ปัจจุบันประชาชนนิยมบริโภคไก่พื้นเมืองมากขึ้น เพราะเนื้อมีรสชาติดี อร่อยกว่าไก่พันธุ์หรือไก่กระทง หรือเลี้ยงไว้เพื่อชนก็ตาม แม้ว่าประชาชนจะนิยมเลี้ยงกันอยู่ทั่วไป แต่ก็มีเกษตรกรในพื้นที่จำนวนไม่น้อยที่นิยมเลี้ยงไก่ชน ทางผู้นำชุมชนจึงเล็งเห็นความสำคัญดังกล่าว จึงเป็นที่มาในการตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนขึ้น โดยมีชื่อว่า กลุ่มไก่พื้นเมือง กลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มไก่พื้นเมือง จัดตั้งขึ้นเพื่อเพาะเลี้ยง พัฒนาไก่พื้นเมือง และสามารถสร้างรายได้ให้กับสมาชิกกลุ่ม ตั้งอยู่ที่บ้านขาม หมู่ 3 ตำบลสตึก อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์

โดยวิธีการเลี้ยงไก่พื้นเมืองเบื่องต้นจะมีดังนี้

การเลี้ยงไก่พื้นเมือง ควรมีพื้นที่กว้างขวางพอประมาณ ที่จะให้ไก่ได้หา อาหาร และเดินออกกําลังกาย ถ้าสามารถเลือกสถานที่หลังบ้าน สวนผลไม้ สวน ยาง หรือทุ่งนาก็ได้จะเป็นการดี เพราะจะเป็นแหล่งอาหารธรรมชาติที่ดีสําหรับ ไก่พื้นเมือง หรือหากต้องการเลี้ยงในโรงเรือน โรงเรือนไก่พื้นเมืองสามารถสร้าง แบบง่าย ๆ โดยใช้วัสดุในท้องถิ่นเป็นหลัก หลังคาอาจมุงด้วยสังกะสีเก่าหรือตับ หญ้าคาหรือตับแฝก ด้านข้างของโรงเรือนควรตีด้วยไม้ไผ่สานขัดแตะหรือไม้รวก ขัดแตะ หรือไม้ระแนงโยงเว้นช่องให้อากาศถ่ายเทสะดวก จัดทําคอนนอนไว้มุม ใดมุมหนึ่งของโรงเรือนให้เพียงพอกับจํานวนไก่ และต้องจัดทํารังไข่ โดยอาจใช้ ลังกระดาษเก่า ตะกร้า กระบุง รังไข่ควรรองด้วย เศษหญ้าแห้ง ฟางข้าว หรือ พืชสมุนไพรตากแห้งที่มีคุณสมบัติไล่หมัดหรือไรไก่ เช่น ใบมะกรูดใบตะไคร้หอม สําหรับรางน้ําและรางอาหารเกษตรกรสามารถทําเองโดยใช้วัสดุในท้องถิ่น หรือ ซื้อตามร้านขายอุปกรณ์การเลี้ยงสัตว์

ข้อมูลจาก คู่มือการพัฒนาการผลิตไก่พื้นเมืองด้วยสมุนไพร

อื่นๆ

เมนู