ข้าพเจ้า: นายกฤษณะชัย แขวรัมย์ ประชาชนทั่วไป ตำบลบ้านด่าน อำเภอบ้านด่าน จังหวัดบุรีรัมย์
หลักสูตร:พยาบาลศาสตร์ NS01 มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
ในเดือน กรกฎาคมข้าพเจ้าได้รับมอบหมายหน้าที่จากอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ของตำบลบ้านด่าน อำเภอบ้านด่าน จังหวัดบุรีรัมย์ ให้จัดเตรียมสถานที่ที่ใช้ในการจัดโครง ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ณ วัดบ้านโนนสว่าง ตำบลบ้านด่าน อำเภอบ้านด่าน จังหวัดบุรีรัมย์พร้อมได้เข้าร่วมโครงการกับนักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ในการคอยให้ความช่วยเหลือกลุ่มผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการและในเดือน กรกฎาคม ข้าพเจ้าและผู้ปฏิบัติงานท่านอื่นได้รับหัวข้อการเขียนบทความ เรื่อง ภูมิปัญญากับการดูแลสุขภาพ ซึ่งข้าพเจ้าได้เขียนเรื่อง ชะพลู ซึ่งเป็นสมุนไพรในท้องถิ่นเป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณที่หลากหลายซึ่งในท้องถิ่นที่ตัวข้าพเจ้าอาศัยอยู่บางครั้งจะนำชะพลูมาใช้ในการประกอบอาหาร เช่น แกงหอยขมใส่ใบชะพูล แกงกะทิปลาดุกใส่ใบชะพูล เมียงใบชะพลูและยังนำมาใช้รักษาอาการต่างๆได้อีกด้วยเช่น เบาหวาน ท้องอืดเฟ้อ อาการคันจากลมพิษ แมลงกัดต่อย
พืชผักสมุนไพรเป็นส่วนประกอบสำคัญของอาหารพื้นบ้านไทยและทั่วโลก ทำให้อาหารมีรสชาติกลมกล่อม เพิ่มสีสันกลิ่นหอมตามธรรมชาติ และคุณค่าทางโภชนาการสูง พืชสมุนไพรหลายชนิดมีบทบาทในการป้องกันโรคเรื้อรัง ชะลอความเสื่อมของร่างกายและบำบัดโรค การศึกษาในปัจจุบันพบว่าพืชสมุนไพรมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ หรือยับยั้งกระบวนการออกซิเดชันที่ทำให้เกิดสารอนุมูลอิสระ สารต้านอนุมูลอิสระได้แก่ วิตามินซี วิตามินอี แคโรทีนอยด์และสารประกอบฟีนอลิก มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ต้านมะเร็ง ป้องกันการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือดการที่เราๆทั้งหลายจะนำสมุนไพรต่างๆมาใช้เราควรรู้ทั้งคุณและโทษของสมุนไพรนั้นๆเสียก่อนสมุนไพรไทยเป็นสิ่งที่ให้ประโยชน์กับร่างกายของเราทั้งในเรื่องของการบำรุงรักษาสุขภาพ และการรักษาโรค เป็นของใกล้ตัวที่เราหาได้ง่ายการที่เรารับประทานสมุนไพรในปริมาณที่พอเหมาะและรับประทานเป็นประจำจะทำให้ร่ายกายของเราดีขึ้นโดยที่ไม่ต้องเจ็บป่วยจนต้องไปหาหมอบ่อยๆ หรือต้องไปจ่ายเงินแพงๆโดยไม่สมควรหากแต่เราเห็นคุณค่าของสิ่งใกล้ตัวดังนั้นจึงจะขอยกตัวอย่างสมุนไพรไทยให้ได้เห็นภาพมาสักหนึ่งอย่าง คือ ชะพลู ชะพูลมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันออกไปตามแต่ละพื้นที่ เช่น ทางภาคเหนือเรียกว่า ผักปูนาผักพลูนก พลูลิง ปูลิง ปูลิงนก ทางภาคกลาง เรียกว่า ช้าพลู ทางภาคอีสานเรียกว่า ผักแค ผักปูลิง ผักนางเลิด ผักอีเลิด และสุดท้าย ทางภาคใต้เรียกว่า นมวา ดังนั้นจึงจะขอยกตัวอย่างประโยชน์และบอกวิธีที่จะนำชะพูลมาใช้ในการเป็นยาสมุนไพรดังนี้ แก้อาการผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานโดยจะใช้ชะพลูสดทั้ง 5 หมายถึงทั้งต้นรวมราก จำนวน 7 ต้น ล้างน้ำให้สะอาด ใส่น้ำพอท่วม ต้มให้เดือดสักพัก นำมาดื่ม เหมือนดื่มน้ำชา ข้อควรระวัง จะต้องตรวจน้ำตาลในปัสสาวะก่อนดื่มและหลังดื่มทุกครั้ง เพราะว่าน้ำยานี้ทำให้น้ำตาลลดลงเร็วมาก ต้องเปลี่ยนต้นชะพลูใหม่ทุกวันที่ต้ม ต้มดื่มต่อไปทุกๆ วัน จนกว่าจะหาย ส่วนแก้อาการท้องอืดเฟ้อ ขับลม จะใช้ราก 1 กำมือ ต้มกับน้ำ 2 ถ้วยแก้ว เคี่ยวให้เหลือ 1 1/2 ถ้วยแก้ว รับประประทานครั้งละ 1/2 ถ้วยแก้ว แก้บิด โดยจะใช้รากครึ่งกำมือ ผล 2-3 หยิบมือ ต้มกับน้ำ 2 ถ้วยแก้ว เคี่ยวให้เหลือ 1 ถ้วยแก้ว กินครั้งละ 1/4 ถ้วยแก้วจนกว่าอาการจะดีขึ้น ส่วนข้อควรระวังในการใช้ชะพลูก็มีอยู่เช่นเดียวกัน คือ ไม่ควรรับประทานใบชะพลูมากเกินไป เพราะจะทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะและทำให้มีการสะสมของสารออกซาเลท (Oxalate) ในร่างกายสูง ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดโรคนิ่วในไต
แหล่งอ้างอิง : https://www.tnews.co.th
นี่เป็นเพียงตัวอย่างที่ยกมาเพียงเล็กๆน้อยเพื่อเป็นเกร็ดความรู้ขึ้นชื่อว่าเป็นสมุนไพรทุกอย่างล้วนมีข้อดีและข้อเสียในตัวของมันเองดังนั้นก่อนที่จะนำอะไรมาใช้เราควรศึกษาเกี่ยวกับพวกมันให้ดีเสียก่อนก่อนที่เราๆทั้งหลายจะนำไปใช้ ทา กิน อาบ เพื่อเป็นการป้องกันตนเองต่ออาการไม่พึงประสงค์ที่จะเกิดขึ้นหลังใช้สมุนไพรนั้นๆไปแล้ว