ดิฉันนางศรัณย์พร ประเภทประชาชนทั่วไปภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทาลัย เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศมหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ ระยะเวลา 11 เดือน เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ซึ่งได้รับมอบหมายในการปฏิบัติหน้าที่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบเพื่อเก็บข้อมูลจำนวน 5 หมู่บ้าน ได้แก่ ณ บ้านเก่าโก หมู่ที่ 3 บ้านบง หมู่ที่ 4 บ้านโสกดินแดง หมู่ที่ 8 บ้านโคกพงาด หมู่ที่ 9 บ้านหนอจาน หมู่ที่ 10 ของตำบลบ้านคู อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยแผนการดำเนินงานมีเป้าหมายการลงพื้นที่เก็บข้อมูลตามแบบฟอร์ม 3 แบบ คือ แบบฟอร์ม 01 ข้อมูลระดับบุคคล ครัวเรือนและชุมชน แบบฟอร์ม 02 ผลกระทบจากโรคคิด 19 และแบบฟอร์ม 06 แบบสำรวจเพื่อฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคติดต่ออุบัติใหม่
กิจกรรมและแผนดำเนินงานของโครงการAG01(2)
ในช่วงวันที่ 1-6 กุมภาพันธ์ 2564 อาจารย์ประจำหลักสูตรจัดประชุมทำการชี้แจงรายละเอียดของโครงการมอบหมายงานและหน้าที่เพื่อให้เกิดการทำงานอย่างเป็นระบบในช่วงวันที่ 7-17 กุมภาพันธ์ 2564 ทีมงานและอาจารย์ประจำหลักสู
AG01(2) เข้าพบนายกอบต.บ้านคูเพื่อแนะนำโครงการและชี้แจงราละเอียดของโครงการเพื่อให้เกิดการทำงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและผู้นำชุมชนในท้องถิ่นรวมทั้งทีมงานเริ่มดำเนินการลงพื้นที่ปฏิบัติงานเก็บข้อมูลในพื้นทึ่ได้รับผิดชอบ 5 หมู่บ้าน คือ บ้านเก่าโก หมู่ที่ 3 บ้านบง หมู่ที่ 4 บ้านโสกดินแดง หมู่ที่ 8 บ้านโคกพงาด หมู่ที่ 9 บ้านหนอจาน หมู่ที่ 10 ซึ่งประชาชนในชุมชนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี การลงพื้นที่เก็บข้อมูลในครั้งนี้ซึ่งเกิดจากการประสานงานของทีมงานกับผู้ใหญ่บ้านและผู้นำชุมชน โดยในส่วนของการลงพื้นที่เก็บข้อมูลดิฉันเก็บข้อมูลได้ประมาณ 195 ครัวเรือน และจะนำข้อมูลดังกล่ามาวิเคราะห์และสรุปผลกับทางทีมงานและอาจารย์ประจำหลักสูตรร่วมกับทีมงานคนอื่นๆต่อไปในช่วงปลาเดือนกุมภาพันธ์
ในส่วนของการฝึกทักษะทั้ง 4 ด้าน ดิฉันได้ทำการลงทะเบียนเรียนทักษะด้านภาษาอังกฤษ แล้วบางส่วน
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากการลงพื้นที่ทั้ง 5 หมู่บ้าน
ผลการเก็บข้อมูลแต่ละชุมชนพบว่า ชาวบ้านในแต่ละชุมชน มีอาชีพหลัก คือ การทำนา อาชีพเสริมคือการเลี้ยงสัตว์ เช่น วัว ควาย ไก่ การเลี้ยงไหม การทอผ้า การค้าขาย และการปลูกผักสวนครัว เป็นต้น ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีอาชีพเสริม ต้องการมีอาชีพเสริมเพื่อเพิ่มรายได้ เพราะรายได้หลักจากการทำนามีรายได้น้อยทำให้เกิดปัญหาความยากจน
แต่อย่างไรก็ตามจากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่าชุมชนยังคงประสบปัญหาขาดแคลนแหล่งน้ำในการทำการเกษตรในหน้าแล้ง หลังจากการเก็บเกี่ยวข้าวที่เป็นอาชีพหลัก ทางชุมชนต้องงการทำอาชีพเสริมแต่พบปัญหาคือแหล่งน้ำมีน้อยทำให้ลำบากในการทำการเกษตรที่เป็นรายได้เสริม เช่นการปลูกผักสวนครัว การปลูกหม่อนเลี้ยงไหม
ผลจากการสำรวจเก็บข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบจากโควิด 19
ผลจากการเก็บข้อมูล
พบว่าชาวบ้านในชุมชนทุกชุมชนทราบข่าวเกี่ยวกับโรคที่กำลังระบาดและตระหนักถึงการป้องกันตัวเองเป็นอย่างดีว่าควรปฏิบัติอย่างไรเมื่อต้องไปอยู่ในพื้นที่เสี่ยง เช่น การเว้นระยะห่าง การล้างมือด้วยสบู่ แอลกอฮอล์ การสวมหน้ากากอนามัย และการใช้ช้อนกลางในการรับประทานอาหาร แต่อย่างไรก็ตามชาวบ้านในชุมชนส่วนใหญ่ไม่ค่อยชอบออกกำลังกาย อาจเนื่องมาจากลักษณะการทำงาน อาชีพและประชาชนส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้สูงอายุซึ่งมีแผนการพัฒนาด้านสุขภาพของคนในชุมชนต่อไป
ปัญหาอุปสรรคในการทำงานและการแก้ไขปัญหา
ในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลในช่วงแรกๆพบปัญหาประชาชนในพื้นที่ไม่อยู่ที่บ้านหรือในพื้นที่ โดยส่วนใหญ่จะออกไปทำงานนอกพื้นที่ ทำการเกษตร ทำไร่ ทำสวน และเลี้ยงสัตว์ ส่งผลทำให้ไม่มีผู้ให้ข้อมูล และทางทีมงาน AG01(2)
แผนการในการดำเนินงานต่อไป
ทีม AG01(2) มีแผนการดำเนินงานในเดือน มีนาคม 2564 โดยทำการลงพื้นที่เก็บข้อมูลเพิ่มเติม ควบคู่ไปกับการวิเคราะห์ ข้อมูล และสรุปผล ของข้อมูล เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนดำเนินงานต่อไป
สิ่งทีได้เรียนรู้จากการปฏิบัติงาน
การทำงานร่วมกันเป็นทีม ความสามัคคีในทีมทำให้การทำงานได้รวดเร็วขึ้น ในชุมชนมีแหล่งน้ำที่อุดมสมบูรณ์