“ใส่ปุ๋ยอินทรีย์วันนี้เป็นการสะสมของมีค่าไว้ในวันหน้า”
![]() |
![]() |
ปุ๋ยหมักเป็นปุ๋ยที่รู้จักกันดีในสมัยปู่ย่า ตาทวด เพราะในสมัยนั้นยังไม่มีปุ๋ยวิทยาศาสตร์หรือปุ๋ยเคมี หรืออาจมีแต่ยังไม่มีใครใช้อย่างแพร่และยังไม่เป็นที่ยอมรับกันของบุคคลในสมัยนั้น ดังนั้นชาวนา ชาวสวน ในสมัยนั้นจึงนิยมใช้ปุ๋ยหมักกันอย่างกว้างขวาง เพราะหาหรือทำขึ้นใช้ได้ง่าย และถือกันว่า “ใส่ปุ๋ยหมักวันนี้เป็นการสะสมของมีค่าไว้ในวันหน้า” การใส่ปุ๋ยหมักอินทรีย์นั้นเป็นการสะสมอาหารพืช และบำรุงดินให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของพืชอยู่เสมอ เกษตรกรส่วนใหญ่หันไปนิยมใช้ ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ หรือปุ๋ยเคมีกันหมด และเมื่อไม่นานมานี้เองปรากฏว่าปุ๋ยวิทยาศาสตร์นั้นเมื่อใช้ไปนาน ๆ เข้ามักมีผลทำให้คุณภาพของดินเสื่อมลงประกอบกับปุ๋ยวิทยาศาสตร์มีราคาแพง ขึ้นเรื่อย ๆ การใส่ปุ๋ยวิทยาศาสตร์บางครั้งไม่คุ้มกับทุนที่เสียไป
![]() |
![]() |
วันนี้พวกเราชาว U2T ได้นำทีมชาวบ้าน และนักเรียน โรงเรียนทศพรวิทยา เข้าร่วมอบรมโครงการทำปุ๋ยหมักอินทรีย์ บริเวณค่ายลูกเสือพอเพียง ณ โรงเรียนทศพรวิทยา จำนวน 50 คน จากการอบรมในครั้งนี้ ทราบถึงวิธีการผลิตปุ๋ยหมักอินทรีย์ และน้ำหมักชีวภาพหลากหลายรูปแบบ สำหรับวันนี้ พวกเราชาว U2T จะขอนำเสนอรูปแบบการทำปุ๋ยหมักอินทรีย์ที่ทุกท่านรู้จัก ซึ่งรับรองว่าการทำปุ๋ยหมักอินทรีย์ วิธีนี้ทุกท่านสามารถนำไปปรับใช้ในไร่ในสวน ได้เป็นอย่างดี ที่สำคัญวิธีการทำปุ๋ยอินทรีย์ที่กำลังพูดถึงอยู่นี้ ทำง่าย และไม่ยุ่งยาก และยิ่งไปกว่านั้นคือ วิธีการทำปุ๋ยโดยใช้เศษใบไม้หรือเศษพืชอื่น ๆ ที่พบในบริเวณบ้านเรือนของเราที่มีปริมาณไม่มากนักสามารถนำมาทำประโยชน์เป็นปุ๋ยหมักอินทรีย์หรือปุ๋ยหมักได้อย่างง่าย ซึ่งใบไม้แห้ง มีประโยชน์มาก ใช้จัดการกับเศษอาหารให้ ย่อยสลายไปภายใน 3-5 วัน เพราะใบไม้แห้งสามารถช่วยดูซับกลิ่น และน้ำจากเศษอาหารได้ ทั้งนี้เพราะจุลินทรีย์ในใบไม้แห้งช่วยย่อยเศษอาหาร ทำให้ไม่ส่งกลิ่นเหม็นนั่นเอง
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
ประโยชน์ของปุ๋ยอินทรีย์ จะช่วยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับดินโดยจะเป็นแหล่งแร่ธาตุอาหารที่จะปลดปล่อยออกมาให้แก่ต้นพืชอย่างช้า ๆ และสม่ำเสมอทำให้คุณสมบัติของดินดีขึ้นโดยทำให้ดินอุ้มน้ำหรือดูดความชื้นไว้ให้พืชได้มากขึ้นทำให้ดินมีการระบายน้ำและอากาศถ่ายเทได้ดี
นอกจากจะช่วยเพิ่มปริมาณธาตุอาหารพืชแล้ว ปุ๋ยหมักอินทรีย์ยังมีคุณค่าในแง่ของการปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์อีกหลายๆ อย่างเช่น ช่วยทำให้แร่ธาตุอาหาร พืชทื่มีอยู่ในดินแปรสภาพมาอยู่ในรูปที่พืชสามารถดูดซึมไปใช้ได้ง่ายขึ้น ช่วยดูดซับแร่ธาตุอาหารพืชเอาไว้ไม่ให้ถูกน้ำฝนหรือน้ำชลประทานชะล้าง สูญหายไปได้ง่าย เป็นการช่วยถนอมรักษาแร่ธาตุอาหาร หรือความอุดมสมบูรณ์ ของดินไว้อีกทางหนึ่งเป็นต้น จากคุณสมบัดิ ดังที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่า แม้ปุ๋ยหมัก จะมีปริมาณแร่ธาตุอาหารในปุ๋ยไม่เข้มขันเหมือนปุ๋ยเคมี แด่ก็มีลักษณะ อื่นๆ ที่ช่วยรักษา และปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดินได้เป็นอย่างดี