สวัสดีค่ะทุกคน กลับมาพบกันอีกแล้วนะคะ สำหรับบทความประจำเดือนกันยายน
เดือนนี้เราจะพาทุกคนมาทำความรู้จักเกี่ยวกับโปรแกรมการจัดเก็บข้อมูลพื้นฐาน หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า โปรแกรม จปฐ.
ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับ จปฐ. กันก่อนนะคะว่าคืออะไร
จปฐ. คือข้อมูลในระดับครัวเรือนที่แสดงถึงสภาพความจำเป็นพื้นฐานของคน
ในครัวเรือนในด้านต่าง ๆ เกี่ยวกับคุณภาพชีวิตที่ได้กำหนดมาตรฐานขั้นต่ำเอาไว้ว่า คนควรจะมีคุณภาพชีวิตในแต่ละเรื่อง
อย่างไรในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ๆ และทำให้ประชาชนสามารถทราบได้ด้วยตนเองว่าในขณะนี้คุณภาพชีวิตของตนเอง ครอบครัว รวมไปถึงหมู่บ้าน/ชุมชน อยู่ในระดับใด มีปัญหาที่จะต้องแก้ไขในเรื่องใดบ้าง เป็นการส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนา
ตนเอง ครอบครัว และสังคม อันเป็นนโยบายสำคัญในการพัฒนาประเทศ
สำหรับการจัดเก็บข้อมูลของเรานั้นต้องใช้โปรแกรมที่มีชื่อว่า ebmn application
หน้าตาของโปรแกรมที่เราโหลดมาจะเป็นแบบนี้ค่ะ (สำหรับการลงโปรแกรม สามารถติดต่อที่สำนักงานพัฒนาชุมชนได้เลยนะคะ)
ภาพด้านซ้ายจะเป็นการเข้าสู่ระบบ หลังจากที่เราเข้าสู่ระบบแล้ว โปรแกรมจะมาที่ภาพด้านขวา ให้เราเลือกกดที่ฝั่งสีชมพู จปฐ. นั่นเองค่ะ
กดไปที่บันทึก / แก้ไข
จากนั้นทำการเลือกพื้นที่ที่เราต้องการเพิ่มเติม หรือแก้ไขข้อมูล อ้อ!! รหัสที่เราเข้าใช้งาน จะเป็นรหัสที่เข้าใช้สำหรับคนกรอกข้อมูลของหมู่บ้านนั้น ๆ นะคะ 1 หมู่บ้าน ใช้ 1 รหัสค่ะ ^^
จะเห็นเป็นข้อมูลของครัวเรือน จากนั้นให้กดแก้ไขข้อมูล ตรงด้านขวาสุดของแต่ละรายชื่อครัวเรือน
นี่จะเป็นหน้าตาของเล่ม จปฐ. นะคะ หลังจากเราลงชื่อเข้าใช้และกดแก้ไขข้อมูลครัวเรือนแล้ว ให้เราเปิดเล่ม และเริ่มกรอกข้อมูลได้เลยค่ะ เมื่อเรากรอกข้อมูลเสร็จแล้ว ให้กดอัพโหลดข้อมูล เพียงเท่านี้ก็ได้แล้ว 1 ครัวเรือน
เป็นอย่างไรกันบ้างคะสำหรับโปรแกรม จปฐ. ไม่ยากใช่ไหมล่ะคะ เดือนหน้าจะมีอะไรมาเล่าให้ฟังอีก อย่าลืมติดตามกันนะคะ^^
ที่มา : https://rdic.cdd.go.th/wp-content/uploads/sites/154/2017/07/bManualBook_BMN60.pdf
http://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER11/DRAWER054/GENERAL/DATA0000/00000089.PDF