หลักสูตรพัฒนาทักษะตามโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ( มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ)
ดิฉันนางสาวรัตนาภรณ์ ยืนยิ่ง ผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่เป็นเทศบาลตำบลโนนเจริญ ได้ทำการลงพื้นที่ดูความเป็นอยู่และการประกอบอาชีพของคนในชุมชน ในช่วงนี้ คนในชุมชนจะเริ่มลงทำการเกษตร นาข้าว ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงตุลาคม และเก็บเกี่ยวสิ้นสุดไม่เกินกุมภาพันธ์ นิยมปลูกกันมากในภาคอีสานเพราะไม่มีระบบชลประทานต้องอาศัยน้ำจากฝนเท่านั้น โดยข้าวที่ต้องปลูกในการทำนาแบบนาปี คือ ‘ข้าวไวต่อช่วงแสง’ ซึ่งออกดอกตามฤดูกาลเฉพาะในเดือนที่มีความยาวของกลางวันสั้นหรือน้อยกว่า 12 ชั่วโมง เช่น ข้าวหอมดอกมะลิ 105 ไม่ว่าจะปลูกเมื่อไหร่ก็จะออกดอกช่วงเดือนตุลาคมเท่านั้น พันธุ์ข้าวนาปีจะแบ่งออกเป็น ‘ข้าวเบา’ หรือข้าวที่ออกดอกช่วงกันยายนถึงตุลาคม ‘ข้าวกลาง’ หรือข้าวที่ออกดอกช่วงตุลาคมถึงพฤศจิกายน และ ‘ข้าวหนัก’ หรือข้าวที่ออกดอกช่วงธันวาคมถึงมกราคมและในสถาณการณ์ปัจจุบัน การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ซึ่งส่งผลกระทบรุ่นแรงมากในปัจจุบัน ทำให้มีการตกงานจำนวนมาก บ้านเกิดจึงเป็นทางสุดท้ายที่จะทำมาหากินได้ ผู้ที่เคยประกอบอาชีพในเขตกรุงเทพฯ และเขตปริมณฑล เดินทางกลับมาอยู่อาศัย ณ บ้านเกิด หลายครอบครัว เราจึงลงพื้นที่เพื่อหาแนวทางการแก้ไขตามหลักสูตรพัฒนาทักษะตามโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ( มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) โดยการสำรวจวัตถุดิบที่มีในท้องถิ่น พืชที่พบมากที่นั้นคือ ต้นกล้วย จึงมีการประชุมกันเพื่อจะสร้างผลิตภัณฑ์จากกล้วย เพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชน