รู้เท่าทันสมัยนำผลิตภัณฑ์จากชุมชนสู่ตลาดออนไลน์
พัฒนาการของเทคโนโลยีดิจิทัลมีอิทธิพลทำให้ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและอินเทอร์เน็ต ก่อให้เกิดแนวทางการตลาดใหม่ ที่มีการผสมผสานระหว่างการตลาดออนไลน์และออฟไลน์ เพื่อทำการตลาดของธุรกิจเชื่อมต่อกับลูกค้า ซึ่งสามารถเข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้น ตอบสนองความต้องการเฉพาะ ของลูกค้าได้ดีมากขึ้น ธุรกิจสามารถสร้างภาพลักษณ์ตราสินค้าผ่านสื่อสังคมออนไลน์หรือ Social media ส่งผลกระทบต่อการเติบโตและประสิทธิภาพของธุรกิจ ผู้บริโภคมีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า ผู้บริโภคจะรวมตัว กันเป็นกลุ่มชุมชนเสมือนด้วยความสมัครใจ เพื่อการสนทนาแลกเปลี่ยนข้อมูลและประสบการณ์ระหว่างกัน ซึ่งการสนทนาและข้อมูลที่แลกเปลี่ยนระหว่างกัน มีอิทธิพลอย่างมากต่อการตัดสินใจซื้อสินค้า และด้วย ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและอินเทอร์เน็ต ส่งผลให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ง่ายขึ้น มุ่งมั่นเสนอคุณค่าและ ความไว้วางใจจากผู้บริโภค โดยใช้เครื่องมือและสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างการตลาดออนไลน์ เพื่อให้ผู้บริโภคเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น และเป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่าง ธุรกิจกับผู้บริโภค
กลยุทธ์การตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์ชุมชนในยุคการตลาดออนไลน์ต้องมุ่งสร้างความสัมพันธ์และความไว้วางใจจากผู้บริโภค มุ่งให้ผู้บริโภคเข้ามามีส่วนร่วมใน การให้ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า สร้างกลุ่มชุมชนเสมือนเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน เพราะมีอิทธิพลอย่างมาก ต่อการตัดสินใจซื้อสินค้า ผลิตภัณฑ์ชุมชนเป็นสินค้าที่ผลิตโดยชุมชนตำบลสตึก อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์คือ การนำภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างผ้าไหมที่มีในท้องถิ่นมาพัฒนาและสร้างเอกลักษณ์เฉพาะ ผลิตภัณฑ์ผ้าไหมทอมือของชุมชนชาวตำบลสตึก จึงเป็นสินค้าที่จะช่วยพัฒนาเศรษฐกิจอย่างแท้จริง แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการชุมชน จะต้องพัฒนาสินค้าให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค ต้องพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีมูลค่าเพิ่ม ทั้งนี้ ยังมีผู้ประกอบการชุมชนหรือวิสาหกิจชุมชนเป็นจำนวนมาก ที่ยังคงประสบปัญหาด้านการตลาด ด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านการออกแบบ การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ และการขยาย ช่องทางการจัดจาหน่ายนั้น ผู้ประกอบการชุมชนส่วนใหญ่ ซึ่งการตลาดหลักที่เหมาะกับช่วงวิกฤตโควิดจึงเป็นการตลาดออนไลน์ จึงจำเป็นที่จะต้องมีการพัฒนาช่องทางการจำหน่ายที่มีความหลากหลาย เช่น ช่องทางขายสินค้าทาง Facebook Instagram และ LINE เช่น การโพสต์รูปภาพ วิดีโอ และการไลฟ์สด การตั้งชื่อร้านที่น่าสนใจและสามารถเข้าถึงสินค้าได้ง่าย
ดังนั้น เพื่อเป็นแนวทางที่จะช่วยให้ผลิตภัณฑ์ชุมชนเป็นฐานรากใน การสร้างรายได้ สร้างอาชีพให้แก่ชุมชน ทางทีม U2T และผู้ปฏิบัติงานของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์จึงมีหน้าที่แนะนำแนวทางปฏิบัติการทางการตลาดให้แก่ผู้ประกอบการชุมชน เพื่อสร้างศักยภาพทางการตลาดที่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ชุมชน เพื่อให้ผู้ประกอบการชุมชน หรือกลุ่มวิสาหกิจชุมชน สามารถนำองค์ความรู้ไปประยุกต์ใช้สาหรับวางแผนพัฒนากลยุทธ์การตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์ชุมชนต่อไป