ทำปุ๋ยอินทรีย์ง่ายๆไม่เปลืองแรง

อภิรดี ชินศิริพันธุ์

ในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2564 พวกเราชาวU2T ชาวบ้าน และนักเรียนโรงเรียนทศพรวิทยา ได้เข้าร่วมจัดกิจกรรมอบรมการทำปุ๋ยอินทรีย์ ณ โรงเรียนทศพรวิทยา  ประจำเดือนธันวาคม พ.ศ.2564
ปุ๋ยหมักเป็นปุ๋ยอินทรีย์อีกชนิดที่ได้จากการหมักวัสดุเหลือทิ้งที่เป็นสารอินทรีย์บางชนิด โดยนำวัสดุเหล่านั้นมากองรวมกัน รดน้ำให้ชื้น ทิ้งไว้ให้เกิดการย่อยสลายโดยกิจกรรมของจุลินทรีย์ จากนั้นจึงนำไปปรับปรุงดิน ซึ่งนอกจากการทำปุ๋ยหมักจากเศษอาหารในครัวเรือนแล้ว ยังมีปุ๋ยหมักจากวัสดุอินทรีย์อื่น ๆ อีกมากมายที่หาได้ง่ายในแต่ละท้องถิ่นให้ลองไปทำกัน ไม่ว่าจะเป็นปุ๋ยหมักจากวัสดุเหลือใช้จากการเพาะเห็ด ปุ๋ยหมักจากชานอ้อย ปุ๋ยหมักจากผักตบชวา ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือน ปุ๋ยหมักปลา น้ำหมักชีวภาพ ฯลฯ

ปุ๋ยมีหลายประเภทที่แบ่งออกตามลักษณะ และคุณสมบัติต่างๆ  ปุ๋ยอินทรีย์ก็เลยมีความหมายตรงตัวว่าเป็นปุ๋ยที่ได้มาจากส่วนประกอบของสิ่งมีชีวิต ไม่ใช่การสังเคราะห์ขึ้นมาเองเหมือนกับปุ๋ยเคมี หากเจาะลึกลงไปอีกหน่อย ปุ๋ยอินทรีย์ก็คือปุ๋ยที่ได้จากการย่อยสลายอินทรียวัตถุต่างๆ เช่น ซากพืช ซากสัตว์ และบรรดาเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ซึ่งผ่านกระบวนการย่อยสลายโดยมีจุลินทรีย์เป็นตัวช่วย จากก้อนใหญ่กลายเป็นก้อนเล็ก จากก้อนเล็กก็ลดลงมาจนเป็นอณูยิบย่อย เราเรียกสิ่งสุดท้ายนี่ว่า ฮิวมัส ซึ่งมีประโยชน์มากต่อพื้นดินและพืชความจริงแล้วปุ๋ยอินทรีย์เกิดขึ้นได้เองตามธรรมชาติ ยกตัวอย่างที่ง่ายที่สุดก็คือ การเอาใบไม้ที่ร่วงลงจากต้นมาถมไว้ที่โคนต้น พอเวลาผ่านไปใบไม้เหล่านี้ก็ย่อยสลายกลายเป็นฮิวมัส และเป็นตัวเพิ่มสารอาหารให้กับต้นไม้ในลักษณะของปุ๋ยอินทรีย์นั่นเอง แต่ระยะเวลาเหล่านี้จะค่อนข้างนาน หากจะใช้วิธีนี้บนพื้นที่เกษตรหลายร้อยไร่ก็คงไม่ไหว ดังนั้นเราจึงมีกระบวนการทำปุ๋ยอินทรีย์ขึ้นมาใช้ได้เอง ด้วยกรรมวิธีต่างๆ เช่น การใช้มูลวัว มูลไก่ มูลค้างคาว ซากพืช ซากสัตว์ ตลอดจนขยะที่ย่อยสลายได้และไม่เป็นมลพิษจากครัวเรือน นำมาสับ บด หมัก บ่ม ร่อน สกัด หรือด้วยวิธีการอื่นๆ เพื่อช่วยให้ชิ้นส่วนขององค์ประกอบเล็กลงและย่อยสลายจนได้แร่ธาตุที่เราต้องการได้เร็วขึ้น แต่ทั้งนี้เราก็สามารถเติมธาตุอาหารต่างๆ ลงไปเพิ่มได้ ถ้าคิดว่าปุ๋ยอินทรีย์ที่จะออกมานั้นยังมีแร่ธาตุไม่เพียงพอ

ปุ๋ยอินทรีย์ที่สลายตัวได้ที่ดีแล้ว เป็นวัสดุที่ค่อนข้างทนทานต่อการย่อยสลายพอสมควร ดังนั้น เมื่อใส่ลงไปในดิน ปุ๋ยอินทรีย์ จึงสลายตัวได้ช้า ไม่รวดเร็ว เหมือนกับการไถกลบเศษพืชโดยตรง ซึ่งก็นับว่าเป็นลักษณะที่ดีอย่างหนึ่งของปุ๋ยอินทรีย์ เพราะทำให้ปุ๋ยอินทรีย์สามารถปรับปรุงดินให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสมต่อ การเจริญเติบโตของพืชได้เป็นระยะเวลานานๆ ปุ๋ยอินทรีย์บางส่วนจะคงทนอยู่ในดินได้นานเป็นปี แต่ก็มีบางส่วนที่ ถูกย่อยสลายไป ในการย่อยสลายนี้จะมีแร่ธาตุอาหารพืชถูกปลดปล่อยออกมาจากปุ๋ยอินทรีย์ให้พืชได้ไช้อยู่เรื่อยๆ แม้ว่าจะเป็นปริมาณที่ไม่มากนัก แต่ก็ถูกปลดปล่อย ออกมาตลอดเวลาและสม่ำเสมอ

 

 

Tags: , ,

อื่นๆ

เมนู