ปุ๋ยจากขยะมูลฝอย

     ลดน้อยค่าใช้จ่ายของชุมชน

          ประโยชน์มหาศาลบำรุงดิน

                ท้องถิ่นปลอดมลพิษรบกวน

       ข้าพเจ้านายพีระพงษ์ ลาหนองแคนและทีมผู้ปฎิบัติงานU2T ตำบลสตึก อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ ได้ลงพื้นที่ จัดกิจกรรมอบรมหนุนเสริมการนำทรัพยากรในชุมชนให้เกิดประโยชน์สูงสุด ภายใต้กิจกรรมการทำปุ๋ยอินทรีย์จากขยะครัวเรือน และการจัดการของเสียเหลือทิ้งจากภาคการเกษตรเพื่อทำปุ๋ยหมักอินทรีย์ชีวภาพสู่การนำมาใช้ประโยชน์ในชุมชน โรงเรียนทศพรวิทยา ตำบลสตึก อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์

      อย่างที่รู้กันดีว่าตอนนี้ประเทศไทยมีปัญหาเกี่ยวกับปริมาณขยะที่เพิ่มขึ้นและปัญหาการจัดการขยะที่ยังไม่สามารถจะนำมาใช้ในการจัดการขยะที่เกิดขึ้นหลายล้านตันได้ ซึ่งหน่วยงานต่าง ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนจึงได้มีการรณรงค์ให้ทุกคนช่วยลด คัดแยก และแนะนำวิธีการนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์

ทั้งนี้ จากการเก็บรวบรวมข้อมูลของกรมควบคุมมลพิษ พบว่า ในบรรดาขยะมูลฝอยทั้งหมดนั้น ขยะอินทรีย์หรือขยะย่อยสลายถือเป็นประเภทขยะที่มีอยู่มากที่สุด และมีจำนวนเกินครึ่งของจำนวนขยะทั้งหมด ฉะนั้นถ้าหากเราสามารถลดปริมาณขยะประเภทนี้ลงไปได้ ก็จะช่วยลดปริมาณขยะมูลฝอยรวมตามลงไปด้วยเหมือนกัน และหนึ่งในวิธีกำจัดขยะประเภทนี้ก็คือ การนำไปทำเป็นปุ๋ยหมักสำหรับบำรุงดินและปลูกต้นไม้

ทททปุ๋ยหมักเป็นปุ๋ยอินทรีย์ชนิดหนึ่งเกิดขึ้นจากการย่อยสลายของวัสดุหรืออินทรีย์สารที่ได้จากขยะมูลฝอยโดยอาศัยกระบวนการทางชีววิทยาของจุลินทรีย์เป็นตัวย่อยสลายเป็นแร่ธาตุที่มีลักษณะค่อนข้างคงรูปมีสีดำค่อนข้างแห้งและมีคุณค่าที่สามารถใช้ในการปรับปรุงคุณภาพดิน

เมื่อกระบวนการย่อยสลายเสร็จสมบูรณ์จะได้ปุ๋ยหมักใช้ผสมดินปลูกต้นไม้หรือเป็นปุ๋ยเพิ่มธาตุอาหารในดินปัจจุบันผลผลิตที่ได้ใช้กับผักสวนครัวและไม้ดอกไม้ประดับ

    จากรายงานการสรุปสถานการณ์มลพิษของประเทศไทย ปี 2564 โดยกรมควบคุมมลพิษ พบว่า ในปี .. 2564 ปริมาณขยะมูลฝอยในประเทศไทยมีมากถึง 27.93 ล้านตันต่อปี หรือประมาณ 76,529 ตันต่อวัน เพิ่มขึ้นจากปี .. 2560 ประมาณ 2.05% นับว่าเป็นปริมาณที่มากเลยทีเดียว ยิ่งไปกว่านั้นสถานการณ์การจัดการขยะก็ยังไม่ค่อยดีด้วย เพราะถึงแม้อัตราการนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์จะเพิ่มขึ้นจากเดิม 14.69% (ประมาณ9.76 ล้านตันของปริมาณขยะทั้งหมด) แต่อัตราการนำขยะไปกำจัดอย่างถูกต้องกลับลดลงจากเดิมถึง 7.19% (ประมาณ 10.85 ล้านตันของปริมาณขยะทั้งหมด) แถมอัตราการนำขยะไปกำจัดอย่างไม่ถูกต้องก็ยังเพิ่มขึ้นจากเดิมราว 2.09% (ประมาณ 7.32 ล้านตันของปริมาณขยะทั้งหมด) เลยด้วย 

โดยข้อมูลจากกรมควบคุมมลพิษ ระบุว่า มีปริมาณขยะอินทรีย์ หรือขยะย่อยสลาย เป็นประเภทขยะที่มีมากที่สุด มีอัตราส่วนถึง 64% หากกำจัดผิดวิธี หรือกำจัดได้ไม่หมด ก็จะสร้างปัญหาตามมา เช่น น้ำชะขยะปนเปื้อนดิน ส่งกลิ่นเหม็นเน่า ทำลายทัศนียภาพ และก่อให้เกิดความรำคาญใจได้

ฉะนั้นหากสามารถลดปริมาณขยะประเภทนี้ลงไปได้ ก็จะช่วยลดปริมาณขยะมูลฝอยรวมตามลงไปด้วยเหมือนกัน และหนึ่งในวิธีกำจัดขยะประเภทนี้ก็คือ การนำไปทำเป็นปุ๋ยหมักสำหรับบำรุงดินและปลูกต้นไม้ ส่วนเศษขยะชนิดใดนำมาทำปุ๋ยได้บ้าง วิธีการเป็นอย่างไร แล้วมีประโยชน์ต่างจากปุ๋ยเคมีมากน้อยแค่ไหน ตามมาดูกันได้เลย

           ทรัพยากรในชีวิตประจำวันเป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตและตอบสนองความต้องการของมนุษย์ในหลายด้านด้วยกัน เราจึงควรใช้ทรัพยากรอย่างประหยัด เหมาะสม และก่อให้เกิดประโยชน์มากที่สุดจึงจะทำให้เรามีทรัพยากรใช้ต่อไปอย่างต่อเนื่องยาวนาน

อื่นๆ

เมนู