ข้าพเจ้า นางสาวสุนิษา แก้วสีแสง ประเภทบัณฑิต ตำบลกระสัง
หลักสูตร ID 10 : การพัฒนาผลิตภัณฑ์ตามอัตลักษณ์ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยมีส่วนร่วมของชุมชุน ตำบลกระสัง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์

ในเดือนกรกฎาคม ข้าพเจ้าและทีมงานได้มีการจัดอบรมกิจกรรมภายใต้หัวข้อ“การอบรมเชิงปฏิบัติการสร้างกลไกและดำเนินการควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์(กลุ่มสบู่สมุนไพร)” โดยมีอาจารย์ที่ปรึกษาประจำกลุ่ม อาจารย์ ดร.ธวัชระพงษ์ วงศ์สกุล และวิทยากร นางสาวภัทรานิษฐ์ กุลพิเชษฐ์วณิช เข้าร่วมกิจกรรมในวันเสาร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ.2564 ณ ศาลากลางหมู่บ้าน หมู่ 1 บ้านกระสัง ตำบลกระสัง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ชาวบ้านในชุมชนให้ความสนใจและเข้าร่วมกิจกรรม

ในการอบรมครั้งนี้จะเป็นการต่อยอดจากสิ่งที่ชาวบ้านเคยทำมาก่อนแล้ว เป็นการเสริมทักษะให้มีการพัฒนาสบู่ได้ดีขึ้น และสอดแทรกเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยที่หาไม่ได้จากในยูทูป เป็นการถ่ายทอดองค์ความรู้และประสบการณ์ของวิทยากร เพื่อให้ชาวบ้านได้ประโยชน์สูงสุดจากการอบรมในครั้งนี้

ในกิจกรรมอบรมครั้งนี้มีหัวข้อหลักในการอบรมทั้งหมด 3 หัวข้อดังนี้

1.อุปกรณ์

2.ส่วนผสม

3.ขั้นตอนการทำ

ซึ่งในการอบรมครั้งนี้ได้ให้ชาวบ้านลงมือปฏิบัติ ดังต่อไปนี้

1.อุปกรณ์ที่ใช้

ในการทำสบู่ มีอุปกรณ์ดังต่อไปนี้

-หมวกคลุมผม

-ถุงมือยาง

-ผ้ากันเปื้อน

-หน้ากากอนามัย

-หม้อกันความร้อน

-เตาไฟฟ้า

-ไม้พาย

-แม่พิมพ์สบู่

เหยือกสำหรับเทสบู่

-ฟิล์มใส

2.ส่วนผสม

ส่วนผสมที่ใช้มีดังนี้

-เบสกลีเซอรีน

-สารสกัดสมุนไพร ( ขมิ้น,มะขาม)

-น้ำหอม

-สีผสมอาหาร

แอลกอฮอล์ 95%

เกร็ดความรู้

เบสกลีเซอรีน กลีเซอรีน (Glycerin) หรือ กลีเซอรอล (Glycerol) เป็นของเหลวที่ไม่มีสี มีความหนืด และมีรสหวาน รีน มีคุณสมบัติทางเคมีที่หลากหลาย จึงสามารถนำไปใช้เป็นสารตั้นต้นในการสังเคราะห์สารเคมีอื่น ๆ ได้ กลีเซอรีนบริสุทธิ์ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในหลายรูปแบบ เช่น ใช้เป็นส่วนผสมหรือ เป็นตัวช่วยในกระบวนการผลิตเครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์ในห้องน้ำและสุขอนามัยส่วนบุคคล อาหาร ยาสีฟัน ยาสระผม และนิยมใช้มากในอุตสาหกรรมสบู่ เพราะกลีเซอรีนเป็นส่วนช่วยหล่อลื่นเหมือน มอยซ์เจอร์ไรเซอร์ เพื่อปกป้องผิวไม่ให้แห้งและดูดซับความชื้นเมื่อสัมผัสกับอากาศซึ่งจะทำให้รู้สึกว่าผิวมีความชุ่มชื้น อ่อนโยนต่อผิว ขจัดความสกปรกที่ฝังแน่น ไม่ทำให้อุดตันรูขุมขน รวมทั้งปลอดภัยต่อผิวหนัง (ที่มา:https://xn--22ce0dhf8bc8b8fxa3j.com/ )

3.ขั้นตอนการทำ

ในการทำสบู่ครั้งนี้ มีการทำสบู่ ทั้งหมดสองแบบ แบบขุ่นและแบบใส โดยสบู่แบบขุ่น ส่วนผสมสมุนไพร คือ มะขาม และสบู่แบบใส คือ ขมิ้น

เกร็ดความรู้ 

-สบู่ก้อนขุ่น
เป็นผลิตภัณฑ์สบู่ที่รู้จัก และใช้กันมานานจนถึงปัจจุบัน มีลักษณะเป็นก้อนแข็งสีขาวขุ่นหรือมีสีต่างๆ ตามสีของสารเติมแต่ง เช่น สีเขียว สีชมพู สีม่วง เป็นต้น สบู่ชนิดนี้ใช้สารตั้งต้น คือ เกล็ดสบู่ (soap) ที่ผลิตได้จากปฏิกิริยาข้างต้นเป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิต ที่ให้คุณสมบัติเป็นก้อนแข็ง ขาวขุ่น ให้ฟองมาก

-สบู่ก้อนใส
เป็นผลิตภัณฑ์สบู่ที่มีลักษณะก้อนใสหรือค่อนข้างใสตามสัดส่วนของกลีเซอรีนที่ผสม ก้อนสบู่จะมีลักษณะอ่อนกว่าสบู่ก้อนขุ่น และสามารถทำให้เกิดสีใสต่างๆตามสารให้สีที่เติมผสม สบู่ชนิดนี้จะให้ฟองค่อนข้างน้อยกว่าสบู่ก้อนขุ่น เนื่องจากมีส่วนผสมของกลีเซอรีนเป็นส่วนใหญ่ สารตั้งต้นที่ใช้อาจเป็นกลีเซอรีนเหลวหรือกลีเซอรีนก้อน (กลีเซอรีนเหลว+เอทิลแอลกอฮอล์) ร่วมด้วยกับสารเติมแต่งชนิดต่างๆ

 

(ที่มา https://www.siamchemi.com)

ซึ่งมีขั้นตอนการทำดังนี้

-สวมหมวกคลุมผม ถุงมือ และผ้ากันเปื้อน

-หั่นเบสกลีเซอรีน 1 กิโลกรัมไม่เล็กไม่ใหญ่จนเกินไป

-ต้มน้ำในหม้อให้ร้อน

-ละลายเบสกลีเซอรีนในภาชนะที่เตรียมไว้ ในหม้ออีกใบที่เตรียมไว้

***ข้อควรระวัง ในระหว่างละลายกลีเซอรีนไม่ควรคน เพราะจะทำให้เกิดฟองอากาศ

-ระหว่างที่รอเบสกลีเซอรีนละลาย ละลายสมุนไพรที่เตรียมไว้คือ ขมิ้นและมะขาม (ขมิ้นและมะขาม 15 มล./50 มล.)

-หลังจากเบสกลีเซอรีนละลายแล้ว ผสมสมุนไพร น้ำหอม และสีผสมอาหารลงไป

-เทเบสกลีเซอรีนละลายแล้วลงในแม่พิมพ์ที่เตรียมไว้

***ข้อควรปฏิบัติ 

1.ควรฉีดสเปรย์แอลกอฮอล์ 95% เพื่อไม่ให้เกิดฟองอาการ

2.การฉีดสเปรย์แอลกอฮอล์ 95% เพื่อฆ่าเชื้อโรค

3.เพื่อไล่กลิ่นที่อาจตกค้างในแม่พิมพ์สบู่

-หลังจากเทเบสกลีเซอรีนแล้ว รอจนสบู่เซ็ทตัว

***ข้อควรระวัง

1.หลังจากที่เทลงแม่พิมพ์แล้วไม่ควรเคลื่อนย้ายแม่พิมพ์ เพราะจะทำให้เกิดฟองอากาศได้

2.ไม่ควรให้โดนลม หรือพัดลม เพราะจะทำให้สบู่เกิดฝ้าได้

-เมื่อสบู่เซตตัวดีแล้ว แกะออกจากแม่พิมพ์ 

***ข้อควรระวัง ระหว่างที่แกะสบู่ควรค่อยๆแกะให้มีอากาศเข้าไป และใช้นิ้วมือช่วยดันออกจากแม่พิมพ์

-เมื่อแกะสบู่แล้ว ควรห่อด้วยฟิล์มใสทันที

***ข้อควรปฏิบัติ ควรห่อด้วยฟิล์มใส 16 ไมครอน เพื่อให้สบู่มีความเงางาม

หลังจากที่ได้ทราบขั้นตอนและลงมือปฏิบัติแล้วได้สบู่ออกมาเป็นที่น่าพึงพอใจ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความนี้จะช่วยให้ทุกคนมีความรู้และนำไปพัฒนาการทำสบู่ที่มีคุณภาพต่อไปในอนาคต

 

 

 

 

อื่นๆ

เมนู