เศษใบไม้สู่ทำปุ๋มหมักชีวภาพ

นัฐฐา กลิ้งรัมย์

       ปุ๋ยหมัก คือ ปุ๋ยอินทรีย์ หรือปุ๋ยธรรมชาติ ชนิดหนึ่งที่ได้มาจากการนำเอาเศษซากพืช เช่น หญ้าแห้ง
มาหมักเป็นปุ๋ยเคมีหรือสารเร่งจุลินทรีย์เมื่อหมักโดยใช้ระยะเวลาหนึ่งแล้ว เศษพืชจะเปลี่ยนสภาพจากของเดิมเป็นผงเปื่อยยุ่ยสีน้ำตาลปนดำนำไปใส่ในไร่นาหรือพืชสวน เช่น ไม้ผล พืชผัก หรือไม้ดอกไม้ประดับได้

แนวทางการทำปุ๋ยหมักจากใบไม้
1. เตรียมวัสดุอุปกรณ์
– เศษใบไม้แห้งโดยเก็บรวบรวมเอาในพื้นที่นั่นเอง สามารถใช้ได้ทั้งแบบที่แห้ง และแบบที่ยังมีความเปียกชื้นอยู่
-น้ำสะอาด
-ภาชนะที่จะใช้ทำปุ๋ยหมัก ถัง กระสอบ กะละมัง ภาชนะที่ใหญ่เพียงพอ หรือทำบนพื้นดินก็ได้ ถ้าทำบนดิน ต้องทำคอกกั้น และใช้แสลนหรือผ้าตาข่ายทำเป็นกำแพงกั้นโดยรอบ
-สารเร่งเชื้อจุลินทรีย์ พด.1 จากกรมพัฒนาที่ดิน (ขอรับฟรี) หรือเชื้ออีเอ็ม ที่มีขายอยู่ในท้องตลาด
2. ขั้นตอนการทำ
-คลุกเคล้าใบไม้แห้ง ปุ๋ยคอก และสารเร่งเชื้อจุลินทรีย์ หรือเชื้ออีเอ็ม ให้เข้าด้วยกันเสียก่อน
-รดน้ำให้มีความชื้นในระดับที่พอดี ไม่เปียกโชกไป ไม่แห้งเกินไป เพื่อสร้างสภาวะที่ดีให้กับจุลินทรีย์                                                   -ต้องทำการพลิกกลับกองปุ๋ยในทุกๆ สัปดาห์ เพื่อเติมออกซิเจนให้กับจุลินทรีย์ เป็นการเร่งให้เกิดการย่อยสลายเร็วขึ้น                       -บรรจุลงในภาชนะที่ใช้หมัก หรือนำไปกองรวมบริเวณที่จัดเอาไว้                                                                                                             -ต้องทำการพลิกกลับกองปุ๋ยในทุกๆ สัปดาห์ เพื่อเติมออกซิเจนให้กับจุลินทรีย์ เป็นการเร่งให้เกิดการย่อยสลายเร็วขึ้น                       -เมื่อพลิกกลับกองปุ๋ยหมักแล้ว ให้รดน้ำเพิ่มเติม โดยรดที่ผิวด้านนอกให้ทั่ว และสังเกตว่า กองปุ๋ยมีความชื้นที่เหมาะสมอยู่เสมอ ทำแบบนี้ซ้ำไปเรื่อยๆ จนกว่าจะครบ 30 วัน ปุ๋ยก็จะพร้อมใช้งาน
3. ขั้นตอนการสังเกตสภาพปุ๋ย
ปุ๋ยหมักที่พร้อมใช้งาน จะมีลักษณะร่วนซุย สีน้ำตาลเข้มหรือดำ มีอุณหภูมิของปุ๋ยใกล้เคียงกันในทุกส่วนของเนื้อปุ๋ย และกลิ่นไม่ฉุนมาก ก็ให้ถือว่าพร้อมใช้งานแล้ว
4. ขั้นตอนการนำปุ๋ยหมักจากใบไม้ไปใช้งาน
ปุ๋ยจะมีความชื้นอยู่ตลอดเวลา ก่อนจะนำไปใช้งาน ต้องเอาไปตากแดด หรือผึ่งลมให้แห้งสนิทเสียก่อน โดยปูผ้าใบแล้ว เทปุ๋ยลงไป ใช้จอบเกลี่ยให้ปุ๋ยกระจายตัวออกเป็นชั้นบางๆ หมั่นมาพลิกกลับให้โดนแดดโดยทั่วกัน ทำแบบนี้ 2 วัน ปุ๋ยจะแห้งสนิท และนำไปใช้งานได้

ถือเป็นการลงทุนน้อย แต่ได้รับผลตอบแทนที่คุ้มค่า หากนำปุ๋ยหมักไปอัดเม็ด เป็นปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ด แล้วบรรจุกระสอบขาย ก็อาจจะเป็นการเพิ่มรายได้อีกทางหนึ่งด้วยก็ได้เช่นกัน

            

       

 

อื่นๆ

เมนู