1. หน้าแรก
  2. คณะวิทยาการจัดการ
  3. MS04 - ตำบลสวายจีก อำเภอเมืองบุรีรัมย์
  4. MS04ตำบลสวายจีก กิจกรรม “นักเล่านิทาน วิถีชุมชนบนฐานความพอเพียง”การปฏิบัติงานเดือนธันวาคม ตำบลสวายจีก อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์

MS04ตำบลสวายจีก กิจกรรม “นักเล่านิทาน วิถีชุมชนบนฐานความพอเพียง”การปฏิบัติงานเดือนธันวาคม ตำบลสวายจีก อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์

BURIRAM RAJABHAT UNIVERSITY  TO TAMBON : BRU2T

¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤

ชื่อบทความ MS04ตำบลสวายจีก กิจกรรม “นักเล่านิทาน วิถีชุมชนบนฐานความพอเพียง”การปฏิบัติงานเดือนธันวาคม ตำบลสวายจีก อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์

หลักสูตร   MS04การแปรรูปผลิตภัณฑ์ผ้าไหมเพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชน ตำบลสวายจีก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

ชื่อเจ้าของบทความ  นางสาวสมฤทัย ชาญประโคน ประเภทบัณฑิตจบใหม่

 

″ดิฉันนางสาวสมฤทัย ชาญประโคน ประเภทบัณฑิตจบใหม่ หลักสูตร MS04ตำบลสวายจีก ผู้เข้าร่วม โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย (จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ กระทรวงอุดมศึกษาธิการ วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม″

¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤

การปฏิบัติงานในเดือนธันวาคม 2564

เมื่อวันที่ ุ6 ธันวาคม 2564 คณาจารย์และผู้ปฏิบัติงาน ในโครงการMS04การแปรรูปผลิตภัณฑ์ผ้าไหมเพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชนตำบลสวายจีก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ได้มีการเข้าร่วม ร่วมชี้แจงวางแผนการดำเนินงานภายในเดือนธันวาคม ในการติดตามการแปรรูปผ้าพื้นบ้านและการนำเสนอเสื้อที่ตัดเย็บจากผ้าพื้นบ้าน ที่ศาลาบ้านใหม่ หมู่ 4 ตำบลสวายจีก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ กิจกรรมประชุม คณะทำงาน สมาชิกตัดเย็บเสื้อนำเสนองาน “เสื้อตามใจฉัน” อบรม หัวข้อ การใช้ผ้าอัดกาว เพื่อสร้างความทรงตัว ปรับแต่งห้องประชุม ติดป้ายไวนิล พัฒนาสิ่งแวดล้อมรอบห้องประชุม กิจกรรม “นักเล่านิทาน ให้สมาชิกเตรียมเนื้อหานิทานวิถีชุมชนบทฐานความพอเพียง” กิจกรรม “เล่าเรื่องการแปรรูปผ้าของสมาชิกที่ตัวเองรับผิดชอบ ตั้งแต่เริ่มต้นจนเสร็จสิ้นเป็นผลงาน และจำนวนรายได้” และบอกแนวทางว่าจะนำผลผลิตไปต่อยอดเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มได้อย่างไร อีกทั้งในการประชุมครั้งนี้ได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นรายงานอุปสรรคปัญหา ในการทำงานและร่วมกันหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงาน เพื่อให้เป็นไปตาม เป้าหมาย และแนวทาง ของโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ 

¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤

กิจกรรม “เล่าเรื่องการแปรรูปผ้าของสมาชิกในโครงการ” 

ในโครงการหลักสูตร MS04การแปรรูปผลิตภัณฑ์ผ้าไหมเพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชนตำบลสวายจีก มีศูนย์รวมการปฏิบัติงานหลักของโครงการคือ ศาลากลางหมู่บ้าน หมู่ที่ 4 บ้านใหม่ ตำบลสวายจีก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยการติดตามงานครั้งนี้ เป็นการติดตามการแปรรูปเสื้อภายใต้ แนวคิด เสื้อตามความพึงพอใจของสมาชิกผู้ตัดเสื้อ และได้นำผลงานมานำเสนอให้สมาชิกคนอื่นๆได้ชม โดยได้เชิญ ″คุณอริยพล กลองชัย″ วิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านการตัดเสื้อจาก ร้านStarfreedom Silk มาให้คำแนะนำเกี่ยวกับรูปแบบการตัดเย็บเสื้อผ้าของตัวแทนกลุ่มทอผ้าแต่ละคน แนะนำแนวทางการนำผลผลิตไปต่อยอดเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม

 

  • การแปรรูปเสื้อของสมาชิกในโครงการ

          สมาชิกผู้ตัดเสื้อ นางสาวทองนาค การเพียรเบอร์โทรศัพท์ 080-4734338 (ป้าไพ) บ้านใหม่ หมู่ที่ 4 อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ผลการออกแบบการแต่งกายตามความเหมาะสมของการใช้งานจากผ้าพื้นบ้านตำบลสวายจีก

          »ลักษณะของเสื้อ : เป็นเสื้อเชิ้ตแขนสั้น มีกระเป๋าตรงอกซ้าย มีลวดลายที่สดใสและสวยงามตามแบบของผ้าทอมือพื้นบ้านสวายจีก

          »จุดเด่นของเสื้อ : เป็นผ้าทอมือพื้นสวายจีก มีลวดลายที่โดดเด่นและเป็นเอกลักษณ์ของสวายจีก สามารถสวมใส่ออกงานต่างๆ และสวมใส่ได้ทุกเทศกาล

          »ต้นทุน : 120 บาท

           »ค่าตัด : 200 

          »จำหน่ายราคา : ตัวละ 499 บาท

          »ปัญหาและอุปสรรคในการตัดเย็บ : เนื่องจากผ้าทอมือ ต้องใช้ระยะเวลาในการทอต่อผืนค่อนข้างนาน จึงทำให้การตัดเย็บเสื้อผ้าแต่ละชุดจึงค่อนข้างที่จะใช้ระยะเวลาพอสมควร เนื่องมาจากผ้าไม่พอ

¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤

กิจกรรมการใช้ผ้าอัดกาว เพื่อสร้างความทรงตัว

สมาชิกผู้ตัดเสื้อชุมชนสวายจีกร่วมอบรมหัวข้อ การใช้ผ้าอัดกาวเพื่อสร้างความทรงตัวให้กับเสื้อโดยมี นางจิต ไชยสุวรรณ์ และ นางสาวปรารถนา อาญาเมือง เป็นผู้ให้ความรู้แก่สมาชิกที่เข้าอบรม

ผ้าอัดกาวที่ใช้นำมาประกอบการตัดเสื้อ

  • ผ้าอัดกาวหรือชื่อทั่วไป (ผ้าเยลซี่กาว หรือเจอซี่) ลักษณะจะเป็นผ้าที่บางเบาเปรียบเทียบจะคล้ายกับถุงน่อง ผ้าอัดกาวอีกด้านจะเป็นเกล็ดกาว ใช้ประกบกับผ้าที่ต้องการอัดกาว ใช้เตารีดด้วยความร้อนที่เหมาะสมเนื้อกาวจะอ่อนตัวและติดลงแผ่นผ้า ผ้าที่ส่วนมากที่ประกอบด้วยผ้าอัดกาวก็จะมี เสื้อสูท ชุดผ้าไหม ชุดผ้าฝ้าย ผ้าซิ่น ชุดไทย หรือชุดที่ออกแบบเอง
  • ลักษณะผ้าที่อัดกาวแล้ว ทำให้เกิดการอยู่ทรงของตัวผ้า ทั้งนี้อยู่ที่ความเหมาะสมของเนื้องาน เช่นเสื้อผ้าที่เป็นทางการ เสื้อผ้าที่ใส่ออกงาน เมื่ออัดกาวลงไปในเสื้อที่เราสวยใส่จะเสริมสร้างบุคคลิค และข้อดีอีกข้อหนึ่งคือเสื้อจะรีดง่ายกว่าปกติ
  • ผ้าอัดกาวจะมีสองด้าน ด้านเรียบกับด้านที่มีกาวเมื่อซูมเข้ามาดูใกล้ ๆ จะเห็นเกล็ดของผ้ากาวที่กระจาย เมื่อกระทบกับความร้อนกาวก็จะละลายตัวจะติดกับผ้าอีกชิ้นที่นำมาประกบกัน

¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤

กิจกรรม “นักเล่านิทาน วิถีชุมชนบนฐานความพอเพียง”

โดยมี ท่านอาจารย์อุดม อาญาเมือง เป็นวิทยากรผู้ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องราวตำนานของตำบลสวายจีก และได้ถ่ายทอดบทเพลงและเรื่องราวเกี่ยวกับตำนานบ้านสวายจีกให้กับสมาชิกผู้ปฏิบัติงานและผู้ร่วมอบรมได้รับความรู้และรับฟังร่วมกัน

 

ประวัติความเป็นมาตำบลสวายจีก

สวายจีก เป็นหมู่บ้านๆหนึ่ง ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของอำเภอเมืองบุรีรัมย์ มีผู้กล่าวว่า เดิมทีก่อนจะมาเป็นสวายจีก มาจากหนองน้ำทั้งสองเป็นชื่อหมู่บ้าน คือ ตะเปียงสวาย (หนองมะม่วง) และ ตะเปียงเจก (หนองกล้วย) เรียกมาเรื่อยๆโดยมีข้อสันนิฐานว่า คำว่า สวายจีก เป็นคำที่มาจากภาษาถิ่น (ภาษาเขมร) สวาย แปลว่า มะม่วง ส่วนคำว่า จีก นั้น มาจากคำว่า เจก ซึ่งแปลว่า กล้วย รวมเรียกว่า มะม่วงกล้วย ซึ่ง สันนิฐานว่า ในท้องถิ่นแห่งนี้มีมะม่วงพันธุ์นี้อยู่ ชาวบ้านสวายจีก มีตำนานที่เล่าสืบต่อกันมาว่า เดิมมีชาวบ้านอยู่ 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 อพยพมาจาก จังหวัดสุรินทร์ มาตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณหมู่ที่ 1 ทางทิศตะวันออก ส่วนอีกกลุ่มอพยพมาจาก จังหวัดนครราชสีมา มาตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสวายจีก หมู่ที่ 17 ในปัจจุบัน และในอีกตำนานหนึ่งเล่าต่อกันมาว่า มีบุคคลกลุ่มแรกๆ ที่มาตั้งบ้านเรือนอยู่ คือ นายสวาย กับ นางเจก ได้อพยพมาจากบ้านสังขะ อำเภอสังขละ จังหวัดสุรินทร์ จากข้อมูลดังกล่าว ยังไม่สามารถสรุปได้ว่าเท็จจริงเป็นอย่างไร แต่จากที่นักโบราณคดีได้ศึกษาจากศิลาทราย พบว่า เป็นชุมชนที่อพยพมาจากขอมหรือเขมร ซึ่งเป็นเส้นทางผ่านไปยังปราสาทหินเขาพนมรุ้ง และปราสาทหินพิมาย

นิทาน,เรื่องเล่าพื้นบ้านตำบลสวายจีก

  • ยักษ์สวายจีก(สี่แยกยักษ์หนองปรือ)

การเล่าขานตำนานยักษ์ศรี(ผู้ชาย) และยักษ์สา(ผู้หญิง) ซึ่งเป็นรูปปั้นยักษ์ประจำตำบลสวายจีก โดยมีอยู่วันหนึ่งยักษ์ศรีได้ออกมาหากินในตอนกลางคืน และได้พบเจอกับกลุ่มผู้ชายวัยรุ่นในพื้นที่ ที่กำลังยืนสูบบุหรี่กันอยู่มากและสูบกันเยอะจนควันตลบอบอวน เพื่อที่จะให้ควันของบุหรี่นั้นไล่ยุง เพราะบริเวณนี้มียุงชุกชุม  แต่เมื่อยักษ์ศรีมาเห็นมนุนย์ดูดบุหรี่ซึ่งจะมีประกายไฟเวลาดูด ยักษ์ศรีจึงเกิดความตกใจเป็นอย่างมาก และได้เข้าใจว่ามนุษย์มีความเก่งกาจ สามารถกินไฟได้ ยักษ์ศรีเกิดความหวาดกลัวและคิดว่าอยู่ที่นี้ไม่ได้แล้ว จึงได้หนีออกจากพื้นที่บริเวณนี้ไป ส่วนยักษ์สาเมื่อไม่เห็นว่ายักษ์ศรีกลับมา และด้วยความหิวจึงได้ออกไปเพื่อจะจับมนุษย์กินเป็นอาหาร  แต่ยักษ์สากลับได้พบกับผู้หญิงกลุ่มหนึ่ง ซึ่งกำลังกินหมากเคี้ยวหมากอยู่เต็มปาก แล้วบ้วนน้ำหมากออกมาเป็นสีแดงสดคล้ายกับเลือด เพราะหมากมีส่วนประกอบของปูนแดงเวลาเคี้ยวรวมกันกับหมากพลูจึงทำให้กลายเป็นสีแดงสดทั่วทั้งปากและฟันของผู้กิน  แต่ยักษ์สาเห็นเข้าจึงตกใจและคิดว่าคนกำลังกินเลือดสดๆ จึงได้หนีออกไปจากพื้นที่นี้เช่นเดียวกันกับยักษ์ศรีนั้นเอง โดยยักษ์ทั้งสองตนได้หนีไปทางประเทศกัมพูชา ต่อมาหลวงปู่ด่อน ไปเห็นมาจึงได้มาสร้างยักษ์ศรี และยักษ์สา ไว้ที่ตำบลสวายจีก 

บทเพลงพื้นบ้าน

  • ชื่อเพลง : สวายจีกบ้านฉัน
    ประพันธ์โดย คุณปิติ คะนัยรัมย์

                ″  สวายจีก สวายจีกบ้านฉัน จากการบอกกล่าวเล่าขาน สวายจีกนั้นเกิดมานานหลายปี ฉันรักบ้านของฉัน ฉันรักมานาน ก็เพราะว่าบ้านฉันดี สวายจีก อุดมสมบูรณ์ เนื้อละมุน ข้าวปลามากมี พืชพันธุ์ ธัญญาหาร เทวสถาน ภูมิบ้านดี  ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ วัฒนธรรม ประเพณี ฉันรักสวายจีกบ้านฉัน ทุกคนยึดมั่นรักสามัคคี มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ยิ้มรวยระรื่น ไพเราะวจี ฉันรักบ้านของฉันเต็มที่ ประกาศศักดิ์ศรี ฝากเพลงลอยลม สวายจีก รุ่งเรืองเจริญงดงามเหลือเกิน ขอเชิญชื่นชม หาใดเทียบเทียมสิ่งนี้ น้ำใจไมตรี น้องพี่เกลียวกลม บ้านเมืองเป็นของพวกเรา ประสานกันเข้าให้โลกนิยม″

¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤

กิจกรรมจิตอาสาร่วมทำโรงทานในงานซ้อมรับปริญญาบัตรของพระสงฆ์ ณ วิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์

มีกิจกรรมจิตอาสาร่วมทำโรงทานในงานซ้อมรับปริญญาบัตรของพระสงฆ์ ณ วิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์ โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.สายใจ ทันการ ผู้ดูแลโครงการ พร้อมทั้งคณะทำงานและชาวบ้านบ้านใหม่ หมู่ที่ 4 ร่วมกิจกรรมโรงทานหมู่ 4 เป็นข้าวเหนียว หมูทอด ส้มตำ ลอดช่อง พร้อมน้ำดื่มของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ 

¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤

 องค์ความรู้ที่ได้จากการปฏิบัติงาน

ได้รับความรู้เรื่องการแปรรูปผลิตภัณฑ์ผ้าอัดกาว ซึ่งเป็นการสร้างมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ผ้าพื้นบ้าน ได้ทราบถึงประวัติความเป็นมาและเรื่อเล่านิทานตำนานยักษ์ในตำบลสวายจีก ที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์บอกเล่าต่อและสืบไว้ ได้ร่วมปฏิบัติกิจกรรมโรงทานน้ำดื่มที่เป็นการร่วมทำบุญของทีมผู้ปฏิบัติงาน โดยมีความสามัคคีที่ช่วยเหลือกันในการปฏิบัติงาน

¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤

วีดีโอการปฏิบัติงาน

 

Tags:

อื่นๆ

เมนู