ดิฉัน นางสาวธัญญลักษณ์ ปลงใจ กลุ่มบัณฑิตจบใหม่ MS04-011
โครงการจ้างงานประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19)
หลักสูตร : MS04 การแปรรูปผลิตภัณฑ์ผ้าไหมเพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชนตำบลสวายจีก อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์
» » สวัสดีค่ะ ดิฉันนางสาวธัญญลักษณ์ ปลงใจ กลุ่มบัณฑิตจบใหม่ ผู้เข้าร่วม โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย (จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ กระทรวงอุดมศึกษาธิการ วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
ดิฉันได้รับมอบหมายงานให้รับผิดชอบลงพื้นที่เก็บข้อมูลชุมชน ณ. หมู่ที่ 11 บ้านมะค่าตะวันออก มีจำนวน 160 ครัวเรือน
ประชากรชาย 370 คน
ประชากรหญิง 376 คน
รวมประชากรทั้งสิ้น 746 คน
» » เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2564 คณาจารย์และคณะทำงานร่วมประชุมออนไลน์(เนื่องจากสถานการณ์โรคระบาดจึงงดการรวมตัว) คณาจารย์และคณะทำงานได้สรุปผลการทำงานของเดือนเมษายนและร่วมวางแผนการดำเนินงานเดือนมิถุนายนภายใต้สถานการณ์โรคระบาด covid-19 จึงได้มีการปรับการทำงานใหม่เพื่อให้เกิดการ รัดกุม ในการทำงาน ในการประชุมออนไลน์ได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นรายงานอุปสรรคปัญหา ในการทำงานและร่วมกันหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงาน ในเดือนต่อไป เพื่อให้เป็นไปตาม เป้าหมาย และแนวทาง ของโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
» » เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2564 คณาจารย์และคณะทำงานร่วมประชุมออนไลน์เพิ่มเติมเกี่ยวกับขอบข่ายการดำเนินงาน ระยะเวลา ภาระหน้าหน้าที่และแนวทางการดำเนินงานเพื่อให้สอดคล้องตามแผนปฏิบัติงานของโครงการเกี่ยวกับมาตรการและแนวทางป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19)
สถานการณ์โรคระบาดไวรัสโควิด-19 และมาตรการการป้องกันในตำบลสวายจีก
» » เมื่อวันที่ 21 และ วันที่ 23 เดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2564 ดิฉันได้รับหน้าที่ในการสำรวจข้อมูลชุมชนของบ้านมะค่าตะวันออก หมู่ที่ 11 ดิฉันได้ติดต่อประสานงานกับผู้นำชุมชน ขอความอนุเคราะห์ในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลภายในชุมชนที่ได้รับผิดชอบ ดิฉันได้ความอนุเคราะห์ข้อมูลจากท่านผู้ใหญ่ลุนดอน คะรัมย์(ผู้ใหญ่บ้านมะค่าตะวันออก) และ ท่านทัฒน์ เพาะพูน(ผู้ช่วนผู้ใหญ่บ้านและประธาน อสม.)
» » จากการลงพื้นที่สำรวจข้อมูลแนวทางปฏิบัติ มาตรการป้องกันและลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (covid-19) หรือ โควิค 2019 ภายใน ม.11 ชุมชนบ้านมะค่าตะวันออกได้รับความร่วมมือจากท่านผู้นำชุมชนและคณะทำงานภายในชุมชนให้ข้อมูลเกี่ยวกับแนวทางและมาตรการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ดังนี้
การสำรวจความประสงค์ในการรับวัคซีนโควิด 19
การลงทะเบียนรับวัคซีนโควิด 19 ทำโดย รพ. สต. นำรายชื่อของชาวบ้านที่จะได้รับวัคซีนส่งให้กับ
อสม. ในชุมชนเพื่อสำรวจความประสงค์ในการรับวัคซีนโควิด 19 จากนั้น อสม. ได้มีการปฏิบัติงานเชิงรุกโดยการเดินเคาะประตูบ้านพูดคุยทำความเข้าใจถึงการเข้ารับวัคซีนโควิด 19 จากการสำรวจในชุมชนของคณะ อสม. พบว่ามีผู้เข้ารับวัคซีนโควิด 19 แล้วบางส่วน และชาวบ้านส่วนใหญ่ไม่ประสงค์จะเข้ารับวัคซีนโควิด 19 เนื่องจากชาวบ้านได้ติดตามข่าวผ่านสื่อโทรทัศน์และทางอื่นๆ ทำให้ชาวบ้านส่วนใหญ่เกิดความวิตกกังวล กลัว และต่อต้านการเข้ารับวัคซีนโควิด 19
» » ความพร้อมภายในชุมชน บ้านมะค่าตะวันออกมีครัวเรือนทั้งหมด 159 ครัวเรือน ประชากรทั้งหมด 550 คนโดยประมาณ มี อสม. ทั้งหมด 12 ท่านจากการสำรวจพบว่ามีเครื่องวัดอุณหภูมิจำนวน 1 เครื่อง มีหน้ากากอนามัยและเจลแอลกอฮอล์ไม่เพียงพอต่อการใช้งาน ขณะนี้ทางคณะท่านผู้นำชุมชนได้ยื่นเรื่องขออุปกรณ์ที่จำเป็นต่อสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (covid-19) หรือ โควิค 2019 เพิ่มเติมกับทางองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และได้รับการตอบรับจากทางองค์การบริหารส่วนตำบลแล้ว โดยมีการมอบเครื่องวัดอุณหภูมิให้กับชุมชนบ้านมะค่าตะวันออกจำนวน 2 เครื่องและได้มอบหน้ากากอนามัยและเจลแอลกอฮอล์เพิ่มเติมให้กับชุมชน
มาตรการป้องกันและลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (covid-19) หรือ โควิค 2019
ติดตาม ค้นหา ผู้ที่เดินทางเข้าหมู่บ้าน/ชุมชนทุกราย
จัดทำบัญชีรายชื่อผู้ที่เดินทางเข้าหมู่บ้าน/ชุมชน และส่งให้อำเภอบันทึกข้อมูลเข้าระบบ
รายงาน
ดำเนินการติดตาม เฝ้าระวังผู้ที่เดินทางเข้าหมู่บ้าน/ชุมชน ตามแนวทางที่กำหนด
ประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติตัวของทั้งผู้ที่เดินทาง
กลับมาอยู่ในหมู่บ้าน และผู้อยู่อาศัยในบ้านเดียวกัน โดยประชาสัมพันธ์ผ่านหอกระจายข่าวในหมู่บ้าน
ติดประกาศคำแนะนำการเฝ้าระวังป้องกันเชื้อไวรัสไวรัสโคโรนา 2019 ในจุดที่เห็นได้สะดวก
ให้เจ้าหน้าที่และบุคคลภายนอกที่เข้ามา ต้องสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าตลอดเวลา
ห้ามคนไม่สวมหน้ากากเข้ามาในชุมชน
จัดให้มีจุดวางแอลกอฮอล์หรือเจลล้างมือ ให้บริการที่เพียงพอ ในบริเวณจุดคัดกรองทางเข้า-
ออก ของชุมชน
มีการตรวจวัดอุณหภูมิร่างกายสอบถามประวัติเสี่ยง ประวัติการเดินทางในช่วง 14 ที่ผ่านมา
และอาการของเจ้าหน้าที่และบุคคลภายนอกที่เข้ามา ในชุมชน ณ จุดคัดกรอง
กำหนดการเว้นระยะห่างระหว่างบุคคลอย่างน้อย 1 – 2 เมตร ระหว่างการทำกิจกรรมต่างๆ
ในพื้นที่ส่วนกลางของชุมชน(ศาลากลางหมู่บ้าน)
ให้งดการจัดกิจกรรมสังสรรค์ หรือทำกิจกรรมรวมกลุ่มใด ๆ ที่มีการรวมคนจำนวนมากที่จะมี
ความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของเชื้อโรคและงดหรือชะลอการเดินทางออกนอกชุมชนโดยไม่จำเป็นกรณีจำเป็นต้องเดินทางออกนอกชุมชน ต้องให้ความร่วมมือการตรวจคัดกรองและปฏิบัติตามมาตรการที่ชุมชนกำหนด
รณรงค์ให้มีการใช้ส่วนตัวของแต่ละคนเช่น แก้วน้ำ ภาชนะใส่อาหาร เป็นต้น และหลีกเลี่ยง
การนั่งรับประทานอาหารที่ร้านอาหารและการใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น
» » เมื่อวันที่ 3 เดือน มิถุนายน พ.ศ. 2564 คณาจารย์และคณะทำงานร่วมทำบุญถวายอาหารและทำความสะอาดบริเวณวัดบ้านหนองปรือ และ คณาจารย์และคณะทำงานร่วมบรรจุเจลแอลกอฮอล์ และแจกอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับการป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) ให้กับตำบลสวายจีกโดยให้ตัวแทนของแต่ละหมู่บ้านทั้งหมด 19 หมู่บ้านมารับอุปกรณ์ ณ. วัดบ้านหนองปรือ และได้เชิญคุณหมอจาก รพ.สต. ตำบลสวายจีกมาให้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19)ให้กับตัวแทนชุมชนทั้ง 19 หมู่บ้าน
ภูมิปัญญาท้องถิ่น
» » เมื่อวันที่ 6 เดือน มิถุนายน พ.ศ. 2564 ดิฉันได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลเกี่ยวกับภูมิปัญญาในท้องถิ่นในชุมชนบ้านมะค่าตะวันออก ดิฉันได้ความอนุเคราะห์ข้อมูลจากคุณป้าถวิล หงส์ทอง
» » ภูมิปัญญาในท้องถิ่น คือ การทอผ้าไหม เป็นงานหัตถกรรมเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นดั้งเดิมที่ได้รับการสืบทอดจากบรรพบุรุษโดยนางสาวถวิล หงส์ทอง (ป้าถวิล)ชนิดของผ้า คือผ้าซิ่นตีนแดงและผ้าหางกระรอก โดยความยาวของผ้าแต่ละผืนจะอยู่ที่ประมาณ 2 เมตร ถ้าหากมีคนขอซื้อป้าถวิลจะจำหน่ายในราคาผืนละ 600 บาท ซึ่งแต่ละลายผ้าจะต้องใช้ความประณีตในการทำจนกว่าจะได้อออกมาแต่ละผืน
» » จากการลงพื้นที่สำรวจข้อมูลและเก็บภาพจากชุมชนที่ดิฉันได้รับผิดชอบลำดับต่อมาดิฉันได้นำข้อมูลและภาพประกอบที่ได้มาเรียบเรียงเขียนเป็นรายงานเพื่อนำส่งให้กับหน่วยงาน จากนั้นนำข้อมูลและภาพประกอบที่ได้เข้าสู่ระบบออนไลน์ตามที่หน่วยงานได้กำหนดให้
องค์ความรู้ที่ได้รับ
» » ภูมิปัญญาการทอผ้าไหมในชุมชนที่เป็นมรดกตกทอดจากรุ่นสู่รุ่น ซึ่งมีความเป็นเอกลักษณ์และความสวยงามเฉพาะตัว ถือเป็นเรื่องดีที่มีการรักษาความเป็นไทยให้คงอยู่ ณ. ปัจจุบัน
VDO ประกอบการปฏิบัติงาน