ดิฉันนางสาวนงลักษณ์ แก้วคำชาติ ประเภทประชาชนทำงานภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ระยะเวลาโครงการ 11 เดือน เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ซึ่งได้รับมอบหมายในการปฏิบัติหน้าที่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบเพื่อเก็บข้อมูลจำนวน 5 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 1 บ้านหนองลุมพุก หมู่ 2 บ้านทุ่งบ่อ หมู่ 11 บ้านโคกเมฆ หมู่ 12 บ้านโนนตะคร้อ หมู่ 13 บ้านโนนสะอาด ต.บ้านคู อ.นาโพธิ์ จ.บุรีรัมย์ โดยแผนการดำเนินมีเป้าหมายการลงพื้นที่เก็บข้อมูลตามแบบฟอร์ม 3 แบบ คือ แบบฟอร์ม 01 ข้อมูลระดับบุคคล ครัวเรือนและชุมชน แบบฟอร์ม 02 ผลกระทบจากโรคโควิด-19และ แบบฟอร์ม 06 แบบสำรวจเพื่อเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคติดต่ออุบัติใหม่
กิจกรรมและแผนการดำเนินงานของโครงการ AG01
ในช่วงวันที่ 1-18 เมษายน 2564 ได้ทำการลงพื้นที่ปฏิบัติงาน สำรวจและเก็บข้อมูลในชุมชนโดยใช้แบบฟอร์ม 01 และ 02 เก็บข้อมูลในพื้นที่ซึ่งได้รับผิดชอบ 5 หมู่บ้านคือ บ้านหนองลุมพุก หมู่ที่ 1 บ้านทุ่งบ่อ หมู่ 2 บ้านโคกเมฆ หมู่ 11 บ้านโนนตะคร้อ หมู่ 12 และบ้านโนนสะอาด หมู่ 13 ต.บ้านคู อ.นาโพธิ์ จ.บุรีรัมย์
ดิฉันได้ลงสำรวจพื้นที่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนและกลุ่มที่ยังไม่เป็นวิสาหกิจชุมชน ได้แก่ บ้านบง บ้านโนนสะอาด บ้านโนนตะคร้อและบ้านหนองลุมพุก
วันที่ 1 เมษายน 2564 ลงพื้นที่ถ่ายทำวิดีโอที่บ้านโนนสะอาด บ้านโนนตะคร้อ และบ้านโคกเมฆเพื่อสอบถามวิสาหกิจชุมชนเกี่ยวกับการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมและทอผ้าไหม และผักอินทรีย์ปลอดสารพิษ
ซึ่งประชาชนในชุมชนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลในครั้งนี้ ซึ่งเกิดจากการประสานงานของทีมงานกับผู้ใหญ่บ้านและผู้นำชุมชน โดยในส่วนของการลงพื้นที่เก็บข้อมูลดิฉันสามารถเก็บข้อมูลได้ประมาณ 50 ครัวเรือน และจะนำข้อมูลดังกล่าวมาวิเคราะห์และสรุปผลกับทางทีมงานอาจารย์ประจำหลักสูตร ร่วมกับทีมงานคนอื่น ๆ ต่อไปในช่วงปลายเดือนเมษายน
ในส่วนของการฝึกทักษะทั้ง 4 ด้าน ดิฉันได้ทำการฝึกทักษะทั้ง 3ด้าน ครบ 20 ชั่วโมงเรียบร้อยแล้ว คือ ด้านภาษาอังกฤษ ด้านสังคม ด้านดิจิทัล ส่วนด้านการเงินพึ่งได้ 20%
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากการลงพื้นที่ของทั้ง 5 หมู่บ้าน
ผลการสำรวจแต่ละชุมชนพบว่า มีการประกอบอาชีพหลักคือ ทำนาพร้อมกับทำเกษตรกรรม เช่น ปลูกผักเกษตรแบบพอเพียง บางชุมชนได้มีการทำเกษตรแปลงใหญ่เพื่อปลูกใว้บริโภคเองและจัดจำหน่ายในพื้นที่และนอกพื้นที่เป็นหลัก โดยส่วนใหญ่ชาวบ้านจะมีการเลี้ยงสัตว์ เช่น ไก่ไข่ หมู วัว ควาย เป็นต้น และบางชุมชนจะมีรับจ้างทั่วไป การเลี้ยงโคขุน การทอผ้าไหม และปลูกต้นหม่อนเพื่อเอาใบไปเลี้ยงตัวไหมเพื่อที่จะสร้างรายได้เสริมให้เเก่ครัวเรือนของตนเอง
ผลจาการสำรวจเก็บข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบจากโควิด-19
ผลจากการเก็บข้อมูล พบว่า ชาวบ้านในชุมชนทุกชุมชนทราบข่าวเกี่ยวกับโรคที่กำลังระบาดและตระหนักถึงการป้องกันตัวเองเป็นอย่างดี ว่าควรปฏิบัติอย่างไรเมื่อต้องไปอยู่ในพื้นที่เสี่ยง เช่น การเว้นระยะห่าง การล้างมือด้วยสบู่ แอลกอฮอล์ การสวมหน้ากากอนามัย และการใช้ช้อนกลางในการรับประทานอาหาร แต่อย่างไรก็ตาม ชาวบ้านในชุมชนส่วนใหญ่ไม่ค่อยชอบออกกำลังกาย อาจเนื่องมาจากลักษณะการทำงาน อาชีพและประชาชนส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้สูงอายุ ซึ่งควรมีแผนการพัฒนาด้านสุขภาพของคนในชุมชนต่อไป
ปัญหาที่พบในชุมชน
1.ปัญหาความยากจน
2.ขยะ
3.ขาดน้ำในการอุปโภค/บริโภค
4.ยาเสพติด
แนวทางการแก้ไข
1.ให้ชาวบ้านทำการเกษตรชุมชนเพื่อที่จะได้มีรายได้มาใช้จ่ายในครัวเรือน
2.ของบประมาณจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อมาขุดลอกหนองใหม่จะได้มีน้ำกักเก็บน้ำไว้ใช้นานมากขึ้น
3.ให้ผู้นำชุมชนทำจุดคัดแยกขยะ
สิ่งที่ได้เรียนรู้
1.ได้เรียนรู้ว่าแต่ละชุมชนมีวิสาหกิจหรืออาชีพเสริมอะไรบ้าง
2.ได้รู้จุดเด่นและจุดด้อยของวิสาหกิจของแต่ละชุมชน
3.ได้รู้ความเป็นมาของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน
4.ได้เรียนรู้ทักษะด้านภาษาอังกฤษพื้นฐาน สังคม ดิจิทัล และการเงิน
แผนการในการดำเนินงานต่อไป
ทีม AG01 มีแผนการดำเนินงานในเดือน พฤษภาคม 2564 โดยทำการลงพื้นที่เก็บข้อมูลเพิ่มเติม ควบคู่ไปกับการวิเคราะห์ ข้อมูล และสรุปผล ของข้อมูล เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนดำเนินงานต่อไป

ภาพที่ 1 เก็บข้อมูล 01,02 บ้านโนนตะคร้อ

ภาพที่ 2 เก็บข้อมูล 01,02 บ้านโนนสะอาด

ภาพที่ 3 ถ่ายทำวิดีโอผักอินทรีย์ปลอดสารพิษ บ้านโนนสะอาด

ภาพที่ 4 ถ่ายทำวิดีโอการทอผ้าไหมบ้านโคกเมฆ

ภาพที่ 5 ถ่ายทำวิดีโอการทอผ้าไหมบ้านโนนตะคร้อ