การตลาดออนไลน์ใกล้ตัวเรา

อภิรดี ชินศิริพันธุ์

การขายสินค้าออนไลน์ ในรูปแบบหนึ่งของการขายของบนอินเทอร์เน็ต เป็นที่นิยมในไทยเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีแนวโน้มที่จะเติบโตสูงขึ้น เพราะตลาดออนไลน์เป็นตลาดที่เปิดกว้าง ใครก็สามารถเปิดร้านค้าออนไลน์ได้อย่างไม่ยุ่งยาก การเปิดร้านค้าออนไลน์จึงได้รับความนิยม จากกลุ่มคนที่ต้องการหารายได้พิเศษ ที่สำคัญคือต้นทุนต่ำ และสามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้อย่างตรงกลุ่ม และรวดเร็ว เรียกได้ว่าสะดวกและประหยัดเวลาสุดๆ สำหรับ Social Media ที่เริ่มมีการเปิดให้ลูกค้าช้อปจบในที่เดียวก็มีทั้ง Facebook, Instagram, นี่เป็นอีกหนึ่งการตลาดออนไลน์ที่คนทำธุรกิจจะต้องจับตามองสำหรับการเริ่มเปิดร้านค้าออนไลน์ให้ประสบความสำเร็จในระยะยาวนั้น คุณต้องมีการเริ่มต้นที่ดีและถูกต้องจึงจะขายของออนไลน์ได้ตามที่หวังไว้ ดังนั้นในปี 2021 นี้เทรนด์ของการทำการตลาดดิจิทัลย่อมมีการเปลี่ยนแปลง (มากกว่าเดิม) แน่นอน ผู้ประกอบการและนักการตลาดทุกท่าน ต้องเริ่มหันมาสนใจกับ “Digital Marketing Trends” มากขึ้นเพื่อทำให้สินค้า แบรนด์หรือธุรกิจของเราอยู่รอดในสถานการณ์โควิด-19 นี้ต่อไป

6 ขั้นตอนที่ควรมี ก่อนเริ่ม ‘ขายของออนไลน์’ ทำตามได้ง่ายๆ

1. Google Trend : Google นั้นเป็นเว็บไซต์ยอดนิยมสำหรับการค้นหาออนไลน์ ทางเว็บไซต์ จึงมีข้อมูลจำนวนมากเกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้บริโภค ซึ่ง Google Trend ก็คือเว็บไซต์สำหรับค้นหาเช่นกัน แต่ผลที่ได้คือข้อมูลทางสถิติ ว่ามีคนค้นหาหัวข้อนั้นๆ ในเว็บไซต์ Google มากน้อยแค่ไหนนั่นเอง นั้นก็จะสามารถรู้ได้ว่าผู้คนกำลังฮิตหรือค้นหาสิ่งใดมากที่สุด

2. ชื่อร้าน : ควรอ่านง่าย คุ้นหู ค้นหาเจอ การตั้งชื่อร้านมีความสำคัญมาก เพราะจะช่วยดึงดูดลูกค้าได้ดี โดยหลักการที่เหมาะในการตั้งชื่อร้านก็คือ ต้องตั้งให้อ่านออกเสียงง่าย จำง่าย มีความเบสิคคุ้นหูคนส่วนใหญ่ และควรสัมพันธ์กับสินค้าที่ขาย สำหรับใครที่คิดจะตั้งชื่อร้าน ด้วยชื่อที่แปลกใหม่ ดูหรู ควรคิดให้ดีก่อนว่าจะทำให้ร้านของคุณรุ่งหรือร่วงกันแน่ เพราะหากชื่อร้านอ่านออกเสียงยากจนเกินไป ก็จะทำให้ลูกค้าไม่จดจำ

3. สินค้า : เป็นที่ต้องการในท้องตลาด พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์หลายคนขายของออนไลน์โดยที่ไม่ได้ศึกษาเลยว่า สินค้าที่ขายนั้นเป็นที่ต้องการของลูกค้าหรือเปล่า จึงไม่น่าแปลกใจที่การขายของจะชะลอตัว เพราะฉะนั้นต้องศึกษาข้อมูลและเลือกสินค้าที่เป็นที่ต้องการในท้องตลาดเท่านั้น

4. เงินทุน : การขายของออนไลน์มีทั้งแบบที่ต้องลงทุนและไม่ต้องลงทุน สำหรับใครที่ต้องการขายของออนไลน์แบบลงทุนด้วยการซื้อสินค้ามาสต็อคโดยตรง รวมถึงการทำโฆษณาเพื่อให้ร้านเป็นที่รู้จักอย่างรวดเร็ว ก็ต้องเช็คเรื่องเงินทุนให้ดี ตั้งแต่ค่าสินค้า ค่าบริการอินเทอร์เน็ต ค่าโฆษณา ค่าเว็บไซต์ในการเปิดร้านหรือค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่สำคัญเงินที่นำมาลงทุนเริ่มต้นควรเป็นเงินของตัวเอง ไม่ใช่เงินกู้ยืม

5. ช่องทางขายสินค้า : สินค้าควรขายในช่องทาง Facebook เช่นการโพสต์ภาพสินค้าไปถึงการไลฟ์สด การเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเราได้มากที่สุด Instagram เป็นอีกช่องทางที่เริ่มนิยมเป็นอันดับถัดมา โดยจะเน้นการขายผ่านรูปภาพ LINE ช่องทางนี้ก็เป็นอีกช่องทางที่น่าสนใจและควรมีแต่ต้องมีฐานของลูกค้าก่อน

6. ช่องทางการชำระเงิน : ควรมีหลากหลายให้ลูกค้าได้เลือก

     

 

Tags: , , ,

อื่นๆ

เมนู