เส้นใยหนองบัวเจ้าป่า

            นัฐฐา กลิ้งรัมย์

               ผ้าไทยเป็นผลิตภัณฑ์ที่บ่งบอกถึงความรุ่งเรืองของวัฒนธรรมประจำชาติ และความคิดสร้างสรรค์ของคนในชาติในการรู้จักทำเครื่องนุ่งห่มและผลิตภัณฑ์ใช้สอยในชีวิตประจำวันของคนไทย คนไทยรู้จักการทอผ้ามาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์สังคมในชนบทถือว่างานทอผ้าเป็นหน้าที่ของผู้หญิงทำกันในครัวเรือนยามว่างจากการทำไร่ทำนาการทอผ้าจึงมีทั่วไปทุกภาคของประเทศไทยพัฒนาการออกแบบผลิตภัณฑ์ทั้งลวดลายและสีสันของผ้าสืบทอดเป็นเวลาตามจินตนาการของช่างทอ และอิทธิพลจากปัจจัยอื่นๆ ในอดีตนั้น ผ้าจัดเป็นวัสดุหลักในการแต่งกายและเป็นเครื่องบ่งบอกฐานะทางสังคมของผู้แต่งรวมทั้งตำแหน่งและกำหนดชั้นวรรณะของผู้สวมใส่ด้วยเหตุนี้การทอผ้าสำหรับบุคคลที่ใช้จึงมี 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ ประเภทแรก เป็นผ้าทอสำหรับประชาชนทั่วไปซึ่งมีทั้งผ้าที่ใช้สอยในชีวิตประจำวัน และผ้าที่ใช้ในโอกาสพิเศษเกี่ยวเนื่องกับความเชื่อขนบธรรมเนียมประเพณีของกลุ่มชน เช่น  ผ้าสำหรับ นุ่งห่มใช้ในงานทำบุญ งานนักขัตฤกษ์งานเทศกาลหรือพิธีการสำคัญๆประเภทที่สองเป็นผ้าสำหรับชนชั้นสูง เจ้านายและพระมหากษัตริย์ เช่น ผ้าปักโบราณ ประเภทต่างๆและประเภทที่สามเป็นผ้าสำหรับพระภิกษุสงฆ์ และเครื่องใช้ในพระพุทธศาสนา  เช่น  ผ้าห่มคัมภีร์ใบลาน เป็นต้น  ผ้าไทยมีหลายรูปแบบและมีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นในแต่ละภูมิภาคซึ่งมีวิวัฒนาการความเป็นมาหลายยุคหลายสมัย

หมู่บ้าน หนองบัวเจ้าป่า  คือชื่อชุมชนของชาวไทยเชื้อสายลาว ที่ได้ดำเนินการรับผิดชอบในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย การลงพื้นที่ตรวจครั้งนี้ได้รับความอนุเคราะห์จากผู้ใหญ่บ้านหมู่ 5 ในการอำนวยความสะดวกและให้ข้อมูลและประโยชน์ข้อมูลต่างๆ และยังอีกทั้งชาวบ้านยังให้ความรวมมือในการให้ความรู้ต่างๆที่มีในหมู่บ้าน

บ้านหนองบัวเจ้าป่า ตั้งอยู่หมู่ที่5 ตำบลสตึก อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ มีประชากรที่เยอะพอสมควร ชาวบ้านส่วนใหญ่มีรายได้เฉลี่ยอยู่ที่ระดับปานกลาง ประกอบอาชีพ เกษตรกรเป็นหลัก รองลงมาคอรับจ้างในชุมชนของตนเอง และยังมีการทอผ้าเป็นอาชีพเสริมของหมู่บ้านเสริมสร้างรายได้ให้กับชุมชน ทำให้ชุมชนมีชื่อเสียงในเรื่องการทอผ้า

Tags:

อื่นๆ

เมนู