1. หน้าแรก
  2. คณะเทคโนโลยีการเกษตร
  3. AG01(2) - ตำบลบ้านคู อำเภอนาโพธิ์
  4. บทความประจำเดือน เมษายน 2564 กลุ่ม AGO1(2) โครงการพัฒนาศักยภาพเกษตรกร 4.0 ด้านปศุสัตว์ และยกระดับมาตรฐานสินค้า OTOP ของคณะเทคโนโลยีการเกษตร (สัตวศาสตร์) มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ในการลงพื้นที่เก็บข้อมูล ณ บ้านหนองลุมพุก หมู่ 1 บ้านทุ่งบ่อ หมู่ 2 บ้านโคกเมฆ หมู่ 11 บ้านโนนตะคร้อ หมู่ 12 บ้านโนนสะอาด หมู่ 13 ตำบลบ้านคู อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์

บทความประจำเดือน เมษายน 2564 กลุ่ม AGO1(2) โครงการพัฒนาศักยภาพเกษตรกร 4.0 ด้านปศุสัตว์ และยกระดับมาตรฐานสินค้า OTOP ของคณะเทคโนโลยีการเกษตร (สัตวศาสตร์) มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ในการลงพื้นที่เก็บข้อมูล ณ บ้านหนองลุมพุก หมู่ 1 บ้านทุ่งบ่อ หมู่ 2 บ้านโคกเมฆ หมู่ 11 บ้านโนนตะคร้อ หมู่ 12 บ้านโนนสะอาด หมู่ 13 ตำบลบ้านคู อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์

ดิฉันนางสาวแพรทอง เอี่ยมศรี ประเภทบัณฑิตจบใหม่ทำงานภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ระยะเวลาโครงการ 11 เดือน เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ซึ่งได้รับมอบหมายในการปฏิบัติหน้าที่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบเพื่อเก็บข้อมูลจำนวน 5 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 1 บ้านหนองลุมพุก หมู่ 2 บ้านทุ่งบ่อ หมู่ 11 บ้านโคกเมฆ หมู่ 12 บ้านโนนตะคร้อ หมู่ 13 บ้านโนนสะอาด ต.บ้านคู อ.นาโพธิ์ จ.บุรีรัมย์  โดยแผนการดำเนินมีเป้าหมายการลงพื้นที่เก็บข้อมูลตามแบบฟอร์ม 3 แบบ คือ แบบฟอร์ม 01 ข้อมูลระดับบุคคล ครัวเรือนและชุมชน แบบฟอร์ม 02 ผลกระทบจากโรคโควิด-19และ แบบฟอร์ม 06 แบบสำรวจเพื่อเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคติดต่ออุบัติใหม่

กิจกรรมและแผนการดำเนินงานของโครงการ AG01

     ในช่วงวันที่ 1-18 เมษายน 2564 ได้ทำการลงพื้นที่ปฏิบัติงาน สำรวจและเก็บข้อมูลในชุมชนโดยใช้แบบฟอร์ม 01 และ 02 เก็บข้อมูลในพื้นที่ซึ่งได้รับผิดชอบ 5 หมู่บ้านคือ หมู่ที่ 1 บ้านหนองลุมพุก หมู่ 2 บ้านทุ่งบ่อ หมู่ 11 บ้านโคกเมฆ หมู่ 12 บ้านโนนตะคร้อ หมู่ 13 บ้านโนนสะอาด ต.บ้านคู อ.นาโพธิ์ จ.บุรีรัมย์  

ดิฉันได้ลงสำรวจพื้นที่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนและกลุ่มที่ยังไม่เป็นวิสาหกิจชุมชน ได้แก่ บ้านบง บ้านโนนสะอาด และบ้านหนองลุมพุก

 วันที่ 1 เมษายน 2564 ลงพื้นที่ถ่ายทำวิดีโอที่บ้านโคกเมฆและบ้านโนนตะคร้อสอบถามวิสาหกิจชุมชนเกี่ยวกับการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมและทอผ้าไหมและที่บ้านโนนสะอาดเกี่ยวกับผักอินทรีย์ปลอดสารพิษ

ซึ่งประชาชนในชุมชนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลในครั้งนี้ ซึ่งเกิดจากการประสานงานของทีมงานกับผู้ใหญ่บ้านและผู้นำชุมชน โดยในส่วนของการลงพื้นที่เก็บข้อมูลดิฉันสามารถเก็บข้อมูลได้ประมาณ 50 ครัวเรือน  และจะนำข้อมูลดังกล่าวมาวิเคราะห์และสรุปผลกับทางทีมงานอาจารย์ประจำหลักสูตร ร่วมกับทีมงานคนอื่น ๆ ต่อไปในช่วงปลายเดือนเมษายน

ในส่วนของการฝึกทักษะทั้ง 4 ด้าน

ดิฉันได้ทำการฝึกในด้านภาษาอังกฤษผ่านเรียบร้อย

ดิจิทัลผ่านเรียบร้อยสังคมก็เรียบร้อยแล้วส่วนในด้านการเงินพึ่งได้20%

ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากการลงพื้นที่ของทั้ง 5 หมู่บ้าน

    ผลการสำรวจแต่ละชุมชนดิฉันพบว่า สอบถามประธานกลุ่มชุมชนเรื่องเกี่ยวกับโครงการวิสาหกิจชุมชนที่มีประชากรเข้าร่วมโครงการและที่ยังไม่เข้าร่วมโครงการโดยส่วนมากจะเป็นโครงการการเลี้ยงโคขุนและการทอผ้าไหม และคนในชุมชนได้มีการประกอบอาชีพหลักคือ ทำนาพร้อมกับทำเกษตรกรรม เช่นปลูกผักเกษตรพอเพียงพร้อมกับเกษตรแปลงใหญ่ของบางชุมชนเพื่อปลูกใว้บริโภคเองและจัดจำหน่ายในพื้นที่และนอกพื้นที่เป็นหลักโดยส่วนใหญ่ชาวชุมชนจะเลี้ยงสัตว์ เช่น ไก่ไข่ หมู วัว ควาย เป็นต้น และบางชุมชนจะขุดบ่อเลี้ยงปลาในส่วนรายได้เสริมของชาวชุมชนมีการรับจ้างทั่วไปและทอผ้าไหมและมีบางชุมชนได้ปลูกต้นหม่อนเพื่อเอาใบและเลี้ยงตัวหม่อนเพื่อสร้างรายได้เสริมให้เเก่ครัวเรือนของตัวเอง

เช่น บ้านโคกเมฆ ตำบลบ้านคู อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์ วันที่ 1 เมษายน 64 ณ บ้านโคกเมฆ สอบถามวิสาหกิจชุมชนผ้าไหม

สมาชิกทั้งหมด 20 คน ระยะเวลาเป็นสมาชิกของกลุ่ม 11 ปี

การจดทะเบียน

เป็นวิสาหกิจชุมชน แต่ยังไม่ต่อเนื่อง (ปัจจุบันจดต่อแล้ว)

วิธีดำเนินการ/กระบวนการทำงาน

ทำเป็นกลุ่มแต่จะทำใครทำมัน นิยมทำลายมัดหมี่ เลี้ยงหม่อนไหมเอง สาวเอง (สาวแบบพื้นบ้าน) เลี้ยงไหมประมาณ 22 วัน แผง 1 ได้ 50 กระด้ง ทำผ้ามัดหมี่ 30 วัน (ผืนหนึ่งใช้เวลาทำ 3 เดือน) เริ่มจากการนำรังไหมที่สุกแล้วมาทำการคัดแยกรังดีและรังเสียออกจากกัน การต้มรังไหมทำให้กาวซิริซิน ละลาย และอ่อนตัว เพื่อให้การดึงเส้นไหมจากเปลือกสาวไหมออกได้ง่าย น้ำสำหรับต้มรังไหมต้องเป็นน้ำจืด ใส สะอาด มีค่าความเป็นกรด-เบส อยู่ในระดับที่เป็นกลางและต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำเมื่อน้ำเปลี่ยนเป็นสีคล้ำหรือสกปรก เพื่อควบคุมคุณภาพด้านสีของเส้นไหม

การตลาด

– ขายกันเอง อ.นาโพธิ์รับซื้อในราคา 1,700-1,800 บาท/ผืน  

– ผลิตส่งสวนจิตรลดา รับไม่จำกัด

– พ่อค้าทั่วไปรับซื้อในราคาประมาณ 1,300 บาท/ผืน

– ผลิตได้ 30 ผืน/ปี/คน

จุดเด่น : ผ้าซิ่นตีนแดง ผ้าไหม ผ้ามัดหมี่ ผ้าลายขอสิริวรรณ

ผ้าไหมลายขอสิริวรรณ

ปัญหาการทำงาน

  1. การตลาดไม่มีตลาดรับซื้อ
  2. ต้นทุนในการผลิต
  3. รายได้
  4. ขาดกลุ่มการทำงาน
  5. สีตก

ปัญหาที่พบในชุมชน :

  1. ขาดแคลนน้ำสะอาดในการอุปโภคบริโภค
  2. แสงสว่างไม่เพียงพอ
  3. ขยะ
  4. ผลกระทบรายได้แต่ละครัวเรือน
  5. ใช้สารเคมีทางการเกษตร
  6. ทะเลาะวิวาท
  7. ปัญหาความยากจน
  8. ยาเสพติด
  9. ปัญหาแบ่งเขตที่ดิน

แนวทางแก้ไข

1.ของบประมาณจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อขุดลอกหนองใหม่เพื่อที่กับเก็บน้ำให้มากขึ้น

2.ชาวบ้านบางส่วนมีการย้ายไปยุที่สวนหรือทุ่งนาจึงไม่มีไฟฟ้าใช้แล้วจึงแจ้งผู้นำชุมชนทำเรื่องไปยังหน่วยงานการไฟฟ้า

3.ต้องการมีจุดคักแยกขยะแต่ล่ะหมู่บ้าน

4.อยากให้มีอาชีพเป็นของตัวเอง

ผลจากการสำรวจเก็บข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบจากโควิด-19

จากการสำรวจสถานการณ์พบว่าชาวบ้านมีการออกกำลังกายเป็นบางส่วน ล้างมือก่อนรับประทานอาหารและหลังหลังรับประทานอาหารแล้วชาวบ้านบางคนมักจะใช้มือปิดปากในเวลา จามหรือไอและในบางครัวเรือนยังขาดแคลนเจล สเปรย์แอลกอฮอล์ และหน้ากากอนามัย

สิ่งที่ได้เรียนรู้

1.เรียนรู้เกี่ยวกับวิสาหกิจชุมชนว่าแต่หมู่บ้านมีอะไรบ้าง

2.ปัญหาสิ่งแวดล้อมแต่ชุมชนเป็นอย่างไรบ้าง

3.จุดเด่นแต่ละหมู่บ้าน

4.เรียนรู้ทักษะด้านภาษาอังกฤษพื้นฐานและทักษะด้านดิจิตัลและด้านสังคมและการเงิน

แผนการในการดำเนินงานต่อไป

ทีม AG01 มีแผนการดำเนินงานในเดือน พฤษภาคม 2564 โดยทำการลงพื้นที่เก็บข้อมูลเพิ่มเติม ควบคู่ไปกับการวิเคราะห์ ข้อมูล และสรุปผล ของข้อมูลเพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนดำเนินงานต่อไป

ลงพื้นที่เพิ่มเติมบ้านโนนตะคร้อหมู่ 12

ลงพื้นที่เพิ่มเติมบ้านโนนสะอาดหมู่ 13

ลงพื้นที่บ้านโคกเมฆสอบถามวิสาหกิจชุมชนเกี่ยวกับโครงการเลี้ยงโคขุนและการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมและทอผ้าไหม

ลงสำรวจพื้นที่ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนและกลุ่มที่ยังไม่เป็นวิสาหกิจชุมชน ได้แก่ บ้านบง บ้านโนนสะอาด และบ้านหนองลุมพุก

ลงพื้นที่ถ่ายทำวิดีโอกลุ่มวิสาหกิจชุมชน
– กลุ่มผักอินทรีย์ปลอดสารพิษบ้านโนนสะอาด
– กลุ่มหม่อนไหม บ้านโนนตะคร้อ
– กลุ่มทอผ้าไหมบ้านโคกเมฆ

สำรวจพื้นที่ที่แปลงผักอินทรีย์ปลอดสารพิษ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

อื่นๆ

เมนู