1. หน้าแรก
  2. คณะเทคโนโลยีการเกษตร
  3. AG01(2) - ตำบลบ้านคู อำเภอนาโพธิ์
  4. รายงานผลการปฏิบัติงาน (เดือนกุภาพันธ์) ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมแบบรายตำบลแบบบรูณาการมหาวิทยาลัยสู่ตำบลสร้างรากแก้วให้ประเทศ (มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

รายงานผลการปฏิบัติงาน (เดือนกุภาพันธ์) ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมแบบรายตำบลแบบบรูณาการมหาวิทยาลัยสู่ตำบลสร้างรากแก้วให้ประเทศ (มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

ดิฉัน นางสาวธิดารัตน์ อาจสามล ประเภทนักศึกษา AG01 (2) ปฏิบัติงานใน ตำบลบ้านคู อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์

เมื่อวันที่6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 เป็นเหมือนวันเริ่มงานวันแรกของการทำงานเพราะดิฉันได้เข้าเริ่มประชุมกับอาจารย์และคณะทีมงานของตำบลบ้านคู ที่ตึก 20 คณะเทคโนโลยีการเกษตร  ได้รับฟังชี้แจงการทำงานและได้รับมอบหมายหน้าที่จากพี่ในทีมงาน และดิฉันได้อยู่กลุ่มที่ 2 โดยกลุ่มของเราได้รับผิดชอบ 5 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านหนองลุมพุกหมู่ บ้านทุ่งบ่อหมู่ 2บ้านโนนสะอาด บ้านโนนตะคร้อ และบ้านโคกเมฆ

เข้าร่วมประชุมก่อนเริ่มปฏิบัติงาน

ดิฉันได้รับมอบหมายให้ลงพื้นที่ 1 หมู่บ้าน ในตำบลบ้านคู คือ บ้านหนองลุมพุก แต่เนื่องจากจากดิฉันเป็นนักศึกษา จึงมีเวลาในการลงพื้นที่ได้แค่วันศุกร์ เสาร์ และอาทิตย์ และเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 ดิฉันได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานกับทีมงานที่บ้านหนองลุมพุก โดยมีผู้ใหญ่บ้านให้ความร่วมมือในการประกาศเชิญชาวบ้านมา ร่วมประชุมเป็นอย่างดี ดิฉันและทีมงานได้ให้คำแนะนำในการกรอกแบบสอบถามกับชาวบ้านก่อน และแจกแบบสอบถาม 01,02 ประมาณ 60 ชุด เพื่อที่จะนำข้อมูลนั้นมาเป็นแนวทางในการพัฒนาตามนโยบายของโครงการต่อไป โดยชาวบ้านได้ให้ความร่วมมือในการกรอกแบบสอบถามกันเป็นอย่างดี และดิฉันรับมอบหมายให้นำแบบสอบถามที่ได้ นำมาทำการตรวจสอบและคีย์ข้อมูลลงใน Google Form เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์และสรุปผลต่อไป

                           แนะนำการกรอกแบบสอบถาม

                              ช่วยกรอกแบบสอบถาม

 และเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 ดิฉันได้รับหมอบหมายให้ลงพื้นที่ 1 หมู่บ้านในตำบลบ้านคู คือ บ้านทุ่งบ่อ โดยได้ประสารงานประผู้ใหญ่บ้านเพื่อให้ผู้ใหญ่บ้านทราบก่อนลงพื้นที่ และชาวบ้านที่นี้ให้ความสนใจในการกรอกแบบสอบถาม 01,02 เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังมีโอกาสได้พูดคุย ซักถาม ชีวิตความเป็นอยู่ในหมู่บ้าน ความเป็นมาของหมู่บ้าน บริบทต่างๆชองหมู่บ้าน และได้เห็นชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในหมู่บ้าน ซึ่งเป็นวิธีชีวิตแบบเกษตรกรรม เช่น เลี้ยงหมู (สุกร) ปลูกผัก ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม เป็นต้น

                         การปลูกหม่อนเลี้ยงไหม 

                  การเย็บผ้า (โรงงานเย็บผ้าในหมู่บ้าน)

 

                       สอบถามข้อมูลเพื่อกรอกแบบสอบถาม

                  การปลูกผักสวนครัวเพื่อบริโภคและจำหน่าย

                                     การเลี้ยงหมู

จากการลงพื้นที่พบว่า จุดเด่นของชุมชนนี้ คือ เป็นชุมชนเกษตรกรรม มีอาชีพหลัก คือ การทำนา ส่วนอาชีพรองคือ การทำการเกษตรอื่น ๆ เช่น การปลูกหม่อนเลี้ยงไหม การเลี้ยงหมู การเลี้ยงไก่ การปลูกผักสวนครัวเพื่อบริโภค และจำหน่ายทั้งภายในชุมชนและนอกชุมชน อีกทั้งยังพบอีกว่า ในหมู่บ้านทุ่งบ่อ มีโรงงานเย็บผ้าขนาดเล็กในหมู่บ้าน เพื่อให้ชาวบ้านในหมู่บ้านมีรายได้เสริมจากการเย็บผ้า

ปัญหาและอุปสรรค คือ เพื่อนในกลุ่มมีเวลาว่างไม่ตรงกัน และดิฉันเป็นนักศึกษาจึงมีเวลาลงพื้นที่ไม่เท่าประชาชนและบัณฑิตจบใหม่

แนวทางแก้ปัญหา คือ คุยกันในกลุ่มก่อนวันใครว่างวันไหนแล้วค่อยประสารงานกับผู้ใหญ่บ้านว่างจะลงพื้นที่วันไหนเพื่อให้ผู้ใหญ่บ้านประกาศให้ชาวบ้านทราบ และดิฉันจะแจ้งกับพี่ในกลุ่มว่าจะลงพื้นที่ช่วยในวันเสาร์และอาทิตย์

แผนการดำเนินงานต่อในเดือน มีนาคม คือ ลงพื้นที่เก็บแบบสอบถามเพิ่มเติม

ในส่วนของการฝึกทักษะทั้ง 4 ด้าน ดิฉันกำลังเรียนในด้าน Digital Literacy 

https://www.youtube.com/watch?v=_H6q8pBRB58&feature=youtu.be

อื่นๆ

เมนู