เศษผ้าเก่านำมารีไซเคิลใหม่ สู่ผลิตภัณฑ์เพิ่มมูลค่าผ้าไทย

       ในแต่ละปีมีเศษขยะจำพวกเศษผ้าเหลือทิ้งจากการผลิตในอุตสาหกรรมผู้ประกอบการตัดเย็บหรือวิสาหกิจชุมชนต่างๆจำนวนมากซึ่งเศษผ้าเหลือทิ้งดังกล่าวนานวันก็จะเสื่อมสภาพไม่เกิดประโยชน์และคุณค่ากลายเป็นขยะและเกิดปัญหาโลกร้อนด้วยเหตุนี้จึงทำให้ทางโครงการ U2T เกิดแนวคิดนำเศษผ้าเหลือทิ้งจากการทอหรือตัดเย็บมาเพิ่มมูลค่าด้วยการสร้างสรรค์เป็นผลิตภัณฑ์ประดับตกแต่งบ้านและของที่ระลึกเพื่อเป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุดรวมถึงเพิ่มทางเลือกให้ผู้บริโภคเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ตกแต่งประดับบ้านที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม

   

จากการลงพื้นที่สำรวจร้านวิสาหกิจชุมชนที่ทอทอผ้าในชุมชนต่างๆเมื่อมีเศษวัสดุสิ่งทอเหลือก็นำไปทิ้งทั้งนี้เศษผ้าจากกระบวนการผลิตสิ่งทอจัดเป็นขยะมูลฝอยทั่วไปในลักษณะขยะแห้งที่สามารถติดไฟได้และเป็นแหล่งทำให้เกิดมลพิษและขยะเหล่านี้มีปริมาณที่นำกลับมาใช้ประโยชน์น้อยดังนั้นทางโครงการ U2T และผู้ปฏิบัติงานจึงมีแนวคิดในการเพิ่มมูลค่าเศษวัสดุไปใช้ให้เกิดประโยชน์โดยออกแบบเป็นผลิตภัณฑ์ประดับตกแต่งบ้านซึ่งนอกจากจะเพิ่มมูลค่าให้เศษวัสดุแล้วยังเป็นการลดปริมาณขยะและช่วยให้ผู้ประกอบการมีรายได้เพิ่มอีกด้วย  ทั้งนี้จากการพูดคุยกับหลายชุมชนมีความเห็นสอดคล้องที่มีความสนใจนำเศษผ้าเหลือทิ้งจากการตัดเย็บมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและลดจำนวนขยะเหลือทิ้งอาทิพวงกุญแจตุ๊กตาขั้นตอนการทำงานได้ศึกษาการใช้ประโยชน์จากเศษผ้าไหมเหลือทิ้งจากการตัดเย็บนำมาออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อต้องการแสดงถึงจังหวะลีลาสีสันความเป็นไทยโดยการนำเศษผ้าไหมมาคัดสรรให้ได้สีสันของผ้าในโทนสีที่มีความกลมกลืนกันใช้ความสัมพันธ์ทางศิลปะเพื่อเน้นสร้างจุดสนใจจังหวะสีลวดลายที่ช่วยให้เกิดความรู้สึกที่แตกต่างการแทรกสีที่ตัดกันของผ้าเพื่อให้เกิดการตัดกันของสีภาพจะดูไม่น่าเบื่อการจับคู่สีเน้นปริมาณสีของผ้าในโทนเดียวกันมีทั้งน้ำหนักสีที่เข้มและอ่อนต่างกันสร้างจุดเด่นโดยคำนึงถึงภาพรวมความสวยงามและเหมาะสมให้ผลิตภัณฑ์ตกแต่งประดับบ้านมีองค์ประกอบของสีสันและลวดลายผ้าไหมแสดงให้เห็นถึงความเป็นเอกลักษณ์ของไทย

 

   

เนื่องจากผ้าไหมเป็นสินค้าที่มีราคาสูงเป็นมรดกทางวัฒนธรรมอันล้ำค่าและเป็นเอกลักษณ์ของไทยที่มีการถ่ายทอดจากบรรพชนสู่สังคมยุคปัจจุบันที่ผู้คนต่างนิยมนำมาสวมใส่หรือมอบเป็นของขวัญในเทศกาลต่างๆตลอดจนการทอไหมกลายเป็นอุตสาหกรรมที่ได้รับความนิยมแพร่หลายในชาวต่างชาติเมื่อนำมาประยุกต์ออกแบบเป็นผลิตภัณฑ์สินค้าที่หลากหลายนอกจากเกิดความสวยงามหรูหราแล้วยังเป็นการเพิ่มมูลค่าให้เศษผ้าเหลือทิ้งสูงขึ้นตามไปด้วยนับเป็นการพัฒนาชุมชนให้เกิดกระบวนการสร้างองค์ความรู้และต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นรวมถึงช่วยรักษาสภาวะแวดล้อมด้วยการนำเอาเศษวัสดุเหลือทิ้งจากการตัดเย็บมาสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ประโยชน์ต่อผู้บริโภคเพื่อเป็นแนวทางนำไปผลิตเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ต่อไป

 

   

 

Tags:

อื่นๆ

เมนู