ขอบคุณภาพจาก : ผู้ใหญ่บ้านสุนทร วงศ์ทอง
“กล้วย” เป็นอาหารของคนไทยที่มีรับประทานกันมาตั้งแต่โบราณ สามารถนำไปปรุงได้ทั้งอาหารคาวและอาหารหวาน หากรับประทานไม่ทันก็นำมาแปรรูปเป็นขนมทานเล่นเพื่อเก็บไว้รับประทานและจำหน่าย และในการการลงพื้นที่สำรวจตามโครงการเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบล ได้รับความอนุเคราะห์จากผู้ใหญ่สุนทร วงศ์ทอง ในการอำนวยความสะดวก และให้ข้อมูลชุมชนอันเป็นประโยชน์แก่โครงการ อีกทั้งชาวบ้านสระกระจายที่ให้ความร่วมมือในการลงพื้นที่สำรวจเป็นอย่างดีทำให้ทราบว่าทางหมู่บ้านนั้นได้มีการร่วมกันจัดทำผลิตภัณฑ์ที่มีชื่อว่า “กล้วยเบรคแตก”
หมู่บ้านสระกระจายเป็นชุมชนขนาดเล็กที่แยกออกมาจากหมู่บ้านหนองเกาะ สภาพแวดล้อมภายในชุมชนสงบ เรียบง่าย ชาวบ้านเป็นมิตร สินค้าที่ทางหมู่บ้านได้ร่วมกันจัดทำได้แก่ กล้วยเบรกแตก แต่ในระยะเวลาที่ลงสำรวจ กิจกรรมดังกล่าวได้ถูกพักไว้ชั่วคราว ทำให้ไม่สามารถเข้าไปเก็บภาพถ่ายได้ด้วยตนเอง แต่จากการสอบถามผู้นำชุมชนจะมีการจัดทำสินค้านี้ขึ้นอีกภายในเดือน มีนาคม 2564 นี้ และวิธีในการจัดทำกลัวเบรกแตกนั้น 6 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 เตรียมกล้วยน้ำว้า ที่สุกงอมแล้วมาตัดแยกออกจากหวี เป็นลูก
ขั้นตอนที่ 2 ปลอกเปลือกกล้วยออกให้หมด
ขอบคุณภาพจาก : ผู้ใหญ่บ้านสุนทร วงศ์ทอง
ขั้นตอนที่ 3 นำที่ฝานกล้วย มาฝานเป็นแผ่นบางๆหรือถ้าใครไม่มีใช้มีด สองคม(มีดปลอกเปลือกผลไม้) มาใช้ได้เช่นกัน
ขอบคุณภาพจาก : ผู้ใหญ่บ้านสุนทร วงศ์ทอง
ขั้นตอนที่ 4 ตั้งกระทะใส่น้ำมัน ใช้ไฟกลางเปิดไว้จนจนน้ำมันร้อนดี เทกล้วยที่ฝานไว้ลงไปในกระทะ ทอดไป เรื่อย ๆ จนกล้วยเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ใช้เวลาประมาณ 20-30 นาที
ขอบคุณภาพจาก : ผู้ใหญ่บ้านสุนทร วงศ์ทอง
ขั้นตอนที่ 5 นำขึ้นจากกระทะ เทใส่ถาดเพื่อให้กล้วยโดนอากาศ จะได้กรอบเร็วขึ้น หากติดกันให้แกะออก ไม่งั้นกล้วยจะเหนียวและหยาบได้
ขอบคุณภาพจาก : ผู้ใหญ่บ้านสุนทร วงศ์ทอง
ขั้นตอนที่ 6 เป็นขั้นตอนสุดท้าย จาดที่พักไว้ดูว่า กล้วยกรอบดีรึยัง จากนั้นให้เทใส่ถุงแล้วปิดให้สนิดห้าม อากาศเข้า
ขอบคุณภาพจาก : ผู้ใหญ่บ้านสุนทร วงศ์ทอง
การจัดจำหน่ายนั้นทางหมู่บ้านจะทำการฝากขายสินค้าตามหน้าร้านต่างๆ และตอนนี้ยังไม่มีการขายสินค้าผ่านทางช่องทางออนไลน์ ซึ่งคาดว่าจะมีการขายผ่านทางช่องทางออนไลน์ในเร็วๆ นี้และนอกจากการผลิตภัณฑ์ “กล้วยเบรคแตก” แล้วหมู่บ้านสระกระจายยังมีสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญได้แก่ วัด, หนองน้ำ และการท่องเที่ยวเชิงเกษตร
SC08 ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง บ้านสวนกวีรัตน์ ต.สตึก อ.สตึก จ.บุรีรัมย์ – YouTube