเกษตรอำเภอสตึกและสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอสตึก ให้การส่งเสริมสนับสนุนด้านการผลิต การตลาด การจัดการทุน และการบริหารจัดการกลุ่ม และต่อมาได้จดทะเบียนเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ชื่อว่า“กลุ่มวิสหกิจชุมชนพัดใบตาล”
 
           “พัดใบตาล” เป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นอาชีพเสริมรายได้ให้กับชุมชนบ้านโนนมะงา ตำบลสะแก อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ และมีการถ่ายทอดความรู้ในการทำพัดใบตาลไปยังนักเรียน เยาวชน สตรี เพื่อช่วยการสืบสานภูมิปัญญาให้คงอยู่คู่ชุมชนตลอดไป

อื่นๆ

เมนู