รู้จักปุ๋ยอินทรีย์ ทำเกษตรปลอดสารเคมีอย่างปลอดภัย

 

ดิฉันนางสาวสาวิตรี สีน้ำเงินและทีมผู้ปฎิบัติงานU2T ชาวบ้าน และนักเรียนโรงเรียนทศพรวิทยา ในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2564 ได้เข้าร่วมจัดกิจกรรมอบรมการทำปุ๋ยอินทรีย์ ณ โรงเรียนทศพรวิทยา  ประจำเดือนธันวาคม พ.ศ.2564

ปุ๋ยหมักเป็นปุ๋ยอินทรีย์อีกชนิดที่ได้จากการหมักวัสดุเหลือทิ้งที่เป็นสารอินทรีย์บางชนิด โดยนำวัสดุเหล่านั้นมากองรวมกัน รดน้ำให้ชื้น ทิ้งไว้ให้เกิดการย่อยสลายโดยกิจกรรมของจุลินทรีย์ จากนั้นจึงนำไปปรับปรุงดิน ซึ่งนอกจากการทำปุ๋ยหมักจากเศษอาหารในครัวเรือนแล้ว ยังมีปุ๋ยหมักจากวัสดุอินทรีย์อื่น ๆ อีกมากมายที่หาได้ง่ายในแต่ละท้องถิ่นให้ลองไปทำกัน ไม่ว่าจะเป็นปุ๋ยหมักจากวัสดุเหลือใช้จากการเพาะเห็ด ปุ๋ยหมักจากชานอ้อย ปุ๋ยหมักจากผักตบชวา ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือน ปุ๋ยหมักปลา น้ำหมักชีวภาพ ฯลฯ

การทำปุ๋ยไว้ใช้เองโดยที่ไม่พึ่งพาสารเคมีทำให้เรามั่นใจได้ว่าปุ๋ยที่เราใส่บำรุงพืชผักที่เราปลูกจะปลอดภัยแน่นอน ซึ่งการทำปุ๋ยนี้นอกจากจะได้ปุ๋ยอินทรีย์ที่ปลอดภัยแล้วเรายังสามารถนำมาใช้เป็นกิจกรรมยามว่างร่วมกันภายในครอบครัว หรือ ในชุมชนได้อีกด้วย การทำปุ๋ยโดยมีหลักการคือ เลี้ยงดิน ให้ดินเลี้ยงพืช และ ให้พืชเลี้ยงเรา

ความจริงแล้วปุ๋ยอินทรีย์เกิดขึ้นได้เองตามธรรมชาติ ยกตัวอย่างที่ง่ายที่สุดก็คือ การเอาใบไม้ที่ร่วงลงจากต้นมาถมไว้ที่โคนต้น พอเวลาผ่านไปใบไม้เหล่านี้ก็ย่อยสลายกลายเป็นฮิวมัส และเป็นตัวเพิ่มสารอาหารให้กับต้นไม้ในลักษณะของปุ๋ยอินทรีย์นั่นเอง แต่ระยะเวลาเหล่านี้จะค่อนข้างนาน หากจะใช้วิธีนี้บนพื้นที่เกษตรหลายร้อยไร่ก็คงไม่ไหว ดังนั้นเราจึงมีกระบวนการทำปุ๋ยอินทรีย์ขึ้นมาใช้ได้เอง ด้วยกรรมวิธีต่างๆ เช่น การใช้มูลวัว มูลไก่ มูลค้างคาว ซากพืช ซากสัตว์ ตลอดจนขยะที่ย่อยสลายได้และไม่เป็นมลพิษจากครัวเรือน นำมาสับ บด หมัก บ่ม ร่อน สกัด หรือด้วยวิธีการอื่นๆ เพื่อช่วยให้ชิ้นส่วนขององค์ประกอบเล็กลงและย่อยสลายจนได้แร่ธาตุที่เราต้องการได้เร็วขึ้น แต่ทั้งนี้เราก็สามารถเติมธาตุอาหารต่างๆ ลงไปเพิ่มได้ ถ้าคิดว่าปุ๋ยอินทรีย์ที่จะออกมานั้นยังมีแร่ธาตุไม่เพียงพอ

ข้อดีและข้อเสียของปุ๋ยอินทรีย์

สำหรับหลายคนการใช้ปุ๋ยอินทรีย์นั้นเป็นเรื่องง่าย แต่อีกหลายคนก็ไม่ใช่เรื่องที่สะดวกนัก ปุ๋ยอินทรีย์ถ้าต้องซื้อก็มักจะหาซื้อยากกว่าปุ๋ยเคมี และในบางพื้นที่ก็ดันมีราคาสูงกว่าปุ๋ยเคมีเสียอีก เกษตรกรจำนวนไม่น้อยจึงยังไม่ค่อยอยากเปลี่ยนมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์แทนปุ๋ยเคมี แต่เดี๋ยวเราจะต้องมาดูจุดเด่นจุดด้อยของปุ๋ยอินทรีย์เพื่อชั่งใจกันให้ดีอีกครั้งหนึ่ง

ข้อดี

ปุ๋ยอินทรีย์มีธาตุอาหารรองและธาตุอาหารเสริมที่ปุ๋ยเคมีไม่มี อย่าลืมว่าธาตุทั้งสองกลุ่มนี้ ต่อให้ความต้องการของพืชจะน้อย แต่ก็ไม่สามารถขาดได้อย่างเด็ดขาด

ปุ๋ยอินทรีย์ไม่ทำร้ายผิวดิน ยังคงทำให้ดินมีสภาพเป็นกลางเหมาะสมกับการเพาะปลูกอยู่เสมอ

ปุ๋ยอินทรีย์ช่วยเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อพื้นดินให้มากขึ้นจากเดิม

ปุ๋ยอินทรีย์ช่วยปรับให้หน้าดินร่วนซุยโดยไม่ต้องไถพรวนกันมากนัก ซึ่งนั่นส่งผลดีต่อพืชที่จะลงปลูกด้วย

ข้อเสีย

ปริมาณธาตุอาหารหลักต่ำกว่าปุ๋ยเคมี เพราะปุ๋ยเคมีสามารถอัดระดับแร่ธาตุได้อย่างเต็มที่

ต้นทุนถูกกว่าเพราะไม่ต้องใช้ในปริมาณที่มาก

ไม่สามารถบังคับได้ชัดเจนว่าจะเร่งส่วนไหนของพืช เช่น เร่งใบ เร่งดอก เป็นต้น

ความสำคัญของปุ๋ยอินทรีย์

ปุ๋ยอินทรีย์เป็นปุ๋ยธรรมชาติที่อาจจะหาใช้งานได้ไม่ง่ายนักในบางพื้นที่ แต่มันมีความสำคัญต่อภาคการเกษตรค่อนข้างมาก ยิ่งถ้าต้องการทำการเกษตรแบบยั่งยืน หมายถึง ไม่ต้องฟื้นฟูหน้าดินกันบ่อยๆ ไม่ต้องมีการพักการใช้งานหน้าดินด้วย แบบนี้ก็ต้องนำปุ๋ยอินทรีย์เข้ามาใช้ ถึงจะใช้ไม่ได้ตลอดแต่การสลับใช้กับปุ๋ยเคมีก็ยังให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าการใช้ปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียว ประโยชน์ของการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่น่าสนใจมีดังนี้

 

ปุ๋ยอินทรีย์มีแร่ธาตุเพียงพอต่อการเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์ของพืช อาจจะมองไม่เห็นชัดนักในระยะแรกที่ใช้งาน แต่ในระยะยาวนั้นมีผลมาก ต้นพืชจะค่อยๆ แข็งแรงและเพิ่มผลผลิตขึ้นเป็นหลายเท่าตัว

 

อื่นๆ

เมนู